WHO ระบุ ไวรัสโควิดตัวใหม่“Omicron”กลายพันธ์ุที่โปรตีนหนาม

  • ลดทอนประสิทธิภาพ mRNA
  • ไฟเซอร์ – โมเดอร์น่า เร่งวิจัย
  • ผลิตวัคซีนเจนใหม่ใน 6 เดือน

อีกครั้งที่คนท่ัวโลกต้องตกลึงกับการค้นพบไวรัสโควิดกลายพันธ์ุในสายพันธ์ุใหม่ที่มาจากอัฟริกาใต้ ชื่อ โอไมครอน (Omicron) มีผลทำให้หลายประ เทศประกาศห้ามคนจาก 13 ประเทศในกลุ่มอัฟริกาใต้เข้าประเทศของตนเช่นเดียวกับประเทศไทยที่ประกาศห้ามคนกลุ่มนี้เข้ามาในราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.นี้เป็นต้นไป

โควิดสายพันธุ์“โอไมครอน”(B 1.1.529) ที่นักวิทยาศาสตร์ เพิ่งค้นพบเมื่อวันที่ 24 พ.ย.ที่ผ่านมานี้ ถูกระบุเป็น ไวรัสโควิดกลายพันธ์ุชนิดที่ 5 โดย WHO หรือ องค์การอนามัยโลก จัดให้อยู่ในสายพันธ์ุที่น่ากังวล เพราะมีการแพร่ระบาดเร็ว และรุนแรงกว่าเดลต้าถึง 2 เท่า ขณะที่หน้าตาของมันไม่เหมือนกับโควิดสายพันธุ์เดลต้าจากอินเดียแม้แต่นิด 

ทั้งยังกลายพันธ์ุที่รหัสโปรตีน RNA หนาม (Spike) ซึ่งอยู่ในจุดสำคัญๆที่เข้าไปจับยึดกับตัวรับ(Receptor) บนผิวเซลล์ของมนุษย์มากถึง 32 ตำแหน่ง จึงทำให้เกิดการระบาดอย่างรวดเร็ว และกระจายออกไปในหลายประเทศ 

นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล เปิดเผยว่า นักวิทยาศาสตร์ขององค์การอนามัยโลก พบการกลายพันธ์ุของโอไมครอนในหลายจุดมากขึ้น เพียงไม่กี่วันก็แพร่ระบาดไปในหลายประเทศแล้ว และเข้ามาใกล้กับประเทศไทยก็ที่ฮ่องกงซึ่งมีผู้ติดเชื้อแล้ว 2 คน เพราะกลายพันธ์ุตรงจุดที่เป็นโปรตีนหนามที่ยึดเกาะกับเซลส์ 

ที่น่ากลัวก็คือ วัคซีนที่ผลิตออกมาโดยใช้โปรตีนหนามอาจจะมีปัญหา และมีประสิทธิภาพลดลงได้ ถ้าหน้าตาของเจ้าไวรัสตัวนี้เปลี่ยนไปมากจนเซลส์ของเราจำหน้าตามันไม่ได้ ส่ิงที่เป็นเรื่องน่ากังวลในเวลานี้ก็คือ อากาศในหลายประเทศเร่ิมเย็นลงมาก จะทำให้การแพร่ระบาดของโควิดสายพันธ์ุใหม่กระจายไปอย่างรวดเร็วได้ หากไม่มีการป้องกันกันอย่างเคร่งครัด โดยเชื่อว่า อาจมีประชากรในประเทศต่างๆราว 30 – 40 ประเทศได้รับผลกระทบ 

  • กระทบต่อ วัคซีน mRNA
  • SV,SF และ AZ ไม่มีปัญหา

รายงานในหมู่คณะแพทย์ และนักวิทยาศาสตร์ขององค์การอนามัยโลก ระบุด้วยว่า วัคซีนที่ผลิตภายใต้ระบบ mRNA (Messenger Ribonucleic Acid) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนรูปแบบใหม่ที่ลงลึกถึงระดับโมเลกุลอย่าง ไฟเซอร์ และโมเดอร์น่า อาจถูกลดทอนประสิทธิภาพลง ส่วนวัคซีน ชิโนแวค ชิโนฟาร์ม และ แอสตร้าเซนิก้า ไม่ได้รับผลกระทบ

เนื่องเพราะมีการกลายพันธ์ุที่โปรตีนหนาม ทำให้บริษัทผู้ผลิตวัคซีนทั้งสองราย ต่างออกมาประกาศว่า บริษัทจะเร่งการค้นหาข้อมูลที่ชัดเจนเรื่องการกลายพันธ์ุนี้ ขณะเดียวกันก็จะปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีที่ใช้ผลิตวัคซีนใหม่โดยเร็ว เพื่อให้ได้วัคซีนตัวใหม่ที่จะสามารถป้องกันเจ้าไวรัสโควิดกลายพันธ์ุในสายพันธุ์ “โอไมครอน”ให้ได้ภายในระยะเวลาอย่างช้าที่สุดไม่เกิน 6 เดือน 

สำหรับการผลิตวัคซีน mRNA จะแตกต่างไปจากการผลิตวัคซีนแบบเดิมที่ใช้โมเลกุลของไวรัส หรือใช้ไวรัสที่ถูกทำให้อ่อนแอ ฉีดเข้าไปในร่างกายมนุษย์เพื่อให้สร้างภูมิต้านทานขึ้นมา 

ทั้งนี้ เทคโนโลยีการผลิตวัคซีน mRNA คือ การฉีดโมเลกุลขนาดจิ๋วนี้เข้า ไปในร่างกายเพื่อให้ร่างกายสร้างโปรตีนที่มีลักษณะคล้ายหนามของไวรัสโควิด -19 โปรตีนตัวนี้จะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทาน(Antibody) เพื่อต่อสู้กับไวรัสโดยการจดจำรูปแบบของหนามไว้  

นอกจากนี้วัคซีน mRNA ยังมีไขมันอนุภาคนาโน(LiQuid nanopaticle)ที่ใช้ห่อหุ้ม mRNA เพื่อป้องกันการย่อยสลายจากเอนไซม์ไรโบนิวคลิเอสซึ่งมีอยู่ท่ัวร่างกายด้วย อย่างไรก็ตาม โดยธรรมชาติ สารพันธุกรรมเหล่านี้ จะถูกขจัดออกจากร่างกายในระยะเวลาไม่นาน จึงไม่เป็นอันตราย หรือ สะสมอยู่ในนิวเคลียสของเซลส์ในร่างกาย 

สำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสกลายพันธ์ุโอไมครอนที่พบในอัฟริกาใต้นั้น องค์ การอนามัยโลก รายงานว่า ส่วนใหญ่ติดต่อกันในหมู่คนที่มีอายุน้อย หรือในคนวัยหนุ่มสาวที่ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 มาก่อน แต่แข็งแรง ส่วนอา การที่พบไม่รุนแรงเหมือนในโควิดสายพันธุ์เดลต้า และไม่มีปัญหาเรื่องการรับรส หรือดมกลิ่น นอกจากปวดศรีษะ ไอ และมีไข้เล็กน้อยเท่านั้น