กนง.หักปากาเซียนลดดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ครั้งแรกในรอบ 4 ปี 3 เดือน

  • เหตุเศรษฐกิจไทยชะลอต่ำกว่าประมาณการเดิมมาก
  • เงินเฟ้อทั่วไปต่ำกว่าขอบล่างกรอบเป้าหมาย
  • ยอมรับค่าเงินแข็ง-เงินร้อนเป็นปัจจัยพิจารณา

นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ในฐานะเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม วันที่ 7 ส.ค.ซึ่งเป็นการประชุมครั้งที่ 5 ของปีนี้ โดน กนง.มีมติ5 ต่อ 2 เสียงให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ต่อปี จาก 1.75 % เป็น 1.50% ต่อปีโดยให้มีผลทันที ถือเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 4 ปี 3 เดือน นับตั้งแต่เดือน เม.ย.2558

โดยในการประชุมครั้งนี้ ได้มีการปรับลดประมาณกาการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย และประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปต่ำลงกว่าการประมาณการครั้งก่อนที่ 3.3% และ 1.0% ตามลำดับ ขณะที่คาดว่าตัวเลขการขยายตัวของการส่งออกของไทยในปีนี้จะติดลบ จากที่เคยประมาณการไว้ที่ 0% เนื่องจากผลกระทบจากสงครามการค้าที่เพิ่มสูงขึ้น และขยายคู่มากขึ้น นอกจากนั้น ตัวเลขการนำเข้าที่ออกมาต่ำกว่าที่คาดไว้ก็มีผลต่อการส่งออกในอนาคตด้วย

“ประเด็นที่สำคัญในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้ คือ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปีมีแนวโน้มต่ำกว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อจากราคาพลังงานที่ปรับลดลงเร็ว รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่มีแนวโน้มชะลอลงตามแรงกดดันในฝั่งกำลังซื้อที่ลดลง โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้จะทำให้เงินเฟ้อทั่วไปเข้าสู่กรอบเป้าหมายได้ ทั้งนี้ กนง.ให้ติดตามความเสี่ยงการกีดกันทางการ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ที่มีเพิ่มขึ้น”

ทั้งนี้ ผู้ช่วยผู้ว่าการธปท. ยอมรับว่า แม้เป้าหมายหลักในการพิจารณานโยบายการเงินจะอยู่ที่ 3 ประเด็นหลัก คือ อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ และเสถียรภาพระบบการเงิน แต่ยอมรับว่าในสถานการณ์ปัจจุบัน อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท และเงินทุนเคลื่อนย้าย ที่ไหลเข้ามาในระยะสั้น มีผลกระทบต่อทั้ง 3 ปัจจัยหลักดังกล่าว และกระทบกับภาคเศรษฐกิจจริง ดังนั้น กนง.จึงนำปัจจัยดังกล่าวมาเป็นปัจจัยพิจารณาในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้ด้วย

“ทั้งนี้ในส่วนของความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงิน ซึ่งขอย้ำว่า กนง.ทุกคนยังเป็นห่วงความเสี่ยงในเรื่องเสถียรภาพระบบการเงินที่ยังคงมีความเปราะบาง แต่มองว่าธปท.ได้ทัมาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงินแล้วในระดับหนึ่ง แต่ยังต้องติดตามการก่อหนี้ของภาคครัวเรือนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การขยายสินทรัพย์และความเชื่อมโยงภายในของสหกรณ์ออมทรัพย์รวมถึงการก่อหนี้ของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่อาจประเมินความเสี่ยงต่่ากว่าที่ควร ทั้งนี้ ในระยะต่อไปที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอลงและอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่่าต่อเนื่อง มาตรการกำกับดูแลสถาบันการเงิน(microprudential) และมาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน (macroprudential) จะถูกนำมาใช้มากขึ้น”