GMM MUSIC แกร่ง โตฝ่าวิกฤตโควิด ทำกำไรทะลุ 350 ล้าน ตั้งเป้าปี 66 รายได้เติบโต 25%

  • กว่า 3 ปีที่ธุรกิจเพลงที่ได้รับผลกระทบหนักทั่วโลก
  • การปรับตัวได้อย่างรวดเร็วด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแรง
  • เพื่อสร้างการเจริญเติบโตฝ่าวิกฤตโควิด ทำให้มีรายได้กว่า 3,043ล้านบาท

นายภาวิต จิตรกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายธุรกิจ จีเอ็มเอ็ม มิวสิค บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แม้ต้องเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 มาอย่างยาวนาน และยังเป็นช่วงเวลาแห่งความยากลำบากที่ต้องหยุดจัดงานคอนเสิร์ตต่าง ๆ  แต่ GMM MUSIC ก็โชว์ศักยภาพ สร้างการเติบโตแบบสวนกระแส เป็นผลมาจาก 2 กลุ่มธุรกิจหลัก ที่ถือได้ว่าเป็นธุรกิจสำคัญของแหล่งรายได้ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งชี้ถึงโอกาสของการเจริญเติบโตในระยะยาว ประกอบด้วย   ธุรกิจ Digital Business ในปี 2565 มียอดรายรับที่ 1,089 ล้านบาท   ธุรกิจ Right Management Business ในปี 2565 มียอดรายรับที่ 236 ล้านบาท

และเมื่อได้รับโอกาสสืบเนื่องจากการที่ภาครัฐมีการผ่อนปรนมาตรการต่าง ๆ ตลอดจนการเปิดประเทศ ส่งผลดีต่อธุรกิจหลักให้ฟื้นตัว สามารถกลับมาจัดกิจกรรมต่าง ๆ ทางการตลาดได้เพิ่มขึ้น จะเห็นได้ว่าธุรกิจ Showbiz และธุรกิจ Live Show สามารถกอบกู้สถานการณ์ของบริษัทฯในเชิงบวกให้ดีขึ้น แม้มีระยะเวลาการจัดงานเพียง
7 เดือน ธุรกิจ Showbiz สร้างยอดรายรับที่ 542 ล้านบาท ธุรกิจ Live Show สร้างยอดรายรับที่ 410 ล้านบาท

นอกจากผลงานด้านธุรกิจของ GMM MUSIC ที่เติบโตสร้างผลกำไรให้อย่างเป็นรูปธรรม ยังมีอีกหนึ่งส่วนที่เติบโตอย่างเห็นชัดเจนก็คือ กลุ่มมิวสิคคอนเทนต์ (การผลิตเพลงและศิลปิน) ที่สร้างการเติบโตผ่านความร่วมมือกับทุกแพลตฟอร์มดิจิทัลที่คนไทยนิยมใช้ฟังเพลง สามารถนำคอนเทนต์ที่ผลิตขึ้นให้เกิดความประทับใจ สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึงและตรงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด จึงทำให้ในปี 2565 ที่ผ่านมา GMM MUSIC มียอดการสตรีม ทั้งหมด 14,000 ล้านการสตรีม เกิดจากการสร้างเพลงใหม่จำนวนทั้งสิ้น 404 เพลง โดยแบ่งออกเป็น 30 อัลบั้ม, 153 ซิงเกิล, 44 เพลงประกอบภาพยนตร์ และ 48 เพลงคัฟเวอร์ อีกทั้งถูกนำไปสร้างและแชร์เป็นเพลย์ลิสต์จำนวน 3,817 เพลย์ลิสต์ ซึ่งเพลงใหม่ทั้งหมดนั้นสร้างการสตรีมจำนวน 2,150 ล้านการสตรีม คิดเป็น 16% ของการฟังเพลง GMM MUSIC ทั้งหมด ซึ่งสอดคล้องกับค่าเฉลี่ยการสตรีมเพลงใหม่ของบริษัทยักษ์ใหญ่ในโลก โดยมียอดการสตรีมอยู่ที่ประมาณ 15% หากแยกประเภทของแนวเพลงที่ได้รับความนิยมในการฟังของ GMM MUSIC 3 อันดับแรก คือ เพลงร็อก 40% เพลงลูกทุ่ง 32% และเพลงป๊อป 14%

นอกจากนี้ในปี 2565 เพลงและศิลปินของ GMM MUSIC ยังคงครองใจแฟน ๆ ได้อย่างเหนียวแน่น ทำให้มีเพลงยอดนิยมเข้าไปติดอันดับชาร์ตเพลงของแพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ และยังเป็นปีของการแจ้งเกิดศิลปินใหม่ ครบทุกแนวเพลง ทั้งป๊อป ร็อก และลูกทุ่งอีกด้วย ทั้งนี้ภาพรวมความสำเร็จทางด้านการผลิตสามารถสรุปได้โดยย่อในหลากหลายมิติ ดังนี้

“GMM MUSIC มีความเชื่อมั่นว่าการเติบโตที่ยั่งยืนคือหัวใจที่สำคัญที่สุดในการดำเนินธุรกิจในตอนนี้ GMM MUSIC ให้ความสำคัญในคุณค่าของศิลปิน ทีมงาน ทั้งเบื้องหน้า เบื้องหลัง และพนักงานทุกคน ที่จะอยู่ในวิชาชีพที่มีแรงบันดาลใจและต้องการความมั่นคงในธุรกิจ บวกกับความพร้อมที่จะร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นสื่อต่าง ๆ ค่ายนอก, โปรโมเตอร์, แพลตฟอร์ม, คู่ค้าทางธุรกิจ หรือแบรนด์สินค้าต่าง ๆ เพื่อที่จะมุ่งมั่นทำให้อุตสาหกรรมเพลงไทยเติบโตได้อย่างแข็งแรง ต่อเนื่อง ­และยั่งยืน”