6 เทคนิคใช้ชีวิตแบบสบายๆ แต่ห่างไกล “โรคมะเร็ง”

6 เทคนิคใช้ชีวิตแบบสบายๆ แต่ห่างไกล “โรคมะเร็ง”

“โรคมะเร็ง” ถือเป็นโรคอันดับต้นๆ ที่คุกคามต่อชีวิตของคนไทย และคนทั่วโลก และนับวัน อัตราการเกิดโรคมะเร็งจะคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี และพบในคนทีอายุน้อยลงเรื่อยๆ ด้วยเช่นกัน

ส่วนหนึ่ง “โรคมะเร็ง“ อาจจะเป็นโรคที่เกิดขึ้นจาก “พันธุกรรม” แต่ส่วนใหญ่ ทางการแพทย์ระบุวา เกิดขึ้นจากพฤติกรรมในการใช้ชีวิตกินอยู่ ทำงานของ แต่ละบุคคลมากกว่า

แล้วเราจะใช้ชีวิตกันอย่างไร ถึงจะลดวามเสี่ยงหรือปลอดภัยจากโรคมะเร็ง นำ 6 เทคนิคใช้ชีวิตแบบสบายๆ แต่ห่างไกล “โรคมะเร็ง “มากฝากกัน

ข้อที่ 1.หมั่นออกกำลังกาย

จากผลการวิจัยจำนวนมาก พบว่า มะเร็งมีความสัมพันธ์กับการออกกำลังกาย  โดยหากคุณ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ๆ ละ 30 นาที จะสามารถลดการเกิดโรคมะเร็งและโรคหัวใจได้ในอัตราที่สูงมาก   

ที่สำคัญ การออกกำลังกายที่เหมาะสม จะช่วยลดภาวะโรคอ้วน และความเครียด เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งได้ เพราะในช่่วงเวลาที่เราออกกำลังกาย เราจะรู้สึกมีเป้าหมาย ผ่อนคลาย ลดความวิตกกังวลไปได้มาก และยังช่วยเผาผลาญแคลลอรี่ส่วนเกินอีกด้วย

ข้อที่ 2. ทำจิตแจ่มใส

อย่างที่เล่าไว้ในข้อแรกว่า “ความเครียด” เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายต่ำลงและส่งเสริมการเกิดโรคมะเร็งได้  ดังนั้น การทำจิตใจให้แจ่มใส จะช่วยจัดการความเครียดที่เกิดขึ้นได้ และยังจะส่งเสริมภูมิต้านทานทั้งทางร่างกายและจิตใจให้ดีขึ้ด้วย เพราะ “ร่างกายที่แข็งแรงต้องมาจากจิตใจที่เข้มแข็ง”

แต่ละคน แต่ละสไตล์ ก็แล้วแต่ว่าใครจะมีวิธีทำให้หัวใจตัวเองแจ่มใสแบบไหน จะดูหลัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ ท่องเที่ยว หรือจะอิงวัดวา สายบุญหนุนนำศาสนา และที่สำคัญที่สุด ในช่วงภาวะเศรษฐกิจที่แย่แบบวันนี้ การเดินทางสายกลางไม่ฟุ้งเฟ้อ ใช้ชีวิตยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง อาจจะเป็นอีกทางเลือกที่จะช่วยให้คุณไม่ต้องเครียดเรื่องเงินๆทองๆ

ข้อที่ 3 งดบุหรี่-เหล้าทำร้าย

บุหรี่เป็นสาเหตุของมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งปอด มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งไต และมะเร็งปากมดลูก นอกจากนี้ยังทำให้เกิดโรคอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง เพราะควันของบุหรี่ มีสารน้ำมันทาร์และสารเคมีมากกว่า 4,000 ชนิด ซึ่งในจำนวนนี้มากกว่า 60 ชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง

เช่นเดียวกับการดื่มสุรา ที่จะสร้่างความเสี่ยงกระตุ้นการเกิดมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งหลอดอาหาร ผู้ที่ดื่มสุรามากกว่า 3 แก้วขึ้นไป หรือผู้ที่ดิ่มเบียร์มากกว่า 1 ขวดเล็ก จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเป็น 9 เท่าของผู้ที่ไม่ดื่ม

ข้อที่ 4 กินอาหารหลากหลาย

ผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็งมากกว่า 1 ใน 3 ส่วนใหญ่พบว่า จะมีพฤติกรรมในการทานอาหารที่มีพลังงานสูงและไขมันสูงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งอาหารแปรรูป อาหารหรือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารหมักดอง ไส้กรอก ลูกชิ้น  เนื้อสัตว์ตากแห้ง หรือรมควัน เป็นประจำ รวมทั้งนิยมอาหารประเภทปิ้งย่าง ทอด มากเป็นพิเศษ  

ดังนั้น ควรกินอาหารให้หลากหลาย ให้ครบ 5 หมู่  ไม่กินอาหารประเภทเดียวกันซ้ำๆ ทุกวัน รวมทั้ง เปลี่ยนวิธีการปรุงอาหาร เป็นต้ม นึ่ง ตุ๋น หรือผัดบ้างสลับกันไป นอกจากนั้น ควรพยายามหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป  หรืออาหารที่มีสารก่อมะเร็งทั้งหลายให้มากขึ้น

ข้อที่ 5 เพิ่มผักผลไม้

ผักผลไม้นอกจากจะมีสารต้านมะเร็ง ได้แก่ แอนติออกซิแดนซ์ (Antioxidant) ได้แก่ วิตามินเอ ซี อี สารเบตาแคโรทีน สารไลโคปีน สารไอโซฟลาโวนอยด์ หรือเรียกรวม ๆ ว่า Dietary Cancer Chemo Preventive Agents และยังมีเส้นใยอาหาร (Fiber) ที่เพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับเยื่อบุผิวลำไส้ใหญ่ ซึ่งทั้งหมดลดการเกิดโรคมะเร็งได้

โดยการวิจัย พบพบสารต้านมะเร็งในผักผลไม้หลากหลายสี จึงควรทานผักผลไม้ที่หลากหลายสลับกันไป โดยหากเป็นไปได้ให้เพิ่มผักผลไม้ให้ได้ครึ่งหนึ่งของปริมาณอาหารในแต่ละมื้อ หรือประมาณ 500 กรัมต่อวัน

ข้อที่ 6 ตรวจร่างกายทุกปี

การตรวจร่างกาย ทำให้รู้ว่าท่านอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งชนิดใด หรือโรคร้ายแรงอื่นๆ หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่อายุ 35 ปีขึ้นไป ควรตรวจร่างกายอย่างน้อยที่สุดปีะละครั้ง เพราะพบว่าเป็นมะเร็ง หรือโรคร้ายแรงอื่น การพบในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาได้ดีกว่าพบเมื่อโรคลุกลามไปแล้ว