10 คำถามยอดฮิต พิชิตไวรัสโควิด-19

1.เชื้อโรคโควิด-19 ติดต่อกันได้อย่างไร

ติดต่อผ่านละอองฝอยจากการไอ จาม หรือสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ รวมทั้งการสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งแล้วมาสัมผัสตา จมูก ปากของเรา ดังนั้น หากสัมผัสโดนตัว หรือ เดินสวนกัน ถ้าไม่ได้รับละอองฝอยจากการไอ จามหรือสัมผัสสารคัดหลั่งผู้ป่วย แล้วเอามือที่สัมผัสเชื้อนั้นมาหยิบของกินเข้าปาก ขยี้ตา แคะจมูก ก็จะไม่ติดเชื้อ

2.อาการเป็นอย่างไร หวั่นใจติดเชื้อโควิด-19 

ในคนที่แข็งแรง หากรับเชื้อมาแล้วอาจไม่แสดงอาการทันที โดยมีระยะฟักตัวประมาณ 14 วัน ทำให้คนที่อยู่มีประวัติอยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรกักตัวเองที่บ้านเพื่อรอดูอาการ 14 งัน  แต่หากเป็นคนสูงวัย คนที่มีโรคประจำตัว อาจจมีอาการเมื่อได้รับเชื่อทันที โดยจะมีไข้สูงกว่า 37.5 องศา ไอรุนแรงต่อเนื่อง เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เหนื่อยหอบ หายใจเร็วและอาการท้องเสียร่วมด้วย

3.เชื้อโรคโควิด-19 มีชีวิตอยู่ในที่ต่างๆ ได้นานแค่ไหน

จากการศึกษา พบว่า ไวรัวนี้ อาจจะสามารถมีชีวิตอยู่บนพื้นผิวโลหะ แก้ว หรือพลาสติก ได้นานถึง 9 วัน อยู่บนพื้นผิวกระดาษได้นาน 5 วัน โดยดำรงชีวิตได้ดีในอุณหภูมิต่ำ โดยคาดว่าสามารถอยู่ในอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส ได้อย่างน้อย 28 วัน แต่หาก 30 องศาเซลเซียส ขึ้นไป จะมีชีวิตอยู่ได้น้อยลง

4.เชื้อโรคโควิด-19 กลัวอะไร

 เชื้อไวรัสจะตายได้ในความร้อนที่สูงกว่า 70 องศาเซลเซียส กินร้อนจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ ขณะที่ช้อนกลางทำให้ไม่รับเชื้อจากบุคคลอื่น ส่วนการล้างมือจำเป็นมากที่สุด โดยการใช้แอลกอฮอล์ หรือแอลกอฮอล์เจล ความเข้มข้น 70-90% (โดยปริมาตรน้ำขณะที่ สารลดแรงตึงผิวต่าง  เช่น สบู่ ผงซักฟอก จะช่วยทำลายไวรัสได้ การล้างมือบ่อยๆ จึงช่วยลดการติดเชื้อได้

5.พฤติกรรมที่ทำให้เสี่ยงติดเชื้อโรค มีอะไรบ้าง

การอยู่ใกล้ชิดคนป่วย หรือเดินทางไปยังประเทศที่มีการแพร่ระบาด รวมทั้ง พฤติกรรมที่ชอบนำมือมาสัมผัสใบหน้าขยี้ตา แคะจมูก แคะหู ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น ไม่ล้างมือก่อนหยิบจับอาหารมารับประทาน รวมทั้ง อยู่ในบริเวณที่มีคนจำนวนมาก

6.ทุกคนต้องใส่หน้ากากอนามัยหรือไม่

การใส่หน้ากากอนามัยจะช่วยป้องกันละอองฝอยที่ออกมากับลมหายใจและน้ำลาย จึงแนะนำให้ผู้ป่วยใส่หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่คนอื่นๆ  ขณะที่ผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย หรือผู้ที่ต้องเข้าพื้นที่ชุมชนที่แออัดมาก ใส่หน้ากากอนามัยทางการแพทย์เช่นกัน  ส่วนคนที่ร่างกายแข็งแรงอาจเลือกใส่หน้ากากแบบผ้าแทนได้

7.หน้ากากอนามัย สามารถใช้ซ้ำได้หรือไม่

หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ ปกติควรใส่วันเดียวทิ้ง แต่หากไม่ได้ป่วย และหน้ากากยังอยู่ในสภาพดี อาจใส่ซ้ำได้อีกวัน ส่วนหน้ากากผ้าสามารถซักแล้วใช้ซ้ำได้ โดยซักด้วยน้ำสบู่ ผงซักฟอก หรือแช่น้ำยากฆ่าเชื้อก่อนซัก ขณะที่หน้ากากอนามัยแบบทิชชู ยังไม่มีการในมาตรฐานทางการแพทย์ว่า ป้องกันโรคต่าง  ได้

8.ธนบัตร หรือเหรียญ มีโอกาสแพร่เชื้อได้หรือไม่

ธนบัตรถือเป็นกระดาษ ในขณะที่เหรียญมีพื้นผิวสัมผัส ดังนั้น มีโอกาสที่เชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถที่เกาะติดอยู่ได้เช่นเดียวกับ พื้นผิวอื่น เช่น ลูกบิดประตู ที่กดลิฟท์ แป้นกดเอทีเอ็ม โทรศัพท์ หรือแป้นกดสาธารณะอื่นๆ ดังนั้น หากสัมผัสสิ่งเหล่านี้ อย่านำมือมาสัมผัสตา จมูก ปาก และให้ล้างมือเมื่อทำได้

9.หมา แมว สัตว์เลี้ยงอื่นๆ แพร่เชื้อให้เราได้ไหม

กรณีสื่อรายงานการตรวจพบเชื้อโคโรนาไวรัส ในสุนัขสายพันธุ์ปอมเมอเรเนียน ในฮ่องกง หลังจากที่เจ้าของป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยล่าสุดวันที่ 4 มี..2563 ทางการฮ่องกงยืนยันว่าสุนัขตัวดังกล่าว ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (SARS-CoV-2) จริง แต่เป็นการติดเชื้อในระดับต่ำ มีแนวโน้มเป็นการติดเชื้อจากมนุษย์สู่สัตว์ 

อย่างไรก็ตาม กรมปศุสัตว์ ระบุว่า จากข้อมูลในปัจจุบัน ยังไม่มีหลักฐานและรายงานว่าสัตว์เลี้ยงสามารถเป็นแหล่งแพร่เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สู่คนได้ ดังนั้น ผู้เลี้ยงสัตว์จึงไม่ควรกังวล

10.หากสงสัยว่า ตัวเองติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ควรทำอย่างไร

หากมีประวัติเดินทางไปประเทศกลุ่มเสี่ยง หรือใกล้ชิดกับบุคคลกลุ่มเสี่ยง แล้วมีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ ให้สวมหน้ากากอนามัยไว้ตลอดเวลา แล้วโทร. 1422 ถ้าเข้าเกณฑ์จะมีรถพยาบาลมารับถึงที่พักทั้งนี้ หากพบแพทย์โดยเร็วมีโอกาสหายมากกว่า 90% โดยขณะนี้พบผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณ 2-3% เท่านั้น