บริษัทยาวางแผนผลิตวัคซีนไวรัสต้านโควิดด้วยกำลังการผลิตหลายร้อยล้านโดส ชี้หากสร้างโรงงานใหม่ต้องใช้เวลาถึง 5 ปี

  • Sonofi ชี้สร้างโรงงานใหม่ผลิตวัคซีนต้านโควิดต้องใช้เวลาถึง 5 ปี
  • กำลังวางแผนหยุดผลิตวัคซีนอื่นเพื่อทุ่มให้เต็มที่ ด้าน Moderna เผยสาเหตุที่เร่งพัฒนาในมนุษย์ได้เร็ว
  • วางแผนใช้โรงงานเดิมผลิตไวรัสเพื่อทำการผลิตทันทีในระดับ 100 ล้านโดส ภายในเดือนแรก
  • การวางแผนการผลิตยังตกลงกันไม่ได้ระหว่างรัฐบาลสหรัฐกับเอกชน ในการลงทุนเพิ่มกำลังการส่วนเกินไว้เผื่อมีความต้องการใช้หากมีการแพร่ระบาดใหญ่ แต่โรงงานมองลงทุนกำลังผลิตให้พอความต้องการเท่านั้น

เป็นที่ทราบกันดีว่า เราคงไม่ได้กลับมาใช้ชีวิตแบบธรรมดาปกติได้ตราบใดที่การพัฒนาวัคซีนต้านไวรัสยังไม่สำเร็จกัน ซึ่งหลายๆ ฝ่ายได้ออกมาเตือนสติชาวไทยอย่าให้ “การ์ดตก” เพราะเรากำลังเดินถูกทาง

มาตรการใช้อยู่เริ่มเห็นผล ระวังอย่าให้คลื่นลูกสองถาโถมเข้ามาเพราะม้นสาหัสกว่าคลื่นลูกแรก ดังที่เราได้เห็นตัวอย่างจากหลายๆ ประเทศที่เราเคยชื่นชมความมีระเบียบวินัยซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างชาติของเขา

เรามาโฟกัสกันว่าบริษัทพัฒนาวัคซีนระดับโลกที่มีขีดความสามารถในการผลิตมากมายจำนวนหลายๆ ร้อยล้านโดส เขาวางแผนอะไรกันอยู่ และจะเกิดอะไรขึ้นต่อไปกับวัคซีนซึ่งเป็นความหวังของคนทั้งโลก

ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องรู้กัน จะได้วางแผนชีวิตให้ถูก ตั้งสติด้วยความไม่ประมาท เพื่ออนาคตที่สดใสวันข้างหน้ารออยู่

ปัจจุบันมีการพัฒนาวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ทางคลินิคกว่า 76 ชนิด แต่เมื่อลงลึกเข้าไปมีเพียงไม่กี่บริษัทที่ได้ประกาศทดลองในมนุษย์กัน ซึ่งประมาณกันว่าต้องใช้เวลาอย่างเร็วถึง 18 เดือน เพื่อพิจารณาว่าวัคซีนเหล่านั้นมีประสิทธิภาพและปลอดภัยเพียงพอสำหรับการนำไปใช้กับประชากรโลกจำนวนมากๆ หรือไม่

ภาพโดย Jason Alden/Bloomberg

เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา “บิล เกตส์” ผู้ก่อตั้งไมโครซอฟท์ มหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดคนหนึ่งของโลก กับมูลนิธิของเขาได้ให้ให้ทุนเพื่อพัฒนาวัคซีนไปพร้อมๆ กับการเริ่มสร้างโรงงานไปพร้อมกันซึ่งเขาคาดว่าต้องใช้เวลา 18 เดือน เขาระบุว่าพร้อมที่จะลงทุนจำนวนหลายพันล้านดอลล่าร์สหรัฐเพื่อวัคซีนแห่งมนุษยชาติ โดยเขาเลือกวัคซีน 7 ชนิดมาพัฒนาพร้อมกันเพื่อไม่ให้เสียเวลา แม้ว่าในที่สุดจะสำเร็จเพียง 1-2 ชนิดเท่านั้นกับการทุนหลายพันล้านดอลลาร์เขาถือว่าคุ้มค่า

ล่าสุด “บิล เกตส์” ได้ให้ สัมภาษณ์กับสำนักข่าว CNN ว่า หากทุกอย่างเป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบวัคซีนต้านไวรัสอาจพร้อมใช้ได้ภายใน 12 เดือน และมันอาจจะนานถึง 2 ปี

ขณะที่ Moderna ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตยาในสหรัฐเป็นรายแรกที่ประกาศพัฒนาวัคซีนในมนุษย์กัน หลังจากนั้นก็มีหลายๆ บริษัทยักษ์ใหญ่ประกาศตามมา ซึ่งมีเพียงแค่ 6-7 บริษัทเท่านั้นที่มีศักยภาพพัฒนาและผลิตวัคซีนในกำลังการผลิตมหาศาล

Sonofi วางแผนใช้โรงงานผลิตวัคซีนเดิมผลิตเพื่อความรวดเร็ว

Fast Company ได้ไปพูดคุยกับ “พอล ฮัดสัน” ซีอีโอ Sanofi (ซาโนฟี่) บริษัทผู้ผลิตยายักษ์ใหญ่จากฝรั่งเศส หนึ่งในผู้พัฒนาวัคซีนที่ทำงานร่วมกับผู้พัฒนาวัคซีน “Kevzara” และผู้ผลิตชุดตรวจเชื้อไวรัสโควิดรายหนึ่ง โดย “ฮัดสัน” กล่าวว่า กำลังพิจารณาว่าจะใช้โรงงานผลิตที่มีอยู่เดิมเพื่อใช้ผลิตวัคซีนโควิดได้อย่างไร เพราะหากสร้างใหม่ต้องใช้เวลานานถึง 5 ปี

พอล ฮัดสัน ซีอีโอ Sannofi

“เรากำลังมองว่าจะหยุดการผลิตวัคซีนบางตัวและเตรียมการไว้สำหรับการผลิตไวรัสโควิด ซึ่งการวางแผนระยะยาวคุณจำเป็นต้องมีสถานที่พร้อม มีเชี่ยวชาญและสามารถเริ่มผลิตวัคซีนจำนวนหลายร้อยล้านโดสได้โดยใช้เวลาหลายเดือน” เขากล่าว

ก่อนการระบาดของไวรัสโควิด “Sanofi” ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานวิจัยและพัฒนาขั้นสูงด้านชีวการแพทย์ของสหรัฐ (BARDA) ในการพัฒนาเพิ่มกำลังการผลิตวัคซีนเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการระบาดของไข้หวัดใหญ่

ซึ่ง BARDA ได้เร่วมมือกับภาคเอกชน BARDA จ่ายงบให้กับบริษัทยาต่างๆ เช่น Sonofi เพื่อการพัฒนาและผลิตวัคซีน ภายใต้ข้อตกลงหน่วยงานแห่งนี้จะสามารถเข้าถึงศูนย์การผลิตของ Sanofi ได้เป็นเวลา 25 ปี จะทำให้ Sanofi สามารถเร่งการผลิตวัคซีนได้ระหว่าง 100- 600 ล้านโดส

แผนการของ BARDA ในการปรับเพิ่มการผลิตวัคซีนในโรงงานในช่วงที่มีการระบาดใหญ่อาจกลายเป็นโมเดลให้ประเทศอื่นๆ ซี่งปกติโดยทั่วไปโรงงานผลิตวัคซีนมักจะวางแผนกำลังการผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการเท่านั้น

“เพื่อโน้มน้าวให้บริษัทผู้ผลิตวัคซีนขยายกำลังการผลิตส่วนเกิน เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการใช้ต้านไวรัสโควิด รัฐบาลจะต้องดูแลการลงทุนด้วย เพราะท้ายที่สุดบริษัทผู้ผลิตอาจไม่ได้ใช้กำลังการผลิตส่วนเกินนี้” ฮัดสัน กล่าว

แต่คำถามใหญ่ที่สุดมาตามมาก็คือ โมเดลนี้ ทางรัฐบาลกับโรงงานผลิตวัคซีนจะเก็บกำลังการผลิตส่วนเกินนี้ได้อย่างไร หากการแพร่ระบาดสิ้นสุดลง ซี่งไม่สามารถคาดการณ์ได้และมีความไม่แน่นอน ดังนั้นโรงงานผลิตวัคซีนและรัฐบาลจึงต้องมีวิธีการจัดการ

“ทำอย่างไรให้ทุกบริษัทเก็บไว้และใช้มัน และพร้อมที่จะรับมือการแพร่ระบาดใหญ่ในครั้งต่อไป” “ฮัดสัน” กล่าวว่าวิธีการหนึ่งคือการเปิดทางให้โรงงานผลิตทั้งหลายเข้ามามีส่วนแบ่งตรงนี้ ให้โรงงานผลิตวัคซีนต่างๆ เช่น GSK เก็บกำลังการผลิตส่วนเกินไว้แห่งละ 10% เผื่อหากมีการแพร่ระบาดใหญ่ขึ้นมาอีกครั้งรัฐบาลจะสั่งพรีออร์เดอร์ได้ทันที

Moderna เผยสาเหตุที่เริ่มทดลองในมนุษย์ได้เป็นรายแรก

ทางด้าน สเตเฟน บานเซล ซีอีโอ ของ Moderna (โมเดอน่า) ซึ่งเป็นบริษัทด้านชีเทคโนโลยี จากสหรัฐ หนึ่งในผู้พัฒนาวัคซีน ได้คุยกับ Financial Engineering เมื่อเร็วๆ กล่าวว่าข้อตกลงดังกล่าวมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเตรียมพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่ครั้งต่อไป “ถ้าฉันมีไม้เท้าวิเศษสิ่งที่ฉันต้องการ (เราจะ) ลงทุนในโรงงานขนาดใหญ่มากที่สามารถผลิต 150 ล้านโดสต่อเดือน” เขากล่าวและว่า “หากโรงงานอยู่ในสหรัฐเราสามารถผลิตได้ถึง 100 ล้านโดสใน 30 วันแรกนั่นถือว่าไม่ธรรมดา”

“Moderna” เป็นหนึ่งในไม่กี่บริษัท ที่สามารถเข้าสู่การทดลองทางคลินิกในเฟสแรกได้อย่างรวดเร็ว “บานเซล” กล่าวว่า ที่สามารถทำเช่นนั้นได้เพราะ ใช้เวลาและเงินจำนวนมากเพื่อกำลังดำเนินการทำการวิจัยไวรัสโควิดนี้

“ทำไม Moderna สามารดทดลองกับมนุษย์ด้านคลินิกเป็นรายแรก เพราะเราเคยใช้เวลา 18 เดือนกับการพัฒนาวัคซีนต้านไวรัส MERS มาก่อน ทำให้เราเคลื่อนไหวได้เร็ว” เขากล่าวว่า ยังมีการการเตรียมความพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่ในอนาคตจะลงทุนในงานการพัฒนาก่อนการทดลองด้านคลินิกเกี่ยวกับไวรัสที่ไม่มีวัคซีนเช่น Nipah และ Zika ต่อไป

ในขณะเดียวกันโลกเภสัชกรรมจะมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มการผลิต แต่กำลังการผลิตอาจกระจายได้ไม่ทั่ว “ฮัดสัน” กล่าวว่าสหรัฐฯกำลังสร้างโรงงานผลิตวัคซีนส่วนใหญ่และเขากังวลว่ายุโรปยังไม่มีเพียงพอ

“เราต้องคิดเกี่ยวกับวิธีการผลิตวัคซีนสำหรับยุโรปและส่วนอื่น ๆ ของโลก มันเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องมีกำลังการผลิตตอบสนองไปทุกที่”

เปิดภาพรวมของการพัฒนาวัคซีนต้านโควิด

สำหรับภาพรวมของการพัฒนาวัคซีนต้านไวรัสโควิด ทาง ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล ในเฟสบุ๊ค ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล Fan Pageได้มีมุมมองของวัคซีนนี้ที่เห็นภาพได้ชัดเจน โดยการพัฒนาวัคซีนในมนุษย์จะแบ่งเป็น 3 เฟส ก่อนที่จะพัฒนาในรูปแบบการค้าและใช้กับคนจำนวนมาก

คือ เฟสที่1 ทดสอบความปลอดภัยในมนุษย์ 30-50 คน เฟสที่2 ทดสอบการกระตุ้นภูมิคุ้มกันกลุ่มเกิด 100-150 คน และเฟส 3 ทดสอบให้ผลในการป้องกันโรคในกลุ่มใหญ่ 500 คนขึ้นไป

โดยในปัจจุบันมีการพัฒนาวัคซีนในการรักษาการติดเชื้อโควิดทางคลินิกกว่า 70 ชนิด แต่มี 4-5 บริษัทเท่านั้นที่ได้ทดลองวัคซีนในการทดลองในมนุษย์อยู่ในเฟส 1 ถึงเฟส 3 โดยวัคซีนต้านโควิดแบ่งเป็น 2 ประเภทคือแบบ Traditional Technology และแบบ Biotechnology Technology

ประเภทที่1 Traditional Technology เป็นวัคซีนที่พัฒนาจากโปรตีนหรือเชื้อไวรัสที่ทำให้อ่อนกำลัง เมื่อฉีดเข้าร่างกายจะทำให้เกิดการสร้าง immune หรือภูมิคุ้มกันขึ้น วัคซีนนี้กำลังถูกพัฒนาโดยบริษัท GlaxoSmithKline (GSK) , Sanofi, Johnson&Johnson, มหาวิทยาลัย Oxford, ซึ่งกรรมวิธีนี้ถือว่าเป็นการพัฒนาวัคซีนแบบดั้งเดิม ซึ่งทางองค์การอาหารและยาของสหรัฐหรือ FDA มีแนวโน้มที่จะอนุมัติได้ง่ายกว่าแบบอื่น แต่อาจจะใช้เวลา 12-18 เดือนข้างหน้า(อาจจะปลายปี 2021) ในการพัฒนาเป็นรูปแบบการค้าและใช้กับคนหมู่มาก

ภาพจาก Getty/Bill Oxford)

ในจำนวนนี้มี GlaxoSmithKline ของอังกฤษ Sanofi ของฝรั่งเศส Merck ของสหรัฐและ Pfizer ของสหรัฐเท่านั้น ที่สามารถผลิตวัคซีนเพื่อตอบโจทย์ประชากรหมู่มากถึงพันล้านโดสได้ ในขณะที่ Johnson&Johnson ซึ่งอาจจะไม่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตวัคซีน แต่ได้ร่วมมือกับ BARDA ของสหรัฐในการทุ่มงบวิจัยและพัฒนากว่า 1,000 ล้านดอลลาร์

ประเภทที่ 2 เป็นวัคซีนประเภท Biotechnology Technology ที่พัฒนามาจาก VIRUS DNA หรือ m-RNA เช่นบริษัท Moderna (ราคาหุ้นปรับตัวกว่า 40% ในสัปดาห์ที่ผ่านมา) ซึ่งเป็นบริษัทประเภทไบโอเทค ซึ่งบริษัทอ้างว่าจะเริ่มสามารถใช้กับคนไข้กลุ่มเสี่ยง ภายในครึ่งปีหลังของปี 2020 แต่อาจจะผลิตแบบการค้าได้ใน 12-18 เดือนข้างหน้า แต่เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีประเภท Biotechnology จึงมีความเสี่ยงกว่าแบบแรก จึงทำให้ FDA ของสหรัฐอนุมัติไม่ง่ายนัก แต่จะมีต้นทุนที่ถูกกว่า

การพัฒนาวัคซีนในการป้องกันไวรัสโควิดถึงแม้ว่าจะอยู่ในเฟส1 ถึง 3 ถือว่าเป็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ แต่ระยะเวลาอาจใช้เวลา 12-18 เดือน ในการจบการพัฒนาเฟส3 ก่อนที่จะนำมาใช้กับมนุษย์

ได้แต่หวังว่าการพัฒนาวัคซีนนี้จะเสร็จสิ้นก่อนตามที่หลายๆ คนคาการณ์กัน ซึ่งล่าสุดมีบริษัทจากญี่ปุ่นแม้ยังไม่ได้เริ่มทดลองกับมนุษย์แต่ได้ระบุว่ามีความเป็นไปได้ว่าสิ้่นปีนี้อาจได้เห็นก้น แต่ไม่ได้มีรายละเอียดที่ชัดเจนออกมาก

www.bloomberg.com

www.fiercebiotech.com

www.fastcompany.com