กรมการแพทย์แผนไทย ย้ำประชาชนต้องขออนุญาตเมื่อจำหน่ายวิจัยหรือส่งออกกัญชา

  • แนะนำประชาชนที่ใช้กัญชา ต้องขออนุญาตให้ถูกกฎหมาย
  • พร้อมเปิดช่องทางการขออนุญาตอย่างถูกต้อง
  • ทั้งส่วนกลาง และ ส่วนภูมิภาค เพื่อลดปัญหาที่ชัดต่อกฎหมาย

นายแพทย์ธงชัย ลิศวิไลรัตนพงศ์ อธิบดีกรมการแพทย์แผ่นไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 ตามความในมาตรา 44 บัญญัติให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุขประกาศให้สมุนไพรเป็นสมุนไพรควบคุมได้ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้กัญชาเป็นสมุนไพรควบคุมไว้แล้ว ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สมุนไพรควบคุม (กัญซา) ลงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2565 

ทั้งนี้ตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดศึกษาวิจัยหรือส่งออกสมุนไพรควบคุม หรือจำหน่าย หรือแปรรูปสมุนไพรควบคุมเพื่อการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต ซึ่งตามคำนิยามในมาตรา 3 ให้นิยาม ความหมายกรณี “จำหน่าย” หมายความว่า ขาย จ่าย แจก หรือแลกเปลี่ยน ต้องมีการขออนุญาตให้ถูกต้องตามกฎหมาย ถ้าไม่มีการขออนุญาตถือว่าผิดกฎหมายตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สมุนไพรควบคุม (กัญชา) พ.ศ. 2565 เนื่องจากประกาศดังกล่าวเป็นกฎหมายใหม่ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ทราบว่าต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างไรบ้างที่ผ่านมา กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้สื่อสารประชาสัมพันธ์ประโยชน์ และข้อควรระวังจากการใช้กัญชา และผลิตภัณฑ์กัญชาแก่ประซาชนและผู้ประกอบการอย่างถูกต้อง พร้อมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จาก สมุนไพรควบคุม (กัญชา) แก่ประชาชนและผู้ประกอบการ ณ ถนข้าวสาร, เขตสีลม, และ เขตทองหล่อ เป็นต้น กัญชาเป็นสมุนไพร่ไทย เน้นคุณค่าการใช้ในการแพทย์สร้างงาน สร้างอาชีพ และเสริมเศรษฐกิจชาติ เป็นสมุนไพรที่มีค่าต่อการศึกษาหรือวิจัยและมีความสำคัญทางเศรษฐกิจเพื่อใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์แผนไทยและเศรษฐกิจชุมชน เป็นการปิดช่องสุญญากาศ พร้อมสร้างความรู้ ความเข้าใจปลอดภัยให้กับสังคม และเพื่อประโยซน์ในการคุ้มครองสมุนไพรกัญชา อย่างยั่งยืน

สำหรับการขออนุญาตใช้สมุนไพรควบคุม ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยพ.ศ. 2542 มี 3 ลักษณะ คือ 1.การขออนุญาตศึกษาวิจัย 2. การขออนุญาตจำหน่าย / แปรรูปสมุนไพรควบคุมเพื่อการค้า และ 3.การขออนุญาตส่งออกสมุนไพรควบคุมเพื่อการค้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของผู้มาขออนุญาต ในส่วนผู้ประกอบการรวมถึงประชาชนทั่วไป ที่จะมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกัญซาในเชิงพาณิชย์และทำการค้า ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดก็ตามต้องขออนุญาตจำหน่ายหรือแปรรูปสมุนไพรควบคุม เพื่อการค้า ถ้าอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ต้องยื่นขออนุญาต ที่กรมการแพทย์

แผนไทยและการแพทย์ทางเสือก โดย กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย หากอาศัยอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด ต้องขออนุญาตจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่ท่านอาศัยอยู่