9 ข้อคิดสำหรับ SMEs ไทยก่อนบุกตลาดจีนในยุคโควิด-19

  • กิจกรรมบ่มเพาะผู้ประกอบการ
  • แบรนด์ไทยสู่ตลาดจีน

สำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับศูนย์สร้างโอกาสธุรกิจไทยสู่จีน Thailand Smart Trade Center หรือ TSTCเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทยที่ต้องการทำการตลาดในจีนโดยเฉพาะเมื่อเกิดสถานการณ์โควิด-19 (COVID-19)ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

1.จีนมีพัฒนาการในการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิดค่อนข้างดี ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโตขึ้นท่ามกลางวิกฤตการณ์โควิด-19 (COVID-19) จนเข้าสู่ปี 2564 ก็ยังดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและไปในทิศทางที่ดีขึ้นต่างจากประเทศอื่นๆ ในโลกคาดว่าเศรษฐกิจจีนจะแซงสหรัฐฯ ภายในปี 2573 ด้วยการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล (Digital Platform)เน้นการพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศ และวางเป้าหมายในการเป็นผู้นำด้านพลังงานสะอาด

2.กลุ่มเป้าหมายของผู้บริโภคที่ควรศึกษา คือกลุ่มที่เติบโตมาจากนโยบายลูกคนเดียวเพราะมีพฤติกรรมซื้อสินค้าออนไลน์เป็นช่องทางหลักและรองลงมาคือกลุ่มผู้สูงอายุที่ค่อนข้างมีกำลังซื้อสูง

3.พฤติกรรมผู้บริโภคชาวจีนมีความหลากหลายทั้งภูมิภาค ความแตกต่างทางวัฒนธรรม เพศ อายุผู้ประกอบการต้องศึกษาให้ดี

4. การจดเครื่องหมายการค้า (Trade Mark) ให้เรียบร้อยก่อนไปบุกตลาดจีนเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันการเสียเปรียบทางธุรกิจ

5.นับตั้งแต่เกิดโควิด-19 ตลาดอี-คอมเมิร์ซในจีนเจริญเติบโตขึ้นมากถึง 37%เพราะการซื้อขายออนไลน์เป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายและสะดวกกว่าออฟไลน์ โดยในแอปพลิเคชั่น Taobao ที่มีผู้ใช้ 874ล้านคนนั้น 60% เป็นผู้ซื้ออายุต่ำกว่า 30 ปี ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับผู้ประกอบการเมื่อต้องทำ Target group

6.ช่วงเทศกาลช้อปปิ้ง 6.18 ซึ่งเป็นเทศกาลออนไลน์กลางปีครั้งยิ่งใหญ่อีกงานหนึ่งของจีนในปีนี้ได้สร้างสถิติสูงสุดมากกว่าปีที่ผ่านมา โดยสินค้าที่ขายดีและมาแรง คือ สินค้าสุขภาพความงามและผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเรื่องสุขภาพ

Asian fashion female blogger online influencer holding shopping bags and lots of clothes on clothes rack for recording new fashion video broadcast live video to social network by internet at home.

7.ควรเลือกใช้เครื่องมือทางการตลาดที่ยังคงทรงพลังท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชั่น เว็บไซต์หรือ โซเชียล มีเดีย เพราะสามารถเจาะตลาดเฉพาะกลุ่มได้

8.โซเชียล แพลตฟอร์มที่กำลังเป็นที่นิยมในจีนคือ Douyin แอปพลิเคชั่นวิดีโอสั้นที่รู้จักกันในชื่อ Tik Tokซึ่งเป็นช่องทางที่ช่วยให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคมากขึ้น หากเจ้าของแบรนด์สร้างสรรค์คอนเท้นต์ที่ทำให้เห็นถึง“ความคุ้มค่าที่จะซื้อ” ได้มากเท่าไรย่อมได้เปรียบ เพราะจากข้อมูลพบว่า 64%ของผู้บริโภคจีนนั้นยินดีที่จะลองสินค้าใหม่

9.WeChat Official Account และช่องทางต่างๆ ในการสื่อสารผู้ประกอบการที่จดทะเบียนในประเทศจีนแล้วสามารถสร้างบัญชีผู้ใช้เองได้หรือจะให้บริษัทที่เชี่ยวชาญในด้านนี้มาดูแลให้ก็ได้ เพราะจะต้องหมั่นสร้างคอนเทนต์และบริหารงานแอคเค้าท์ให้มีการเติบโต เพิ่มจำนวนผู้ติดตามเพื่อสร้างยอดขายให้สูงเพิ่มขึ้นได้ต่อไป

สำหรับกิจกรรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบการไทยที่มีประสบการณ์การทำตลาดในจีนร่วมให้ความรู้มากมาย อาทิ นายยงค์กิจ ธรรมพัฒนาภรณ์ กรรมการบริหาร ศูนย์สร้างโอกาส ธุรกิจไทยสู่จีน, นายศิวัสน์ เหลืองสมบูรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, นางสาวณัฐชานันท์ พาณิชย์วโรชา เจ้าของแบรนด์ PASJEL, นายสุวัฒน์ รักทองสุข ผู้บริหาร บริษัท เลิศ โกลบอล กรุ๊ป จำกัด, นายกิตติพนธ์ นามพิชญ์ธนสิน ซีอีโอ บริษัท คิสออฟบิวตี้ จำกัด และผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ได้แก่ Ms. Lea Zhang ผู้จัดการอาวุโส ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Tmall Global, Mr. Jet Zhou ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ Dermatosis Cultural Tourism และ Ms. Summer Deng ผู้บริหาร Guangzhou

#TheJournalistClub #โควิด19 #วัคซีนโควิด #ล็อกดาวน์