ตีฆ้องร้องป่าวโรงไฟฟ้าชุมชนได้รับความสนใจพุ่งทะลัก

  • ต้ังเป้าเร่ิมต้นโครงการแห่งแรกในปี63
  • ขนาดเหมาะสมแต่ละพื้นที่ไม่เกิน10เมกะวัตต์
  • ยกระดับชาวบ้านเป็นผู้ผลิตไฟฟ้า


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้ยกร่างหลักเกณฑ์และแนวทางการร่วมลงทุนโรงไฟฟ้าชุมชนเสร็จเรียบร้อยแล้ว และได้นำข้อเสนอแนะต่างๆ ที่ได้รับจากเวทีรับฟังความความคิดเห็นมาปรับปรุง ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชนและประชาชน ก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน จากนั้นจะเข้าสู่ที่ประชุม คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง) และคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ต่อไป และโครงการดังกล่าว จะเริ่มดำเนินการได้ในปี 2563

สำหรับ โครงการโรงไฟฟ้าชุมชน พพ.ม่ันใจว่า จะสามารถตอบโจทย์ประชาชนทุกพื้นที่ ทั่วประเทศ เพื่อให้สามารถเป็นเจ้าของพลังงานได้ โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ ยกระดับชุมชนสู่การเป็นผู้ผลิต ผู้ใช้ และผู้จำหน่ายไฟฟ้า ขณะนี้ มีองค์กรท้องถิ่นและผู้ประกอบการที่มีศักยภาพลงทุน ดังนั้น ร่างหลักเกณฑ์ฯ ที่กำลังจะออกมานี้จึงถือเป็นการสร้างความชัดเจนให้ทุกฝ่ายได้ดำเนินงานขั้นต่อไป เพื่อทำให้ประชาชนระดับฐานราก สามารถมีสิทธิ์ มีเสียง มีส่วนร่วมกับชุมชนของตนเองได้ โดยอาศัยวัตถุดิบทางการเกษตร พืชผลพลังงานตามบริบทของท้องถิ่น และทรัพยากรหมุนเวียนตามธรรมชาติ เช่น แสงแดด นับว่าสอดคล้องกับทิศทางด้านพลังงานสะอาดและกระแสอนุรักษ์ที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกกำลังก้าวไปอีกด้วย

ท้ังนี้ ขนาดของโรงไฟฟ้าชุมชนแต่ละแห่งในแต่ละพื้นที่ จะเป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (vspp) มีขนาดไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ต่อโรง มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 100 ล้านบาทต่อเมกะวัตต์ ภาครัฐมีเป้าหมายจะส่งเสริมโรงไฟฟ้าชุมชนรวม1,000 เมกะวัตต์ คิดเป็นมูลค่าลงทุน 100,000 ล้านบาท ล่าสุด รูปแบบการขายไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชุมชน คืนกลับมายังภาครัฐ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้เตรียมข้อมูลปริมาณความต้องการไฟฟ้า ในแต่ละภูมิภาคไว้แล้วว่าในแต่ละพื้นที่มีมากน้อยอย่างไร พร้อมวางระบบสายส่งที่มีศักยภาพ ส่วนการเปิดการรับซื้อไฟฟ้า เป็นหน้าที่ของ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)

ขอบคุณภาพ จากกฟผ.