นายกรัฐมนตรี-ผู้นำอาเซียนหารือ 3 ภาคส่วนนิติบัญญัติ-เยาวชน-ภาคธุรกิจ

  • ยกระดับความสามารถแข่งขันให้กับอาเซียน
  • ส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภูมิภาค
  • เพิ่มบทบาทของอาเซียนในเวทีโลก

วันนี้ (22 มิ.ย. 62) เวลา 15.30 น. ณ ห้องพิมานสยาม ฮอลล์ ชั้น 29 โรงแรมดิ แอทธินี โฮเทล กรุงเทพฯ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และผู้นำอาเซียน พบหารือกับภาคส่วนต่าง ๆ ของอาเซียน ได้แก่ สมัชชารัฐสภาอาเซียน (ASEAN Inter-Parliamentary Assembly: AIPA) ผู้แทนเยาวชนอาเซียน (ASEAN Youth) และสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ASEAN Business Advisory Council: ASEAN-BAC) ระหว่างการเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 34 โดย พลโท วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวสรุปสาระสำคัญดังนี้

เวลา 15.30 น. การหารือกับสมัชชารัฐสภาอาเซียน (AIPA) ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่าบทบาทของฝ่ายนิติบัญญัติจะช่วยผลักดันอาเซียนให้มีผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม โดยนายกรัฐมนตรีได้เสนอ 3 แนวทางหลัก คือ 1 การสื่อสารให้ประชาชนในแต่ละพื้นที่เกิดความตระหนักรู้และร่วมเป็นพันธมิตรในการผลักดันข้อริเริ่มต่าง ๆ ให้เกิดผลอย่างยั่งยืน 2 การสนับสนุนและเร่งรัดการดำเนินการตามกระบวนการนิติบัญญัติ เพื่อให้ความตกลงต่าง ๆ ของอาเซียน มีผลบังคับใช้ได้โดยเร็ว 3 ส่งเสริมความร่วมมือและสร้างความสอดคล้องกันด้านกฎหมายของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อสนับสนุนการบูรณาการในภูมิภาคให้ใกล้ชิดมากขึ้น ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีพร้อมสนับสนุน AIPA ให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้นำอาเซียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภูมิภาคต่อไป

เวลา 15.50 น. การหารือกับผู้แทนเยาวชนอาเซียน (ASEAN Youth) เยาวชนอาเซียนได้เสนอความคิดเห็น 3 ประเด็น ดังนี้ การเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษา การส่งเสริมสภาพแวดล้อม และการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจอย่างรอบด้าน นายกรัฐมนตรีย้ำว่าความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากเยาวชนมีความสำคัญต่อการกำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาประเทศและประชาคมอาเซียนอย่างมาก โดยหวังว่าเยาวชนอาเซียนจะเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงที่สร้างสรรค์และรับผิดชอบต่อสังคม นายกรัฐมนตรีได้เสนอแนวทางในการพัฒนาบทบาทของเยาวชนอาเซียนที่สอดคล้องกับแนวคิด “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน”ได้แก่ “ร่วมมือ ร่วมใจ” ในการสร้างประชาคมอาเซียนที่ครอบคลุม แบ่งปัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน “ก้าวไกล” โดยเตรียมพร้อมและมีทักษะที่รอบด้าน “ยั่งยืน” ต้องมีความเข้มแข็งสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว เพื่อขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนให้มีการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริงในทุกมิติได้ในอนาคต

เวลา 16.20 น. การหารือกับผู้แทนสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ASEAN-BAC) นายกรัฐมนตรีเสนอแนะให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงการเตรียมความพร้อมรับมือกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (4IR) ที่จะเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายในหลายรูปแบบ อาเซียนจึงควรมีแนวทางการดำเนินงานที่ช่วยให้ทุกภาคส่วนสามารถปรับตัวและได้รับประโยชน์ได้โดยเร็ว ส่งเสริมการอำนายความสะดวกทางการค้าเพื่อเชื่อมโยงในอาเซียนทั้งทางกายภาพและทางดิจิทัล รวมทั้งผลักดันทุกระดับเพื่อสรุปผลการเจรจา RCEP ให้บรรลุโดยเร็ว ซึ่งจะช่วยขยายโอกาสทางการค้า การลงทุน ยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้กับอาเซียน และเพิ่มบทบาทของอาเซียนในเวทีโลกได้อย่างมาก นายกรัฐมนตรีได้ย้ำความสำคัญของความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างภาครัฐและเอกชน ที่เป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย

วันนี้ (22 มิ.ย. 62) เวลา 15.30 น. ณ ห้องพิมานสยาม ฮอลล์ ชั้น 29 โรงแรมดิ แอทธินี โฮเทล กรุงเทพฯ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และผู้นำอาเซียน พบหารือกับภาคส่วนต่าง ๆ ของอาเซียน ได้แก่ สมัชชารัฐสภาอาเซียน (ASEAN Inter-Parliamentary Assembly: AIPA) ผู้แทนเยาวชนอาเซียน (ASEAN Youth) และสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ASEAN Business Advisory Council: ASEAN-BAC) ระหว่างการเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 34 โดย พลโท วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวสรุปสาระสำคัญดังนี้

เวลา 15.30 น. การหารือกับสมัชชารัฐสภาอาเซียน (AIPA) ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่าบทบาทของฝ่ายนิติบัญญัติจะช่วยผลักดันอาเซียนให้มีผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม โดยนายกรัฐมนตรีได้เสนอ 3 แนวทางหลัก คือ 1 การสื่อสารให้ประชาชนในแต่ละพื้นที่เกิดความตระหนักรู้และร่วมเป็นพันธมิตรในการผลักดันข้อริเริ่มต่าง ๆ ให้เกิดผลอย่างยั่งยืน 2 การสนับสนุนและเร่งรัดการดำเนินการตามกระบวนการนิติบัญญัติ เพื่อให้ความตกลงต่าง ๆ ของอาเซียน มีผลบังคับใช้ได้โดยเร็ว 3 ส่งเสริมความร่วมมือและสร้างความสอดคล้องกันด้านกฎหมายของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อสนับสนุนการบูรณาการในภูมิภาคให้ใกล้ชิดมากขึ้น ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีพร้อมสนับสนุน AIPA ให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้นำอาเซียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภูมิภาคต่อไป

เวลา 15.50 น. การหารือกับผู้แทนเยาวชนอาเซียน (ASEAN Youth) เยาวชนอาเซียนได้เสนอความคิดเห็น 3 ประเด็น ดังนี้ การเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษา การส่งเสริมสภาพแวดล้อม และการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจอย่างรอบด้าน นายกรัฐมนตรีย้ำว่าความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากเยาวชนมีความสำคัญต่อการกำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาประเทศและประชาคมอาเซียนอย่างมาก โดยหวังว่าเยาวชนอาเซียนจะเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงที่สร้างสรรค์และรับผิดชอบต่อสังคม นายกรัฐมนตรีได้เสนอแนวทางในการพัฒนาบทบาทของเยาวชนอาเซียนที่สอดคล้องกับแนวคิด “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน”ได้แก่ “ร่วมมือ ร่วมใจ” ในการสร้างประชาคมอาเซียนที่ครอบคลุม แบ่งปัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน “ก้าวไกล” โดยเตรียมพร้อมและมีทักษะที่รอบด้าน “ยั่งยืน” ต้องมีความเข้มแข็งสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว เพื่อขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนให้มีการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริงในทุกมิติได้ในอนาคต

เวลา 16.20 น. การหารือกับผู้แทนสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ASEAN-BAC) นายกรัฐมนตรีเสนอแนะให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงการเตรียมความพร้อมรับมือกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (4IR) ที่จะเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายในหลายรูปแบบ อาเซียนจึงควรมีแนวทางการดำเนินงานที่ช่วยให้ทุกภาคส่วนสามารถปรับตัวและได้รับประโยชน์ได้โดยเร็ว ส่งเสริมการอำนายความสะดวกทางการค้าเพื่อเชื่อมโยงในอาเซียนทั้งทางกายภาพและทางดิจิทัล รวมทั้งผลักดันทุกระดับเพื่อสรุปผลการเจรจา RCEP ให้บรรลุโดยเร็ว ซึ่งจะช่วยขยายโอกาสทางการค้า การลงทุน ยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้กับอาเซียน และเพิ่มบทบาทของอาเซียนในเวทีโลกได้อย่างมาก นายกรัฐมนตรีได้ย้ำความสำคัญของความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างภาครัฐและเอกชน ที่เป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย