“ซูเปอร์โพล” ชี้ผลสำรวจ “รัฐมนตรี 4 กุมาร” พบเสียงพลังเงียบส่วนใหญ่ มีความเห็นใจ-ถูกผู้ใหญ่ในรัฐบาลกระทำ

  • คัดค้านลาออก ป้องไม่ควรถูกทรยศหักหลังทั้งที่เสียสละ
  • ชี้สี่รัฐมนตรีเป็นเสมือนคณะนายทหารชั้นผู้น้อย ที่ลุยฝ่ากระสุนกระแสสังคมเพื่อกรุยทาง
  • ระบุ “บิ๊กตู่” ย้อนกลับสู่การเมืองเก่า แนะคงรูปเดิม หากปรับต้องให้เหตุได้

นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เปิดเผยว่า วันนี้ (28 มิ..) ซูเปอร์โพล ได้เสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง “สี่รัฐมนตรีกับใจประชาชน” กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศโดยดำเนินการเก็บข้อมูลแบบผสมผสาน (Mixed Method) ทั้งการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ การลงพื้นที่และการเก็บข้อมูลในโลกโซเชียลทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,470 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่าง 26-27 มิ.. 2563 ที่ผ่านมา

ทั้งนี้เมื่อถามถึง “รัฐมนตรีแกนนำสำคัญของรัฐบาลที่ประชาชนพอใจ เฉพาะรัฐมนตรีที่มีข่าวจะถูกปรับออก กระทบกับความพอใจของประชาชนต่อ 3 ” พบว่า อันดับแรกหรือ  49.2% ระบุ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รองลงมาคือ 48.3% ระบุ นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  43.5% ระบุนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน 43.2% ระบุ พล..อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 42.2% ระบุนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ 36% ระบุ มรว.จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และสุดท้าย 31.8% ระบุ พล..ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี

โดยเมื่อถามถึง “ความเห็นของประชาชนต่อ รัฐบาล บิ๊กตู่ เดินหน้าสู่การเมืองใหม่ เป็นตัวอย่างที่ดีต่อเด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่ หรือการเมืองเก่าแบบเดิมที่เคยถูกอ้างก่อนการยึดอำนาจที่ผ่านมา” พบว่า ส่วนใหญ่หรือ 65.5% ระบุ รัฐบาลบิ๊กตู่กำลังเดินสู่การเมืองเก่าแบบเดิมที่เคยถูกอ้างก่อนการยึดอำนาจที่ผ่านมา ในขณะที่ 34.5% ระบุ การเมืองใหม่

ที่น่าพิจารณา คือ “ความรู้สึกเห็นใจของประชาชน สงสาร หดหู่ใจต่อการเมือง เมื่อเห็นสี่รัฐมนตรีถูกกระทำโดยผู้หลักผู้ใหญ่ในรัฐบาลและคนในพรรคพลังประชารัฐ” 

โดยหากจำแนกตามกลุ่มการเมืองของประชาชน พบว่า พลังเงียบส่วนใหญ่หรือ 66.3% รู้สึกสงสาร เห็นใจ หดหู่ใจต่อการเมืองไทย เมื่อเห็นสี่รัฐมนตรีถูกกระทำโดยผู้หลักผู้ใหญ่ในรัฐบาลและคนในพรรคพลังประชารัฐ และแม้แต่ในกลุ่มที่สนับสนุนรัฐบาลก็ได้ความรู้สึกสงสารเห็นใจมาจำนวนมากถึง 43.6% ในขณะที่ 29.5% ของผู้ไม่สนับสนุนรัฐบาลรู้สึกสงสาร เห็นใจ หดหู่ใจต่อการเมืองไทย ตามลำดับ ในขณะที่ คนที่สนับสนุนรัฐบาล 56.4% ไม่รู้สึกอะไร และส่วนใหญ่หรือ 70.5% ของคนที่ไม่สนับสนุนรัฐบาลไม่รู้สึกอะไรเช่นกัน

ทั้งนี้ที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่หรือ 62.5% ไม่เห็นด้วยต่อการลาออกจากทุกตำแหน่งของ สี่รัฐมนตรี ในขณะที่ 37.5% เห็นด้วย

นายนพดล กล่าวว่า สี่รัฐมนตรีกับใจประชาชน คือจุดเน้นของโพลชิ้นนี้ที่ชี้ให้เห็นว่า สี่รัฐมนตรีได้ใจประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มพลังเงียบผู้ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดที่มีความสงสาร เห็นใจและหดหู่ต่อการเมืองไทย เพราะสี่รัฐมนตรีเหล่านี้ถูกผู้หลักผู้ใหญ่ในรัฐบาล และคนในพรรคพลังประชารัฐกระทำ โดยส่วนตัววิเคราะห์ว่า สี่รัฐมนตรีเหล่านี้คือผู้ที่มีบุญคุณที่ไม่ควรถูกทรยศหักหลัง อกตัญญูและสามารถอุ้มค้ำจุนความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนต่อรัฐบาล พล..ประยุทธ์มากกว่า ด้วยเหตุผลหลายประการ ดังนี้

ประการแรก สี่รัฐมนตรีเป็นเสมือนคณะนายทหารชั้นผู้น้อยผู้กล้าในกองทัพส่วนหน้า ที่ลุยฝ่ากระสุนกระแสสังคมเพื่อกรุยทางให้ผู้หลักผู้ใหญ่เข้าสู่อำนาจได้อย่างแนบเนียน และทำให้ต่างชาติยอมรับได้แบบพื้นป่าไร้รอยต่อ

ประการที่สอง สี่รัฐมนตรียังไม่มีประวัติด่างพร้อย ยังไม่ได้สร้างความเสื่อมเสียต่อรัฐบาล

ประการที่สาม สี่รัฐมนตรีมีส่วนสำคัญสร้างผลงานปรากฏต่อสายตาต่างชาติทำให้ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับเป็นประเทศที่น่าลงทุน มีผลงานในประเทศโดยเฉพาะช่วงวิกฤตโควิด-19 เงินเยียวยา อัดฉีดเงินตรงถึงกระเป๋าของประชาชน ลดค่าไฟ ลดราคาน้ำมัน ค่าก๊าซ และกำลังลงสู่เศรษฐกิจฐานรากชุมชนต่าง  ทั่วประเทศ ผู้หลักผู้ใหญ่ควรใจเย็นอย่าเป็นไปตามแรงยุของคนข้าง  ควรใช้หลัก “ให้คนคิดเป็นคนทำ

ประการที่สี่ สี่รัฐมนตรีได้ต่อสู้ในสนามรบผ่านงบประมาณกฎหมายกู้เงินต่าง  ให้ผู้หลักผู้ใหญ่และผู้มี “ภาวะตัณหา” ทั้งหลายสำเร็จแล้ว ก็จะถูกขจัดออกไปทันทีมันจะเป็นการฝืนกระแสแห่งความดีงาม เป็นแบบอย่างที่ไม่ดีต่อเด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่ ลูกหลานในอนาคตของพวกเราทุกคน เหมือนกับ เสร็จนาฆ่าโคถึก เสร็จศึกฆ่าขุนพลผู้เสียสละช่วยเหลือให้ทุกท่านเข้าสู่อำนาจในขณะนี้ แบบนี้คือ คุณธรรมความดีเหรอ

อย่างไรก็ตามโดยสรุป เสนอให้ “คงรูป” เดิมไปก่อนใช้หลัก The Status Quo จะทำให้บ้านเมืองและประชาชนเดินหน้าต่อได้ดีกว่า เพราะถ้าจะเปลี่ยนแปลง รัฐบาลต้องมีเหตุผลเพียงพอว่า พวกเขาผิดอะไร ผลงานก็มีเป็นทุนให้เห็นอยู่ เอาคนใหม่เข้ามา จะได้ไม่เท่าเสีย ทั้งกระแสสังคมและความดีงามต่อเด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่ ที่กำลังเฝ้าดูการประพฤติปฏิบัติตนทางการเมืองของผู้หลักผู้ใหญ่ในรัฐบาล