“ชลน่าน” โชว์ Quick Win 100 วัน “ยกระดับ 30 บาท” ได้ตามเป้า 

 “หมอชลน่าน” ประกาศผลสำเร็จ Quick Win 100 วัน “ยกระดับ 30 บาท” ได้ตามเป้าหมาย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริการและคุณภาพชีวิตประชาชน 

  • นำร่องบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ 
  • ฉีดวัคซีนเอชพีวีทะลุ 1 ล้านโดส 
  • ถือว่าประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายทั้ง 10 ประเด็น

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงสาธารณสุข  ว่า การดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุขภายใต้นโยบายยกระดับ 30 บาท ซึ่งกำหนด Quick Win 100 วัน (ตั้งแต่วันที่ 22 ก.ย.- 26 ธ.ค. 2566) ถือว่าประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายทั้ง 10 ประเด็น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านสาธารณสุขและคุณภาพชีวิตประชาชน โดยเฉพาะประเด็นที่ 4 มะเร็งครบวงจร ที่กำหนดฉีดวัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูกในหญิงไทยอายุ 11-20 ปี จำนวน 1 ล้านโดส สามารถฉีดได้ครบตามเป้าหมายก่อนกำหนด โดยล่าสุดฉีดไปแล้วกว่า 1.4 ล้านโดส คิดเป็น 139.2% 

และประเด็นที่ 5 สร้างขวัญกำลังใจบุคลากร ที่กำหนดอบรมทีม Care D+ เป็นญาติเฉพาะกิจเชื่อมประสานใจญาติ คนไข้ และบุคลากรทางการแพทย์ ในหน่วยบริการทุกระดับ จำนวน 1 พันคน แต่ดำเนินการได้เกินกว่าเป้าหมายของทั้งโครงการ 1 หมื่นคน โดยมีผู้ลงทะเบียน 16,500 คน ผ่านการอบรมแล้ว 10,127 คน, การบรรจุพยาบาลเข้าสู่ตำแหน่ง เป้าหมาย 50% บรรจุแล้ว 2,433 อัตรา จาก 3,318 อัตรา คิดเป็น 73.3%, กำหนดตำแหน่งชำนาญการพิเศษของพยาบาลวิชาชีพ 10,124 ตำแหน่ง ดำเนินการแล้ว 9,489 ตำแหน่ง คิดเป็น 93.73% และยังเห็นชอบให้แพทย์ของหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่ลาศึกษาใน 13 หลักสูตร ได้รับยกเว้นการลาและได้รับการเลื่อนเงินเดือนระหว่างลาด้วย

นพ.ชลน่าน กล่าวต่อว่า ส่วนประเด็น Quick Win อื่นๆ ดำเนินการได้ตามเป้าหมายเช่นกัน ได้แก่ ประเด็นที่ 1 โครงการพระราชดำริ โครงการเฉลิมพระเกียรติ และที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์ มีการจัดตั้งเครือข่ายราชทัณฑ์ปันสุขต้นแบบครบทั้ง 12 เขตสุขภาพ โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติและโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชทั้ง 32 แห่ง ผ่านเกณฑ์ประเมินโรงพยาบาลอัจฉริยะต้นแบบ (Smart Hospital) ระดับเงิน  ประเด็นที่ 2 โรงพยาบาล กทม. 50 เขต 50 โรงพยาบาลและปริมณฑล สามารถจัดตั้งโรงพยาบาลขนาด 120 เตียง จำนวน 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลประจำเขตดอนเมือง เป็นบริการร่วมระหว่างโรงพยาบาลราชวิถี 2 และโรงพยาบาลทหารอากาศ (สีกัน) และโรงพยาบาลราชวิถีนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ ช่วยเพิ่มการเข้าถึงการรักษาของประชาชนในเขตเมืองได้อย่างมาก ประเด็นที่ 3 สุขภาพจิต/ยาเสพติด มีการจัดตั้งมินิธัญญารักษ์ดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดได้ครบทั้ง 76 จังหวัด จำนวน 92 โรงพยาบาล รวม 1,458 เตียง 

   ประเด็นที่ 6 สถานชีวาภิบาล เป้าหมายอย่างน้อยเขตสุขภาพละ 1 แห่ง สามารถจัดตั้งได้ 137 แห่ง ใน 44 จังหวัด ครบทั้ง 13 เขตสุขภาพ ประเด็นที่ 7 บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ นำร่องครบตามเป้าหมาย 4 จังหวัด ใน 4 เขตสุขภาพ ได้แก่ แพร่ ร้อยเอ็ด เพชรบุรี และนราธิวาส โดยมีการเชื่อมข้อมูลครบ 100% พร้อมเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 10 มกราคม 2567 ส่วนโรงพยาบาลอัจฉริยะ ดำเนินการได้เกินกว่าเป้าหมาย 200 แห่งทั่วประเทศ โดยมีโรงพยาบาลที่ผ่านเกณฑ์ประเมินระดับเงิน 799 แห่ง จาก 901 แห่ง คิดเป็น 88.68% ประเด็นที่ 8 ส่งเสริมการมีบุตร มีการจัดทำร่างวาระแห่งชาติแล้ว เตรียมเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีบรรจุเป็นวาระแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ต่อไป ประเด็นที่ 9 เศรษฐกิจสุขภาพ มีการจัดตั้ง Blue Zone เมืองสุขภาพดี วิถีชุมชน คนอายุยืน ครบทั้ง 12 เขตสุขภาพ รวม 20 แห่ง แบ่งเป็น เขตสุขภาพที่ 1 จำนวน 8 แห่ง และเขตสุขภาพที่ 2-12 อีกเขตละ 1 แห่ง และ ประเด็นที่ 10 นักท่องเที่ยวปลอดภัย