GDP โลก จ่อฟื้นตัวแล้ว หลังผลทดสอบวัคซีนโควิด-19วัดประสิทธิภาพได้ 90%

  • เศรษฐกิจจีน -ญี่ปุ่น ขยายตัว การผลิตภาคอุตสาหกรรมฟื้นตัวรวดเร็ว และเดินหน้าต่อได้
  • “ไบเดน”เตือนคนอเมริกัน ระวังการขัดแข้งขัดขาของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ในการถ่ายโอนอำนาจให้แก่รัฐบาลใหม่
  • หลังจากคร่าชีวิตชาวอเมริกันไปแล้ว 2.4 ล้านราย ขณะที่การติดเชื้อไรัสโควิด ยังคงเพิ่มขึ้นเป็นคูณ


.อัพเดทสถานการณ์โควิด-19ล่าสุด
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิดรายงานเมื่อวันที่ 19 พ.ย.63 มีผู้ติดเชื้อท่ัวโลกแล้ว 56,552,797 คน เสียชีวิตสะสมท่ัวโลกอยู่ที่ 1,354,458 คน รักษาหาย 39,346,182 คนส่วนในประเทศไทย มีผู้ติดเชื้อ 3,888 คน เพิ่มขึ้น 8 รายเสียชีวิต 60 ราย รักษาหาย 3,755 ราย

.“ไบเดน”เตือนชาวอเมริกันอาจล้มตายมากขึ้น
นายโจ ไบเดน ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐเปิดเผยหลังเข้าร่วมหารือกับซีอีโอของบริษัทชั้นนำและกลุ่มผู้นำแรง งานสหรัฐว่า อาจจะมีประชาชนล้มตายมากขึ้น หากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ยังคงขัดขวางความพยายามในการโอนถ่ายอำนาจในช่วงเวลาที่การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งนี้ นายไบเดน และนางคามาลา แฮร์ริส ว่าที่รองประธานาธิบดีสหรัฐ ได้จัดการประชุมผ่านวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ร่วมกับผู้บริหารบริษัทใหญ่ ซึ่งรวมถึง นางแมรี บาร์รา ซีอีโอของเจเนอรัล มอเตอร์, นายสัตยา นาเดลลา ซีอีโอไมโครซอฟท์, นายไบรอัน คอร์เนล ซีอีโอทาร์เก็ต คอร์ป และนางซอนญา ซินกัล ซีอีโอแก็ป อิงค์
“ภาคธุรกิจ และกลุ่มผู้นำด้านแรงงานได้ส่งสัญญาณถึงความเต็มใจในการร่วมมือเพื่อคลี่คลายวิกฤตเศรษฐ กิจสหรัฐจากผลกระทบโควิด-19 แต่ก็ย้ำว่า สหรัฐควรควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ให้ได้ก่อนเป็นอันดับแรก โดยให้สภาคองเกรสเร่งผ่านมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจ” ทั้งนี้ ซีอีโอ และผู้นำแรงงานยังได้แสดงความพร้อมที่จะร่วมมือเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งได้รับผลกระทบหนักจากการสูญเสียตำแหน่งงานหลายล้านตำแหน่ง จากการได้คร่าชีวิตชาวอเมริกันไปแล้วกว่า 2.4 ล้านราย

.ผู้นำมาเลย์เรียกร้องผู้นำเอเปคยึดการค้าเสรี
นายมูห์ยิดดิน ยัสซิน นายกรัฐมนตรีมาเลเซียกล่าวเรียกร้องให้สมาชิกกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก หรือเอเปค (APEC) ยึดมั่นเป้าหมายหลักของกลุ่มในด้านการค้าและการลงทุนที่เสรีและเปิดกว้าง ในระหว่างกล่าวสุนทรพจน์เปิดงาน APEC CEO Dialogues Malaysia 2020 นายมูห์ยิดดิน ระบุว่า เป้าหมายหลักคือการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 “ความสำคัญนี้ประกอบด้วย การค้า และการลงทุนที่เสรีและเปิดกว้าง การผนวกรวมกลุ่มเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและทางเทคนิค โดยสิ่งที่จะเดินหน้าพัฒนาต่อไปนั้นจะต้องจัดลำดับความสำคัญเหล่านี้ใหม่ ผ่านการพิจารณาถึงผลกระทบของโควิด-19”

.อินเดียติดเชื้อโควิดทะลุ 8.9 ล้านราย
กระทรวงสาธารณสุขอินเดียเปิดเผยว่า ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา พบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 รายใหม่เพิ่มอีก 45,576 ราย และพบผู้เสียชีวิตจากไวรัสโควิด-19 เพิ่มอีก 585 ราย ส่งผลให้ยอดรวมมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็น 8,958, 483 ราย และยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 131,578 ราย ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาลหลังได้รับการรักษาจนหายดีแล้วอยู่ที่ 8,383,602 ราย
ส่วนผู้ที่ยังคงรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลมีจำนวน 443,303 ราย สภาวิจัยทางการแพทย์แห่งอินเดีย (ICMR) ระบุว่า มีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แก่ประชาชนแล้ว 128,508,389 ครั้ง และเฉพาะวันพุธมีการตรวจหาเชื้อจำนวนมากถึง 1,028,203 ครั้งและพบยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยอินเดียมีผู้ติดเชื้อเป็นอัน ดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐ ซึ่งมีผู้ติดเชื้อ 11.6 ล้านคน


.”สี จิ้นผิง” ให้คำมั่นหนุนระบบการค้าพหุภาคี
ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีนกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุม APEC CEO Dialogues ก่อนที่การประชุมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก(เอเปค)ที่จะจัดขึ้นในวันศุกร์นี้ว่าประชาคมธุรกิจในเอเชีย-แปซิฟิกคงจะร่วมมือกันส่งเสริมการเปิดกว้างและการพัฒนา รวมทั้งหาทางผลักดันการเติบโตโดยใช้นวัตกรรมเป็นแรงขับเคลื่อน นายสี คาดหวังว่า ประเทศเอเชีย-แปซิฟิกจะเป็นหุ้นส่วนกันในความร่วมมือที่จะได้ประโยชน์ทั้ง สองฝ่าย และบรรลุเป้าหมายการมีความรับผิดชอบต่อสังคม ขผระเดียวกัน จีนมีความเชื่อมั่นและมีความสามารถอย่างเต็มเปี่ยมในการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ โดยมั่นใจว่าจะบรรลุเป้าหมายการสร้างสังคมที่เจริญรุ่งเรืองปานกลางในทั่วทุกภาคส่วน และเชื่อว่าจีนจะบรรลุเป้าหมายการขจัดความยากจนในช่วงเวลาที่กำหนดไว้

.“ซูงะ” ชี้ญี่ปุ่นเข้าสู่โหมดเตือนภัยโควิดสูงสุด
นายโยชิฮิเดะ ซูงะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะเตือนภัยขั้นสูงสุด หลังมีรายงานการพบยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ นายซูงะต้องการให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยในร้านอาหารให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และถอดออกเพื่อรับประทานอาหารในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 กรณีดังกล่าวมีขึ้นหลังทางการญี่ปุ่นรายงานการพบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 รายใหม่จำนวน 2,189 รายในวันพุธที่ 18 พ.ย.เพียงวันเดียว ซึ่งเป็นสถิติสูงสุด และเป็นครั้งแรกที่ตัวเลขทะลุ 2,000 รายนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิดขึ้นในญี่ปุ่น
เขายังได้มอบหมายให้นายโนริฮิสะ ทามูระ รัฐมนตรีสาธารณสุขดำเนินมาตรการเพิ่มเติมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด ตามที่ได้หารือกับผู้เชี่ยวชาญเป็นเวลา 2 วันจนถึงวันศุกร์นี้ ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ระบุว่า รัฐ บาลอาจเพิ่มการแจ้งเตือนโควิด-19 สูงสุดถึงระดับ 4 ท่ามกลางยอดผู้ติดเชื้อที่พุ่งขึ้น

.ออสเตรเลียเผยตัวเลขจ้างงานเดือนต.ค.พุ่ง
สำนักงานสถิติแห่งชาติออสเตรเลีย (ABS)รายงานว่า ตัวเลขจ้างงานเดือนต.ค.พุ่งขึ้น 178,800 ตำแหน่ง สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะลดลง 30,00 ตำแหน่ง ส่วนอัตราว่างงานขยับขึ้นแตะระดับ 7% ซึ่งน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่า จะเพิ่มขึ้นแตะ 7.2% เนื่องจากประชาชนเริ่มออกไปหางานทำกันมากขึ้น ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจออสเตรเลีย โดยเมื่อไม่นานมานี้ เนชั่นแนล ออสเตรเลีย แบงก์(NAB)เผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของออสเตรเลียปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 5 ในเดือนต.ค. โดยได้แรงหนุนจากการที่รัฐวิกตอเรียเริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ที่เข้มงวด หลังคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบ 2 ได้แล้วเป็นส่วนใหญ่


.ชี้ผลกระทบโควิดทำศก.สหรัฐเสี่ยงขาลง
นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)เดินหน้าเรียกร้องให้สภาคองเกรสสหรัฐออกมาตรการสนับสนุนด้านการคลังเพิ่มขึ้น ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐกำลังเผชิญกับความท้าทาย อันเนื่องมาจากจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่พุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง นายพาวเวล กล่าวสุนทรพจน์ในพิธีมอบรางวัลเกียรติยศซึ่งจัดขึ้นโดย Bay Area Council Business Hall of Fame ในกลางสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า นโยบายการคลัง ซึ่งรวมถึงการจัดเก็บภาษีและการใช้จ่าย สามารถสนับสนุนรายได้โดยตรงให้กับกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบได้ “จำเป็นอย่างยิ่งที่สภาคองเกรสจะต้องผ่านร่างมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจจากผลกระทบของไวรัสโควิด-19 รอบใหม่โดยเร็ว”
ทั้งนี้ แม้จะมีข่าวความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีน แต่นายพาวเวลมีมุมมองที่ระมัดระวังว่า เศรษฐกิจสหรัฐยังคงมีความเสี่ยงที่จะเผชิญภาวะขาลงอย่างมีนัยสำคัญ เพราะต้องใช้เวลาอีกหลายเดือนกว่าที่จะมีวัคซีนแจกจ่าย ให้กับประชาชน”ข่าววัคซีนถือเป็นข่าวดีก็จริง โดยเฉพาะแนวโน้มในระยะกลาง แต่ในระยะใกล้นี้ยังคงมีความท้าทายและไม่แน่นอนที่สูงมาก” โมเดอร์นา อิงค์ ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพของสหรัฐ แถลงผลการทดลองวัคซีนต้านไว รัสโควิดในเฟสที่ 3 ซึ่งระบุ วัคซีนที่ว่ามีประสิทธิภาพป้องกันไวรัสโควิดมากกว่า 94% โดยโมเดอร์นาได้พัฒนาวัคซีนร่วมกับสถาบันวิจัยโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติของสหรัฐ โดยมีอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการ 30,000 ราย
ทางด้านไฟเซอร ์เปิดเผยว่า ผลการทดลองบ่งชี้ว่าวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ซึ่งไฟเซอร์ และ Bio NTech พัฒนาร่วมกันนั้น มีประสิทธิภาพมากกว่า 90% ในการป้องกันไวรัสโควิด-19 สำหรับผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อมาก่อน

.”โกลด์แมน แซคส์” จ่อโละพนักงานรอบ 2
โกลด์แมน แซคส์เตรียมปรับลดพนักงานเป็นรอบที่ 2 ภายในช่วงเวลาเพียง 3 เดือนหลังจากที่บริษัทได้เริ่มทำการปลดพนักงานไปแล้วราว 400 ตำแหน่งในเดือนก.ย. ทั้งนี้ โกลด์แมน แซคส์ พยายามหาทางลดต้นทุนเพื่อให้บริษัทบรรลุเป้าหมายลดการใช้จ่ายด้านการดำเนินงานลงประมาณ 1,300 ล้านเหรียญภายในช่วง 3 ปีข้างหน้า โดยบริษัทได้ประกาศแผนการดังกล่าวในเดือนม.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปรับปรุงกลยุทธ์ทางธุรกิจในวงกว้าง
อย่างไรก็ดี คาดว่าการปลดพนักงานในรอบที่ 2 นี้ จะมีจำนวนไม่มากไปกว่าครั้งก่อนที่ทางบริษัทได้เริ่มดำเนินการในเดือนก.ย.ที่ผ่านมา
ผู้บริหารของโกลด์แมน แซคส์ คาดการณ์ว่าอาจจะมีการปรับพนักงานเพิ่มอีกจำนวนมากในปีหน้า ซึ่งจะเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ปรับลดพนักงานครั้งใหญ่ที่สุดของโกลด์แมน แซคส์ ความเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นในขณะที่ธนาคารพา ณิชย์ขนาดใหญ่ของสหรัฐ กำลังเผชิญความยากลำบาก เนื่องจากกฎระเบียบใหม่ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้กำหนดให้มีการควบคุมการใช้จ่ายไม่ให้เกินจากผลประกอบการเฉลี่ยในช่วงที่ผ่านมา
โดยเฟดได้กำหนดให้ธนาคารรายใหญ่ของสหรัฐจะต้องกันเงินทุนสำรองไว้ที่ระดับปัจจุบันด้วยการระงับการซื้อหุ้นคืน และจำกัดการจ่ายเงินปันผลในไตรมาส 3/2563 โดยเฟดออกคำสั่งดังกล่าวหลังจากเปิดเผยผลการทดสอบภาวะวิกฤต (Stress Test) ของธนาคารพาณิชย์รายใหญ่ 34 แห่งในสหรัฐเมื่อวันที่ 25 มิ.ย.ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ เฟดยังกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งต้องประเมินความต้องการเงินทุน และจะต้องยื่นแผน การใช้จ่ายทุนในช่วงต่อไปของปีนี้ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติการณ์ของการทดสอบ Stress Test ที่ธนาคารพาณิชย์ของสหรัฐจะต้องยื่นแผนการใช้จ่ายอีกครั้งในปีนี้ และอาจจะยังคงมีการกำหนดข้อจำกัดในการใช้จ่ายของธนาคารต่างๆ ต่อไป


.การใช้จ่ายด้านการเดินทางในสหรัฐทรุดหนัก
สมาคมการเดินทางแห่งสหรัฐคาดว่า การใช้จ่ายด้านการเดินทางในสหรัฐจะลดลงมากกว่า 500,000 ล้านเหรียญในปี 63 และจะยังไม่ฟื้นตัวกลับสู่ระดับก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จนกว่าจะถึงปี 67 โดยสมาคมคาดการณ์ว่า การใช้จ่ายด้านการเดินทางในสหรัฐสำหรับปี 63 จะอยู่ที่ 617,000 ล้านเหรียญ ลดลงจากที่คาด์ในเดือนก.ค.ที่ 622,000 ล้านเหรียญ เมื่อเทียบกับ 1.13 ล้านล้านเหรียญในปี 62
การใช้จ่ายที่ลดลงดังกล่าวสะท้อนถึงการร่วงลงอย่างรุนแรงสำหรับการเดินทางเพื่อธุรกิจ โดยสมาคม ระบุว่า อุตสาห กรรมการเดินทางได้สูญเสียตำแหน่งงาน 3.5 ล้านตำแหน่ง หรือเกือบ 40% และเตือนว่าอาจสูญเสียตำแหน่งงานอีก 1 ล้านตำแหน่ง หากไม่มีมาตรการเยียวยาเพิ่มเติมจากรัฐบาลภายในสิ้นปีนี้
นอกจากนี้ สมาคมคาดการณ์ว่า ผู้เดินทางจากต่างประเทศในปี 63 จะลดลง 75% ซึ่งคิดเป็นมูลค่าการใช้จ่ายที่ลดลง 1.19 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในปัจจุบัน สหรัฐสั่งห้ามการเดินทางของพลเมืองส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่ชาวสหรัฐซึ่งอยู่ในยุโรป จีน บราซิล และประเทศอื่นๆ สมาคมเปิดเผยตัวเลขคาดการณ์ดังกล่าว ขณะที่สหรัฐพบยอดผู้ติดเชื้อรายวันพุ่งสูงแตะระดับสูงเป็นประวัติการณ์ และหลายรัฐกำลังออกคำสั่งใหม่เพื่อจำกัดการทำกิจกรรมในร่ม รวมถึงการห้ามรับประทานอาหารในร้านเป็นการชั่วคราว
นายโรเจอร์ ดาว ประธานสมาคมการเดินทางแห่งสหรัฐกล่าวว่า “ธุรกิจจำนวนมากที่จำเป็นต้องรักษาพนักงานหรือจ้างงานพนักงานใหม่นั้นจะไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ในเดือนม.ค. หากต้องรอจนกว่าสภาคองเกรส ชุดใหม่จะอนุมัติมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม”

.ดอลลาร์จ่อทรุดหนัก 20% ปีหน้า เหตุวัคซีนคืบ
นักวิเคราะห์จากซิตี้กรุ๊ปคาดการณ์ว่า ค่าเงินดอลลาร์มีแนวโน้มทรุดตัวลงมากถึง 20% ในปี 2564 หากวัค ซีนต้านโรคโควิด-19 เริ่มมีการจัดจำหน่ายอย่างแพร่หลาย และช่วยฟื้นฟูการเติบโตของเศรษฐกิจและการค้าโลก โดยสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐถือเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย และนักลงทุนมักจะเทขายดอลลลาร์ เมื่อมีสัญญาณบ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.13% แตะที่ 92.6362 เมื่อคืนนี้ หลังจากบริษัทโมเดอร์นา อิงค์ เปิดเผยผลการทดลองวัคซีนต้านโรคโควิด-19 ในเฟสที่ 3 ว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสโควิด-19 ได้มากกว่า 94% โดยข่าวดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนเทขายดอล ลาร์, เงินเยน และพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งต่างก็เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย
นายเควิน ฉือ นักวิเคราะห์ของซิตี้กรุ๊ปแนะนำให้นักลงทุนหันไปถือครองสกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย และสกุลเงินโครนของนอร์เวย์ เนื่องจากสกุลเงินของทั้งสองประเทศนี้มีความเกี่ยวข้องกับทิศทางราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่ง.เอเปคให้คำมั่นพร้อมร่วมมือส่งเสริมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากผลกระทบโควิด

.GDP ญี่ปุ่นขยายตัว 21.4%ไตรมาส 3
สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในไตรมาส 3/63 ขยายตัวถึง 21.4% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 4 ไตรมาส และทำสถิติขยายตัวแข็งแกร่งที่สุดในรอบกว่า 40 ปี ทั้งนี้ GDP ไตรมาส 3 ของญี่ปุ่นขยายได้ดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะขยายตัวเพียง 18% ซึ่งบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นดีดตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่ง หลังได้รับผลกระทบรุนแรงจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นระบุว่า การอุปโภคบริโภคในภาคเอกชน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่งของระ บบเศรษฐกิจนั้น ปรับตัวขึ้น 4.7% ในไตรมาส 3 ขณะที่ยอดส่งออกขยายตัว 7% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก กำลังฟื้นตัวขึ้นจากผลกระทบของไวรัสโควิด
หลังจากที่รัฐบาลประกาศยกเลิกมาตรการฉุกเฉินเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดในช่วงปลายเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงยก เลิกการเรียกร้องให้ประชาชนอยู่แต่ในบ้าน นอกจากนี้ การประกาศผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในเมืองใหญ่หลายแห่ง ยังเป็นปัจจัยหนุนความต้องการสินค้าญี่ปุ่นในตลาดโลก เช่น รถยนต์
อย่างไรก็ดี การใช้จ่ายด้านทุนยังคงอ่อนแอ โดยปรับตัวลง 3.4% ขณะที่การลงทุนด้านที่อยู่อาศัยของภาคเอกชน ลดลง 7.9% ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มที่ไม่แน่นอน อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่วนยอดนำเข้าลดลง 9.8% โดยยอดสั่งซื้อน้ำมันดิบและก๊าธธรรมชาติเหลวปรับตัวลง ขณะที่ความต้องการสินค้านำเข้าจำพวกหน้ากากอนามัยและแล็ปท็อปจากจีน อยู่ในระดับปานกลาง
ทั้งนี้ ญี่ปุ่นมียอดเกินดุลการค้าในเดือนต.ค.ทั้งสิ้น 872,900 ล้านเยน ซึ่งเป็นการเกินดุลติดต่อกันเดือนที่ 4 โดยตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากระดับ 687,840 ล้านเยนในเดือนก.ย.

.การผลิตภาคอุตสาหกรรมจีนเดือนต.ค.พุ่ง 6.9%
สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS)รายงานว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนต.ค.ของจีน ปรับตัวขึ้น6.9% ซึ่งขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 เนื่องจากเศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็วจากการระบาดของโควิด-19 นอกจากนี้ อุปสงค์ที่ปรับตัวขึ้นทั่วโลกยังเป็นปัจจัยหนุนการผลิตภาคอุตสาหกรรมจีนด้วย ทั้งนี้ การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนต.ค.ของจีนขยายตัวได้ดีกกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะขยายตัว 6.5% เมื่อเทียบรายเดือน การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนต.ค.ของจีนปรับตัวขึ้น 0.78%
ส่วนในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ การผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวขึ้น 1.8% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว เทียบช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ที่มีการขยายตัว 1.2% โดยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเป็นมาตรวัดกิจกรรมของบริ ษัทอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีรายได้ปีต่อปีอย่างน้อย 20 ล้านหยวน (ประมาณ 3 ล้านเหรียญสหรัฐ) ส่วนยอดค้าปลีกเดือนต.ค.ปรับตัวขึ้น 4.3% ซึ่งแม้ว่าน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะปรับตัวขึ้น 4.9% แต่ยอดค้าปลีกเดือนต.ค. ขยายตัวได้ดีกว่าในเดือนก.ย.ซึ่งเพิ่มขึ้นเพียง 3.3%