7 วิธีแก้ปัญหาหนักอก ลด “ความเครียด สะสม” บั่นทอนสุขภาพกายใจ

เชื่อว่าสักครั้งหนึ่งในชีวิต ทุกคนคงมีสถานการณ์ที่ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาร้ายแรงทำให้คิดไม่ตก เกิดความเครียดสะสมจนกินไม่ได้ นอนไม่หลับ

โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่แค่ปัญหาการเงิน การงาน ปัญหาครอบครัว หลายคนก็แทบไม่ไหวแล้ว วันนี้ยังต้องเจอกับเศรษฐกิจยังย่ำแย่ แถมมีปัญหาฝุ่น PM2.5 เข้ามากระทบ ล่าสุดต้องหวาดหวั่นกับการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

หากต้องใช้ชีวิตอยู่ในภาวะแบบนี้นานๆ ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการ “เครียดสะสม” มากขึ้น ๆ ซึ่งจะเป็นต้นเหตุของโรคทั้งทางกาย และทางจิต ตั้งแต่อาการใจสั่น อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ โรคกระเพาะ ไปจนถึงโรคร้ายแรง เช่น เส้นเลือดในสมองแตก โรคมะเร็ง ไม่เว้นแม้แต่ โรคซึมเศร้า

แต่หากเรามีปัญหาที่แก้ไม่ได้ เราจะหาวิธีรับมือไม่ให้เครียดมากเกินไปได้อย่างไร เรามี 7 วิธีมาฝาก

วิธีที่ 1 คิดบวก

อย่าปล่อยให้ความเครียดหรือความวิตกกังวลครอบงำคุณมาก หรือนานเกินไป เรียกความเชื่อมั่นกลับมาให้ได้ ด้วยการ “คิดบวก” หาข้อดี หรือข้อบวกจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และเชื่อมั่นว่าเราจะผ่านพ้นปัญหาไปได้ จจะช้าหรือเร็วไม่สำคัญ แต่เมื่อมีความเชื่อมั่นว่า ทุกปัญหาจะมีทางออก มีข้อดี ก็จะช่วยให้เรามีกำลังใจที่จะสู้ต่อแล้ว

วิธีที่ 2 แก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน

ไม่ว่าจะเกิดสถานการณ์ที่สร้างความเครียด หรือความไม่สบายใจอย่างไร ลองค่อยๆ มองปัญหาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ตั้งแต่เหตุของปัญหา แต่ต้องมองแบบเป็นกลางอย่าเข้าข้างตัวเอง หลังจากนั้นวางแผนแก้ไขแบบเป็นขั้นตอน แก้ไขไปทีละขั้นละเปลาะ อย่าลน ให้กำลังใจตัวเองบ่อย และหากเราสามารถแก้ไขปัญหาได้สำเร็จสักครั้ง แม้จะเป็นส่วนเล็กๆ ของปัญหาใหญ่ แต่ก็จะทำให้เกิดความมั่นใจเพิ่มขึ้นว่าเราจะแก้ปัญหาทั้งหมดได้ในที่สุด

วิธีที่ 3 อย่างเก็บความเครียด-ปัญหาไว้คนเดียว

หากสิ่งที่เผชิญหน้าอยู่มันใหญ่ พยายามแก้ปัญหาอย่างไรก็ไม่สำเร็จ อย่าเก็บปัญหาไว้คนเดียว แต่เราอาจจะต้องใช้ตัวช่วย ใช้ความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง ได้แก่ เพื่อนสนิท หรือญาติผู้ใหญ่ เพื่อช่วยมองปัญหา ให้คำปรึกษาหรือคำแนะนำ ที่อาจจะทำให้เรื่องใหญ่กลายเป็นเรื่องเล็ก หรือถึงจะช่วยไ่ม่ได้ แค่เพียงะเราได้ระบายมันออกมา ปัญหาใหญ่ในใจก็จะเบาลง

วิธีที่ 4 อยากหมกหมุ่นคิดซ้ำไปซ้ำมา

หลายคนเมื่อเกิดปัญหา จะย้ำคิด …ย้ำไปย้ำมาอยู่แต่กับปัญหาที่ยังไม่สามารถหาทางแก้ไขได้ ทำให้เกิดความเครียดเพิ่มขึ้นๆ และทำให้สูญเสียความสามารถในการ “คิดหาทางออก” ไปโดยไม่รู้ตัว พยายามออกจากปัญหานั้น และใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ เปลี่ยนสถานที่ เปลี่ยนกิจกรรมประจำดูบ้าง ทำกิจกรรมที่ชอบดูหนัง ฟังเพลง กินอาหารให้ครบ 5 หมู่

บางทีชั่วครู่หนึ่งที่เราออกจากปัญหา เราอาจจะเจอวิธีแก้ปัญหาโดยไ่ม่รู้ตัว!

วิธีที่ 5 แค่หลับตา

ลองหยุดพักจากความวุ่นวาย ทั้งในที่ทำงาน หรือเรื่องส่วนตัวที่ยุ่งเหยิง ไม่ลงตัว ด้วยการหลับตาสักพัก เพราะการหลับตาชั่ววครู่จะช่วยลดความสับสน และทำให้ใจเย็นลงได้ระดับหนึ่งทีเดียว และถ้ามีโอกาส และเวลางีบสักหน่อยก็ยิ่งดี เพราะ การเอนหัวลงบนหมอนแล้วงีบหลับสักครู่ การนอนหลับจะช่วยซึมซับความกังวลออกไประดับหนึ่ง หรือถ้าหลับไม่ง คงแต่

วิธีที่ 6 ทำบุญ-แผ่เมตตา-ทำสมาธิ

หากรู้สึกเครียดและต้องการผ่อนคลาย การทำสมาธิก็เป็นวิธีการผ่อนคลายที่ดีวิธีหนึ่ง ซึ่งช่วยลดความเครียดและภาวะซึมเศร้าได้ ลองหลบไปที่เงียบ ๆ แล้วเริ่มทำสมาธิ กำหนดลมหายใจ โดยเพ่งจิตไปที่ลมหายใจ แล้วหายใจเข้าออกช้า ๆ การหายใจลึก ๆ ช่วยทำให้ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจลดลง การกำหนดลมหายใจนั้นเป็นการบรรเทาความวิตกกังวล ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับการรักษาด้วยการฝังเข็ม และช่วยสร้างสมดุลให้กับร่างกายและจิตใจได้ด้วย

นอกจากนั้น การทำบุญ แผ่เมตตา ยังช่วยสร้างความสบายใจ ลดความเครียดแบบคนพุทธ คนไทยได้อีกทางหนึ่ง

วิธีที่ 7 ออกกำลังกาย ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

เมื่อเรารู้สึกวิตกกังวล กล้ามเนื้อบางส่วนก็จะหดเกร็ง การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ บีบนวดจะช่วยให้กล้ามเนื้อส่วนที่หดเกร็งนั้นผ่อนคลายลง ซึ่งจะช่วยลดความเครียดได้ ขณะที่การออกกำลังกาย ได้เสียเหงื่อ จะช่วยหลั่งสารความสุข ลดความเครียด และช่วยให้สุขภาพแข็งแรงได้อีกทางหนึ่ง