“TCEB” งัด 4 โปรเจ็กต์ 4 นวัตกรรม ปลุกทั่วไทยโกยรายได้ไมซ์ปี’65 อัดฉีดเทคเฟิร์มจับคู่ไฮเทค เพิ่มยอดไมซ์รับฟรีอีโวเชอร์ 1 ล้านบาท

  • ระดมพลิกโฉมอุตสาหกรรม ลุยตลาดไมซ์ไทยและอินเตอร์ 
  • ชู 4 เรื่องบิ๊ก “จัดงานไฮบริด-ลงทะเบียนออนไลน์-ดิจิทัลไซเนส-โรบ็อตอัจฉริยะ” 
  • รุกใช้ 4 นวัตเทรนด์โลก “ดิจิทัลแพลตฟอร์ม-LiveStreaming-Bitconnect-Metaverse” 
  • อัดฉีดงบผ่านอีโวเชอร์ 100,000-1,000,000 บาท ปลุกกระแสเทคเฟิร์มจับคู่ธุรกิจไฮเทคปั๊มยอดงานไมซ์เพิ่มปลายปี 65

นางศุภวรรณ ตีระรัตน์ รองผู้อำนวยการสายงานพัฒนาและนวัตกรรม สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(องค์การมหาชน) “TCEB” ได้เตรียมความพร้อมนำนวัตกรรมกับการพัฒนาแนวใหม่มาเสนอให้ผู้ประกอบการในอุตสหกรรมไมซ์ของประเทศไทยซึ่งเปลี่ยนแปลงสู่ยุคใหม่ตามกระแสโลกหลังสถานการณ์โควิด ด้วยการเร่งนำเครื่องมือเข้ามาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดการสร้างรายได้และฟื้นฟูเศรษฐกิจไมซ์ไทยให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง เบื้องต้นเน้น4 เรื่องหลัก ประกอบด้วย

เรื่องที่ 1 ขณะนี้ทุกการจัดงานไมซ์ได้นำระบบไฮบริดเข้ามาใช้ทั้งหมด ไม่ว่าจะจัดงานประชุม อีเวนต์ แสดงสินค้า ผสมผสานทั้งจัดจริงควบคู่ออนไลน์  

เรื่องที่ 2 วิธีลงทะเบียนเข้าร่วมงานต่าง ๆ หันมาใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มทั้งหมด โดยให้ลงออนไลน์ หรือบางงานให้ใช้สแกนใบหน้า Face scaning หรือโชว์มือถือที่มีระบบลงทะเบียนเรียบร้อยแล้วเข้างานได้ทันที

เรื่องที่ 3 นำ Digital signess เข้ามาใช้แทนโปสเตอร์แสดงแผนผังการจัดแต่ละแทน ทำได้ง่ายสะดวก ต้นทุนไม่สูง สามารถเปลี่ยนภาพได้หลากหลาย ประการสำคัญช่วยลดการใช้กระดาษลดภาวะโลกร้อนและลดใช้คาร์บอน รวมถึงลดการสัมผัสกันได้มากด้วย

ขณะนี้ทีเส็บพร้อมสนับสนุนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจัดงาน FTI EXPO  2022 : SHAPING FUTURE INDUSTRIES ระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน – 3 กรกฎาคม 2565 ที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็น 1 ใน 10 เมืองไมซ์ของทีเส็บ เพื่อขานรับการประเทศ กระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ทั้งระบบ โดยจะมีสมาชิกและกลุ่มสภาอุตสาหกรรมแต่ละจังหวัดทั่วประเทศจะมารวมตัวกัน

ภายในงานจะมีทั้งการแสดงสินค้า ผลิตภัณฑ์ สัมมนา ซึ่งงานนี้ได้คุยกันนำร่องทำโครงการ “CARBON NEUTRAL” ทำให้เกิดขยะเป็นศูนย์หรือ ZERO WASTE ด้วย ใช้วิธีชดเชย (opset) การปล่อยคาร์บอนอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมกันนี้ทีเส็บยังได้สนับสนุนการนำ “ 4 นวัตกรรม” เข้ามาใช้จัดงานไมซ์ประเภทต่าง ๆ ได้แก่

1.การใช้หุ่นยนต์ Robot ซึ่งสามารถให้ข้อมูล แผนผังงาน บอกถึงการเว้นระยะห่าง ตลอดจนถึงผู้เข้าร่วมงานสามารถสอบถามเส้นทางท่องเที่ยวพื้นที่ใกล้เคียงได้ด้วย

2.นำ Live Streaming เข้ามาใช้กระจายรูปแบบการจัดงานให้คนในเชียงใหม่ ภาคเหนือ และทั่วประเทศ เข้าถึงงานได้ด้วยในระบบออนไลน์ไลฟ์สดอีกช่องทาง

3.นวัตกรรมแคตาล็อกสินค้า หรือ Innovation catalog ปัจจุบันในธุรกิจไมซ์ ผู้ให้บริการอาจจะไม่มากเท่าอุตสาหกรรมอื่น ๆ จากประสบการณ์ของทีเส็บต่อเนื่องมากว่า 2 ปี ที่ได้นำนวัตกรรมเข้ามารวมศูนย์ในรูปแบบ Tec Firm มีรายชื่อถึง 90 บริษัท ผ่านการคัดเลือกคุณสมบัติแล้วนำมาบรรจุไว้ในแคตาล็อก เพื่อให้ผู้จัดงานเลือกใช้บริการได้ สามารถหาข้อมูลบริษัทเทคเฟิร์มได้ที่เว็บไซต์ ผิดพลาด! การอ้างอิงไฮเปอร์ลิงก์ไม่ถูกต้อง  และwww.businesseventthailand.com  

4.ให้นวัตกรรมแพลตฟอร์ม Bitconnect เพื่อการจัดงานประชุม อีเวนต์ งานวิ่ง การแสดงสินค้าของภาครัฐและเอกชนนำไปใช้โดยมีทีเส็บเป็นผู้ลงทุนจ้างผู้เชี่ยวชาญทำแพลตฟอร์มสำเร็จรูปให้แต่ละภาคส่วนที่จัดงานไมซ์ได้ใช้ประโยชน์ฟรี เพื่อการลงทะเบียนการเข้างาน ข้อมูลวิทยากร หรือหัวข้อใด มีคนสนใจมากที่สุด เรื่อยไปจนถึงการพิมพ์ข้อมูลผู้เข้าร่วมงานได้ด้วย เป็นชาย-หญิง อายุ สนใจสินค้าประเภทใด เลือกเดินโซนสินค้าอะไรมากที่สดุ

นางศุภวรรณ กล่าวว่า ขณะนี้เทรนด์โลกหันมาให้ความสำคัญกับ “สถานที่จัดงาน หรือ Venue” ซึ่งแต่เดิมทีเส็บจะสนับสนุนออร์กาไนเซอร์หรือผู้รับจัดงานจัดการงานประชุม แสดงสินค้า อีเวนต์ เมื่อเทรนด์โลกเปลี่ยนไปเน้นเรื่องสถานที่จัดงาน คนรุ่นใหม่ไม่อยากอยู่ในห้องประชุม จึงมีรูปแบบอาคารพิเศษ ทีเส็บจึงได้เพิ่มการสนับสนุน Smart Venue มากขึ้น โดยให้ประยุกต์นวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ด้วยการปรับให้ผู้จัดการนำมาผสมผสานกัน แล้วยกระดับสมาร์ตเวนูรองรับไมซ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

สำหรับ Smart Venue ทีเส็บได้เน้นให้ผู้เจ้าของสถานที่หรือผู้จัดงานนำ digital signess เข้ามาใช้ เพื่อให้ข้อมูลภายในงาน พร้อมกับแหล่งท่องเที่ยวแต่ละเมืองที่จัดงานเพื่อเพิ่มรายได้มากขึ้น เพราะบางงานได้ตลาดต่างประเทศเข้ามาร่วมงานในเมืองนั้น ๆ อาจจะยังมีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะไปเที่ยวเพื่อกระจายรายได้สู่ชุมชนท้องถิ่น สร้างเศรษฐกิจในพื้นที่

ส่วน Smart Venue จะมีองค์ประกอบหลัก ๆ ที่นำมาใช้เป็นเกณฑ์พิจารณาอยู่ 2 เรื่อง คือ

1.การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้อำนวยความสะดวกแบบครบวงจร

2.ทำการจัดงานเพื่อสร้างความยั่งยืน ซึ่งสถานที่จัดงานที่มีนโยบายในการลดสิ่งที่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ไม่ใช้ขวดพลาสติก ไม่ใช้ผ้าปูโต๊ะซึ่งต่างจังหวัดชอบทำ ไม่ต้องมีดอกไม้ หรือบางแห่งมีรถรับส่งด้วยระบบใช้ร่วมกันหรือCar Pool มายังสถานที่จัดงาน มีอาหารท้องถิ่นแทนเค้ก เบเกอรี่ เสิร์ฟช่วงเบรกการประชุมหรือช่วงอาหารกลางวัน

ทีเส็บต้องการรณรงค์ให้การจัดไมซ์ทุกงานใช้ระบบ Digital signess เพื่อลดละเลิกใช้กระดาษ โปสเตอร์ บนสกรีนหน้าจอ หรือบริเวณหน้าห้องประชุม เพื่อลดปริมาณขยะควบคู่กันไปด้

นางศุภวรรณ ย้ำว่า ขณะนี้ยังได้นำ “METAVERSE” เข้ามาใช้จัดงานอีเวนต์ค่อนข้างมาก นอกจากออนไลน์แล้ว ยังมีจะมีเสมือนจริงหรือ Virtual รวมอยู่ด้วย

นอกจากทีเส็บจะให้การสนับสนุนด้านนวัตกรรม ด้วยการรวบรวมรายชื่อบริษัท TEC FIRM เข้ามาไว้ในแคตาล็อกดิจิทัลแล้ว ยังเปิดช่องทางให้กลุ่มผู้ประกอบการทางเทคโนโลยีเลือกจับคู่กับเทคเฟิร์ม เมื่อคู่ไหนจับคู่ทำงานร่วมกันจัดงานไมซ์ได้ ก็จะมานำเสนอทีเส็บเพื่อคัดกรองอีกครั้งจากนั้นจะให้อีโวเชอร์แทนเงินสนับสนุนตรงไปยังบริษัทเทคเฟิร์มผู้รับผิดบอการจัดงาน วงเงินตั้งแต่ 100,000 -1,000,000 บาท/งาน ซึ่งทางผู้ที่ได้รับอีโวเชอร์แทนเงินไปจะต้องทำสรุปผลลัพธ์ถึงความสำเร็จเป็นมูลค่ามากเท่าไร ซึ่งมีผู้เลือกใช้โครงการนี้เป็นจำนวนมากทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด

ส่วนการต่อยอดงานพัฒนาไมซ์ อีกโครงการคือการลงนาม MOU กับสถาบันการศึกษาเพื่อสร้าง MICE Business Center 11 แห่ง เพื่อกระจายให้บริการแบบครบวงจร One Stop Service ได้ครอบคลุมทั่วประเทศ ตอนนี้ทีเส็บมีMICE CITY 10 เมือง ประกอบด้วย 1.ภาคเหนือ ที่เชียงใหม่ พิษณุโลก 2.ภาคกลาง คือ กรุงเทพฯ 3.ภาคตะวันออก ที่พัทยา(ชลบุรี) 4.อีสาน ที่นครราชสีมา อุดรธานี ขอนแก่น 5.ภาคใต้ ที่สงขลา สมุย+สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต

นางศุภวรรณยืนยันว่าเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยหลักตามเมืองต่าง ๆ ซึ่งทางทีเส็บใช้วิธีเข้าไปพัฒนาให้เป็น“ศูนย์บริการเครือข่ายนวัตกรรมไมซ์” เพิ่มจาก 5 เป็น 11 ศูนย์ เพิ่มใหม่อีก 6 แห่ง โดยมีผู้ใช้บริการเป็นทางจังหวัดและภาคเอกชนที่เข้ามาใช้บริการดังกล่าว เนื่องจากปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้ขยายบทบาทพัฒนาอบรมผู้ประกอบการมาตรฐานสถานที่จัดงาน และศูนย์ข้อมูลไมซ์ จึงทำงานร่วมกันตอนนี้ครอบคลุมทุกภาคทั่วประเทศ เช่น นครราขสีมามีศูนย์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรนารี พิษณุโลกมีศูนย์ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร ภาคตะวันตก/เพชรบุรีมีศูนย์ราชมงคลรัตนโกสินทร์

ส่วนวิธีค้นหาข้อมูลเพื่อค้นหารายชื่อมหาวิทยาลัยที่ทีเส็บแต่งตั้งให้เป็น MICE business Center ให้บริการแบบOne Stop Service มี 2 ช่องทาง

1.www.thaimiceconnect.com  ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มหลักของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของอุตสาหกรรมไมซ์หรือEcosystem มีข้อมูลอยู่มากกว่า 10,000 เดต้า แต่ละเดต้าก็จะแยกเป็นแคตาล็อก เช่น สถานที่จัดงาน โรงแรม ร้านอาหาร แหล่งท่องเที่ยว ชุมชนจัดงานได้ วิทยากรไมซ์ เป็น Speaker Bureau มหาวิทยาลัยศูนย์เครือข่ายแต่ละจังหวัด

2.www.micecapabilities.com ตอนนี้ทีเส็บได้ทำ E-Learning ด้วย เปิดอบรมออนไลน์ที่ใบรับรองไปแล้วเกินกว่า4,000 คน

เรื่องโดย…#เพ็ญรุ่งใยสามเสน #gurutourza, www.facebook.com/penroongyaisamsaen