บอร์ดทีโอที พร้อมประมูล 5 จี

  • มีเงินจ่ายแน่นอน ปี62 กำไร 12,152 ล้านบาท
  • ย้ำไม่ใช่คู่แข่งเอกชน เพราะบทบาททำเพื่อสังคม
  • เดินหน้าควบรวบกิจการเป็น โทรคมนาคมแห่งชาติ

นายพิพัฒน์ ขันทอง กรรมการและรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดเห็นชอบแผนการลงทุนปี2563 โดยทีโอที ได้กำหนดกรอบวงเงินลงทุนราว 7,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการลงทุนโครงการต่อเนื่อง เช่น ท่อร้อยสาย การขยายการให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการมัลติมีเดียต่างๆ โดยงบลงทุนดังกล่าว ยังไม่นับรวมการเข้าประมูล 5 จี ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดประมูลในวันที่ 16 ก.พ.นี้ ส่วนเม็ดเงินที่จะนำมาประมูลคลื่นความถี่นั้น ทีโอที มีวงเงิน มีกระแสเงินสดเพียงพออยู่แล้ว โดยปี2562 มีรายได้มากว่า 67,897 ล้านบาท มีกำไรก่อนหักภาษ12,152 ล้านบาท ส่วนปี 2563 คาดว่าจะมีรายได้ 59,000 ล้านบาท น้อยกว่าปี2562 เนื่องจากปี2562 ทีโอที รับรู้รายได้จากค่าเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมที่ได้ข้อยุติเรียบร้อยแล้ว

สำหรับประเด็นการควบรวบกิจการระหว่างทีโอที กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) นั้น ขณะนี้ได้มีการประะชุมคณะทำงาน เพื่อเตรียมการจ้างที่ปรึกษาดำเนินการวางแผนธุรกิจ การจัดทำโครงสร้างองค์กร บุคลลากร ซึ่งจะต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) ซึ่งการรควบรวบกิจการนั้น ถือเป็นประโยนช์ต่อองค์กรแน่นอน ทั้งลดการลงทุนซ้ำซ้อน ลดต้นทุนการลงทุน เมื่อลดต้นทุนการลงทุนได้ เชื่อว่าจะส่งผลดีต่อราคาค่าบริการให้ประชาชนถูกลงอย่างแน่นอน
นายชิต เหล่าวัฒนา กรรมการ ทีโอที กล่าวว่า จากกรณีที่เอกชน กังวลว่า เมื่อทีโอที เข้าร่วมประมูล 5 จี และประมูลได้นั้น จะนำคลื่นดังกล่าว ไม่ให้เอกชนเช่าใช้ต่อเหมือนปัจจุบันนั้น หากเป็นเช่นนั้นจริง ทีโอที ก็ไม่ควรจะเข้าร่วมประมูลด้วย แต่ขณะนี้ทีโอที มีความมุ่งมั่นที่จะเข้าร่วมประมูล5 จี เพื่อนำมาให้บริการประชาชนในพื้นที่ห่างไกล โดยเฉพาะนำมาใช้กับระบบการศึกษา และระบบสาธารณสุข เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ห่างไกล ได้เข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียมเหมือนกันในเมือง อีกทั้งเป็นกลไกลของภาครัฐในการกำหนดอัตราค่าบริการด้วย
“เอกชน ไม่ต้องห่วง ทีโอที ไม่ใช่คู่แข่งของเอกชน เพราะบทบาทของทีโอทีนั้น จะเน้นพื้นที่ที่ เอกชนไม่เข้าไปลงทุน เพราะไม่มีกำไร แต่ทีโอที ต้องทำให้ เพื่อให้ประชาชนได้ใช้บริการโทรคมนาคมอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ส่วนทีโอที จะประมูลคลื่นใด แคท จะประมูลคลื่นใด ไม่สามารถบอกได้ เดี่ยวผิดกฎกสทช.และเข้าข่ายฮั้วประมูลได้ หากประมูลคลื่นเดียวกัน ก็จะทำให้บริษัทใหม่ คือ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (เอ็นที) มีจำนวนคลื่นเยอะ แต่หากคนละย่านคลื่น ก็จะทำให้มีความหลากหลายย่านคลื่น ซึ่งการประกอบธุรกิจโทรคมนาคม คลื่นความถี่มีส่วนสำคัญมาก”