PwC ชี้ผลสำรวจภาคธุรกิจห่วงโควิด-19 ทำรายได้-กำไรหด เผยเกือบ 1 ใน 3 ของซีเอฟโอมีแผนเลิกจ้างพนักงาน

  • แนะประเทศไทย-ธุรกิจไทย ประคับประคองธุรกิจให้ดี
  • บริหารสภาพคล่อง และดูแลพนักงาน ผ่านความท้าทายไปให้ได้
  • เพื่อให้รอดพ้นภาวะวิกฤติไปพร้อม ๆ กับองค์กร

นายนิพันธ์ ศรีสุขุมบวรชัย หัวหน้าสายงาน Clients and Markets หัวหน้ากลุ่มลูกค้าธุรกิจครอบครัว และหุ้นส่วนสายงานภาษีและกฎหมาย บริษัท ไพรซ์วอเทอร์เฮาส์คูเปอส์ ประเทศไทย หรือ  PwC เปิดเผยว่า สำหรับผลสำรวจความคิดเห็นของซีเอฟโอครั้งที่ 2 นี้ PwC ยังได้จัดทำผลสำรวจฉบับอาณาเขตต่าง  นอกเหนือไปจากสหรัฐญและเม็กซิโก ซึ่งได้ทำการสอบถามมุมมองความคิดเห็นของซีเอฟโออีก 153 ราย ใน 8 อาณาเขตและประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ประกอบด้วย บาห์เรน เนเธอร์แลนด์ ฟิลิปปินส์ โปรตุเกส กาตาร์ สวิสเซอร์แลนด์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ ไทย โดยพบว่า82% ของซีเอฟโอในประเทศเหล่านี้มีความกังวลว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจของพวกเขาอย่างมีนัยสำคัญ เปรียบเทียบกับ 87% ของซีเอฟโอในสหรัฐฯและเม็กซิโก ขณะที่เกือบ 1 ใน 3 หรือ 32% คาดว่ามีแผนเลิกจ้างพนักงาน ซึ่งถือเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่าสหรัฐฯและเม็กซิโก ถึงเท่าตัว

ทั้งนี้ในส่วนของความกังวลสูงสุด 3 อันดับแรกจากผลกระทบวิกฤติโควิด-19 นั้น ซีเอฟโอในประเทศเหล่านี้มองว่าภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยเป็นความกังวลอันดับแรก 67% ตามมาด้วยอันดับที่ 2 ผลกระทบทางการเงิน รวมถึงผลกระทบต่อการปฏิบัติงานในอนาคต สภาพคล่อง และแหล่งเงินทุน 61% และอันดับที่ 3 ผลกระทบต่อกำลังแรงงานและการลดลงของประสิทธิภาพการผลิต 44% อย่างไรก็ตาม ซีเอฟโอในประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่ 75% มั่นใจว่าธุรกิจของตนจะสามารถกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ภายใน 3 เดือน หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สิ้นสุดลงภายในวันนี้

นายนิพันธ์ กล่าวว่า ธุรกิจไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ไม่แตกต่างจากธุรกิจทั่วโลก ซึ่งแม้จะเป็นเรื่องยากลำบากในการประคับประคองธุรกิจในสถานการณ์ที่ซัพพลายเชนตึงตัว ท่ามกลางกำลังซื้อที่ค่อยๆ หดหาย ตามการว่างงานที่เพิ่มขึ้น แต่ทุกองค์กรก็ทำงานอย่างดีที่สุดในการปรับกลยุทธ์ในทุก  มิติเพื่อรับมือสถานการณ์ที่คาดเดาได้ยากในเวลานี้ 

อย่างไรก็ตามสำหรับธุรกิจไทยที่ยังคงตั้งหลักไม่ถูก สิ่งแรกที่ต้องทำคือ จัดทำแผนบริหารความเสี่ยงในภาวะวิกฤติสำรวจและประเมินสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ และวางแผนบริหารจัดการต้นทุนทั้งในระยะสั้นถึงระยะกลาง และที่สำคัญที่สุด ดูแลพนักงานของตัวเองเพื่อให้พวกเขามั่นใจว่า พวกเขาจะได้รับการปกป้องและจะผ่านพ้นจากภาวะวิกฤตไปพร้อมๆ กับองค์กร