ธปท.จับมือธนาคารพาณิชย์ลงนามข้อ ตกลงให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ

  • หวังลดแรงจูงใจรายย่อยก่อหนี้เกินตัว-หนี้ไม่ที่จำเป็น
  • หลังหนี้ครัวเรือนไทยที่สูงที่สุดเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย
  • ชี้คนไทยเป็นหนี้เร็ว หนี้นาน หนี้ยันเลยวัยเกษียณ

นางวจีทิพย์ พงษ์เพ็ชร ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 13 ส.ค. จะมีการลงนามบันทึกข้อตกลงระหว่างธปท. และธนาคารพาณิชย์สมาชิกของสมาคมธนาคารไทย ถึงแนวนโยบายการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ(Responsible Lending)) ซึ่ง ประกอบด้วย 5 ข้อ 1.ปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรที่คำนึงถึงผลกระทบต่อลูกค้า w,jกำหนดเป้าหมายความสำเร็จในการทำงาน (KPI) ของพนักงานผูกกับเป้าสินเชื่อเป็นหลัก

2.พัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับลูกค้า ไม่ออกแบบผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่ผ่อนน้อยช่วงแรกแต่จ่ายก้อนใหญ่ในช่วงท้ายจนเกินความสามารถในการชำระหนี้ 3.ต้องแจ้งรายละเอียดที่ชัดเจนทั้งให้ข้อดี และข้อเสียของผลิตภัณฑ์ และต้องไม่กระตุ้นกระตุ้นการก่อหนี้เกินความจำเป็น 4.การพิจาณาให้สินเชื่อ ธนาคารพาณิชย์คำนึงถึงความสามารถของผู้กู้ และ ยังมีเงินเหลือดำรงชีพได้ และ 5. กำหนดเงื่อนไขในสัญญาที่เป็นธรรมต่อลูกค้า ไม่มีเงื่อนไขให้เป็นหนี้เพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น

“แนวนโบายที่สำคัญที่จะลงนามกันในครั้งนี้ คือ แนวนโยบายการให้สินเชื่อรายย่อยอย่างเหมาะสม เพื่อดูแลปัญหาหนี้เกินตัวของภาคครัวเรือน (Responsible Lending Directive) เนื่องจากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาสถานการณ์หนี้ครัวเรือนของไทยเร่งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยพฤติกรรมของคนไทยเป็นหนี้เร็วขึ้น ตั้งอายุยังน้อย เป็นหนี้จำนวนมากขึ้น และมีเวลเป็นหนี้นานขึ้น โดยหนี้ครัวเรือนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) เพิ่มขึ้นกว่า 25% ในช่วงประมาณ 10 ปี โดยจากปี 52 มีสัดส่วนอยู่ที่ 53.5% เพิ่มขึ้นเป็น 78.7% ในปี 61 ซึ่งถือเป็นหนี้ครัวเรือนที่สูงที่สุดเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย รองเพียงเกาหลีใต้ อยู่ที่ 97.7% ที่มาเป็นอันดัย 1 นอกจากนั้น ในช่วงที่เกษียณอายุแล้วคนไทยส่วนใหญ่ยังคงเป็นหนี้ โดยคนที่อายุ 60-69 ปี มีหนี้เฉลี่ย 453,438 บาทต่อราย และ คนอายุ 70-79 ปี มีหนี้เฉลี่ย 287,932 บาทต่อราย”

นางวจีทิพย์ กล่าวต่อว่า โดยหลังจากลงนามแล้ว ในเดือนนี้จะเปิดรับฟังความคิดเห็นของสถาบันการเงินภายในเดือน ส.ค.นี้ โดยเชื่อว่าจะเห็นธนาคารพาณิชย์ทำแผนที่จะปฏิบัติในทันที และมีการปรับกระบวนการทำงานภายในให้ตอบโจทย์ทั้ง 5 ข้อ โดยจะเริ่มใช้อย่างเป็นทางการในเดือน ม.ค. 63 ทั้งนี้ ธปท.ไม่ได้ห้ามไม่ให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อ แต่ให้ขยับมุมมองที่มองว่า ปล่อยแล้วลูกหนี้จะจ่ายหนี้ได้ไหม ให้มองภาพระยะไกล ไม่ได้หวังกำไรระยะสั้นๆ

นอกจากนี้ ธปท. จะมีการติดตามภาระหนี้ต่อรายได้(DSR) โดยเฉพาะสินเชื่อที่ให้กับกลุ่มเปราะบาง โดยขอให้สถาบันการเงินติดตามลูกค้าที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ให้รวดเร็วและใกล้ชิดมากกว่ากลุ่มปกติเพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้ทันเวลา โดยธปท.จะเข้าไปติดตามกระบวนการภายในของสถาบันการเงินในส่วนนี้ว่ามีประสิทธิภาพที่เพียงพอหรือไม่ ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้คุณภาพหนี้ของสินเชื่อที่ปล่อยใหม่ดีขึ้น และจำนวนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ลดลง