ราคาน้ำมันพุ่งขึ้น หลังการโจมตีของซาอุดิอาระเบีย ส่งผลกระทบต่ออุปทานทั่วโลก

ราคาน้ำมันเปิดตลาดวันจันทร์ที่ 16 ก.ย.2562 มีการซื้อขายที่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. หลังจากการโจมตีของโรงกลั่นน้ำมันซาอุดิอาระเบียในวัน 14 ก.ย. ที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่ออุปทานน้ำมันดิบทั่วโลก

ขณะที่ ราคาน้ำมันในตลาดซื้อ-ขายล่วงหน้า มีการปรับตัวลดลงเล็กน้อย หลังจากที่ ประธานาธิบดีสหรัฐฯโดนัลด์ ทรัมป์ เขียนใน Tweets ของเขาว่า เขาอนุญาตให้ใช้น้ำมันจากแหล่งสำรองฉุกเฉินของประเทศ โดยระบุว่า เขาได้สั่งให้ใช้น้ำมันจากคลังน้ำมันเชิงกลยุทธ์ (Strategic Petroleum Reserve หรือ SPR) ได้ “ถ้าจำเป็น” เขาบอกว่าเขาจะใช้น้ำมันมากพอ “เพื่อรักษาปริมาณน้ำมันในตลาดให้เพียงพอกับความต้องการ”

ถึงกระนั้นก็ตามราคาน้ำมันในตลาดซื้อขายล่วงหน้า หรือ ตลาดฟิวเจอร์สน้ำมันของสหรัฐมีการซื้อขายที่มากกว่า 61 ดออลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เมื่อตลาดน้ำมันดิบในตลาดเอเซียเปิดตลาดในเช้าวันจันทร์ที่ผ่านมา หรือเพิ่มขึ้นเกือบ10% จากราคาก่อนหน้านี้ ขณะที่ราคาตลาดฟิวเจอร์ของน้ำมันดิบเบรนด์ ขยับขึ้นมาถึง 15% มีการซื้อขายอยู่ที่ระดับเกือบ 68 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ขณะที่ตลาดซื้อขายล่วงหน้าของน้ำมันเบนซิล ขยับขึ้นมาประมาณ 9%

ทอม คลูซ่า หัวหน้านักวิเคราะห์น้ำมัน จากสำนักบริการข้อมูลราคาน้ำมันกล่าวว่า มันเป็นเรื่องที่น่าตกใจที่สุดในตลาดน้ำมันตั้งแต่ [เฮอร์ริเคน] แคทรีนาและเช่นเดียวกับแคทรีนามันน่าจะมีผลกระทบและหลอกหลอนพวกเราเป็นเวลาอีกหลายเดือน โดยคลูซ่า กล่าวว่าราคาน้ำมันเบนซินน่าจะ “ขยับขึ้น” ในฤดูใบไม้ร่วงนี้มากกว่าที่จะลดลงอย่างต่อเนื่องตามที่เคยทำมาในอดีต

ราคาน้ำมันที่เคยตกต่ำ

เมื่อวันศุกร์ที่ 13 ก.ย.ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันตกต่ำสุด โดยราคาน้ำมันที่เบรนต์ปิดที่ 60.22 ดอลลาร์สหรัฐฯ จากระดับสูงสุดที่ 74.57 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลในเดือน เม.ย. ขณะที่ราคาน้ำมันในตลาดสหรัฐอเมิรกา ที่รู้จักกันในชื่อ WTI ปิดที่ 54.85 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล หรือลดลง 17% ในวันศุกร์ จากระดับสูงสุดของเดือนเม.ย.

ทั้งนี้ซาอุดิอาระเบียซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก ได้ลดการผลิตน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์พลังงานอื่น ๆ ลงเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของกลุ่ม OPEC ในการเพิ่มราคาน้ำมัน โดยซาอุดิอาระเบีย มีกำลังการผลิตทั้งหมดคิดเป็น 10% ของปริมาณน้ำมันจากทั่วโลกรวม 100 ล้านบาร์เรลต่อวัน

การที่โรงกลั่นน้ำมันถูกโจมตีเมื่อวันเสาร์ที่ 14 ก.ย.ที่ผ่านมา ทำให้การผลิตน้ำมันของประเทศหายไปครึ่งหนึ่ง ของกำลังการผลิตทั้งประเทศ และทำให้ปริมาณน้ำมันหายไป 5% ของปริมาณน้ำมันทั่วโลกต่อวัน

ราคาหุ้นน้ำมันในเอเซียพุ่ง

หลังจากที่โรงกลั่นน้ำมันในประเทศซาอุดิอารเบียถูกถล่ม ตลาดหุ้นในเอเซียเช้าวันจันทร์เปิดตลาด ปรับตัวสูงขึ้นยกแผง CNOOC ผู้ผลิตน้ำมันนอกชายฝั่งที่ใหญ่ที่สุดของจีนที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดฮั่งเส็ง ฮ่องกง ราคาหุ้นพุ่งขึ้น 8.7% เช่นเดียวกับ ราคาหุ้น PetroChina ในตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ อีกหนึ่งผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซรายใหญ่ที่สุดของเอเชียเพิ่มขึ้น 7.4% และ Sinopec ในตลาดหุ้นเซียงไฮ้ อีกหนึ่งโรงกลั่นรายใหญ่ของโลกราคาหุ้นพุ่งขึ้น 3.4%

ขณะที่หุ้นสายการบินในเอเชียร่วงลง เนื่องจากเชื้อเพลิงเป็นค่าใช้จ่ายหลักสำหรับสายการบิน เมื่อราคาน้ำมันขยับสูงขึ้น ทำให้หุ้นในกลุ่มสายการบินปรับตัวลดลง ผู้ให้บริการสายการบินรายใหญ่ที่สุดของจีนทั้งสามรายที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ ราคาหุ้นปรับตัวลดลงอย่างมาก ไชน่าอีสเทิร์นแอร์ไลน์ลดลงกว่า 4% ในขณะที่ไชน่าเซาท์เทิร์นแอร์ไลน์ และแอร์ไชน่าลดลงอย่างน้อย 2.5%

ขณะที่คาเธ่ย์แปซิฟิค (CPCAY) ซึ่งเป็นสายการบินหลักของฮ่องกงลดลง 3.9% โดยสายการบินคาเธอย์แปซิฟิค ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่เผชิญกับการประท้วงที่ยาวนานในประเทศฮ่องกง

ส่วนหุ้นบริษัทน้ำมันในประเทศอินเดีย ก็ได้รับผลกระทบจากสถานะการณ์ที่เกิดขึ้นเช่นกัน หลังการเปิดตลาดหุ้นในช่วงเช้าวันจันทร์ที่ผ่านมา Hindustan Petroleum และ Bharat Petroleum ราคาหุ้นลดลงราว 6% ในการซื้อขายช่วงแรก ทั้งสองบริษัทเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม บริษัท ที่ลงนามในข้อตกลง 44 พันล้านดอลลาร์กับ Saudi Aramco เมื่อปีที่แล้วเพื่อสร้าง “โรงกลั่นขนาดใหญ่” ในอินเดีย

มาตรการที่ไม่ได้ผล

ความรู้สึกตกใจต่อราคาน้ำมันเป็นที่รับรู้กันแล้ว แต่ผลกระทบระยะยาวยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ ขณะที่นักวิเคราะห์บางคนคาดว่า ผลกระทบจากการโจมตีที่เกิดขึ้นกับโรงกลั่นน้ำมันในประเทศซาอุดิอาระเบีย จะส่งผลกระทบไม่มากนักกับบริษัทน้ำมันแห่งชาติ อารัมโก

อาร์ฮาร์ม คาร์เมล จากกลุ่ม บริษัท ยูเรเซีย ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโรงกลั่นน้ำมันในซาอุดิอารเบีย ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันไม่มากขึ้น การขยับขึ้นมาสูงสุดที่ 10 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ถือว่าเป็นราคาที่ไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโรงกลั่นน้ำมันในซาอุดิอารเบีย

ด้านแคร์รี่ คริกส์ นักยุทธศาสตร์การตลาดระดับโลกของ บริษัท บริหารสินทรัพย์เจพีมอร์แกน ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศออสเตรเลีย ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นว่า ความสามารถในการเพิ่มกำลังการผลิตของผู้ผลิตน้ำมันที่มีน้ำมันอยู่ในสต๊อกจะทำให้ราคาที่เพิ่มขึ้นปรับตัวลดลงมาได้ โดยเชื่อว่าการขยับขึ้นของราคาน้ำมันจะเป็นสถานการณ์ชั่วคราว แต่อย่างไรก็ตาม การโจมตีดังกล่าวจะส่งผลต่อปัญหาใหญ่คือ ตลาดพรีเมี่ยมจะทำอย่างไรถ้าเกิดการโจมตีในครั้งต่อไป

ยุทธศาสตร์สำรองของสหรัฐอเมริกา

ขณะที่สหรัฐอเมริกา ที่มีคลังน้ำมันเชิงกลยุทธ์ อยู่ 645 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นแหล่งสำรองน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก่อตั้งขึ้นโดยสภาคองเกรส หลังจากเกิดสถานการณ์ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น หลังจากการห้ามส่งน้ำมันโอเปกในปี 1970 มันถูกดึงมาเพียงสามครั้งล่าสุดในเดือนมิ.ย. 2011 เมื่อความไม่สงบในลิเบีย การส่งออกน้ำมันทั่วโลกยังมีความไม่แน่นอน รัฐบาลสหรัฐฯกังวลว่าการหยุดชะงักของปริมาณน้ำมัน จะเป็นภัยคุกคามต่อเศรษฐกิจโลกที่ยังคงเปราะบาง ถึงแม้จะยังคงฟื้นตัวจากภาวะถดถอยครั้งใหญ่ทีผ่านมา

คลังน้ำมันเชิงกลยุทธ์ของสหรัฐฯ ถูกนำมาใช้งานครั้งแรกคือในปี 1991 เมื่อสหรัฐอเมริกาโจมตีอิรักในพายุทะเลทรายกิจการ และถูกนำมาใช้อีกครั้งในปี 2005 หลังจากที่พายุเฮอริเคนแคทรีนาทำลายโครงสร้างพื้นฐานน้ำมันของประเทศตามแนวอ่าวเม็กซิโก

สำหรับคลังน้ำมันนี้มี ความซับซ้อน โดยมีทั้งหมด 4 แห่ง ตามแนวชายฝั่งอ่าวเท็กซัส และหลุยเซียน่า ที่มีถ้ำใต้ดินลึกถึง 2,000 ถึง 4,000 ฟุต น้ำมันที่ดึงมาจากคลังน้ำมัน (SPR) จะไม่ส่งผลให้อุปทานทั่วโลกเพิ่มขึ้นในทันที ตามกระบวนการนำออกมาใช้จะใช้เวลาอย่างน้อยสองสัปดาห์ ถึงจะสามารถนำออกสู่ตลาดได้

ที่มา : สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น