ไปรษณีย์ไทย แจงติดพัดลม 30 ตัว ณ ไปรษณีย์คูคต เหตุผู้รับจ้างคำนวณผิดพลาด

  • “สมร” ชี้แจงติดพัดลม30 ตัวณที่ทำการไปรษณีย์คูตเหตุคำนวณผิดพลาด
  • ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงแล้ว
  • ตู้ไปรษณีย์ยักษ์ 7.1 ล้าน หน้าสำนักงานถนนแจ้งวัฒนะ เพื่อเป็นแลนด์มาร์ค

นางสมรเทิด ธรรมพิบูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท.) กล่าวชี้กรณีการติดตั้งพัดลมจำนวน30 ตัวณไปรษณีย์คูคต ว่า เนื่องจากปณทได้ปรับปรุงไปรษณีย์คูคตเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้บริการให้ลูกค้าพร้อมปรับปรุงพื้นที่ปฏิบัติงานให้รองรับกับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นซึ่งการติดตั้งพัดลมดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ห้องปิดเมล์ขนาด60 ตารางเมตรสภาพแวดล้อมโดยรอบมีตึกขนาบข้างมีปัญหาระบายอากาศทำให้อากาศร้อนอบอ้าวนั้น ผู้รับจ้างคำนวณการใช้งานพัดลมระบายอากาศผิดพลาดจึงทำให้ติดตั้งพัดลมมากถึง 30 ตัวแต่ขณะนี้ได้ปรับลดลงแล้วเหลือ12 ตัวแล้ว

“ไปรษณีย์ไทยไม่ได้นิ่งนอนใจและได้สั่งการให้ตั้งกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วตั้งแต่วันที่26 มิ.ย. 2562ที่ผ่านมา”

สมร เทิดธรรมพิบูล

ส่วนเรื่องตู้ไปรษณีย์ขนาดใหญ่เป็นตู้ไปรษณีย์จำลองออกแบบก่อสร้างให้มีลักษณะและรูปแบบเหมือนกับตู้ไปรษณีย์ทรงกลมรุ่นปีพ.ศ.2454 ตั้งอยู่ริมบริเวณทางเข้าสำนักงานถนนแจ้งวัฒนะ  เพื่อให้เป็นแลนด์มาร์คและจุดสังเกตของบุคคลทั่วไปที่จะมาติดต่อตลอดจนแสดงถึงที่ตั้งของสำนักงานใหญ่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์สร้างการรับรู้และจดจำซึ่งในพื้นที่อื่นๆก็ได้มีการสร้างตู้ไปรษณีย์จำลองเพื่อเป็นจุดแลนด์มาร์คสำคัญของแหล่งท่องเที่ยวเช่นตู้ไปรษณีย์จำลองขนาดใหญ่ในอำเภอเบตงจังหวัดยะลาและตู้ไปรษณีย์แลนด์มาร์คณอำเภอสวนผึ้งจังหวัดราชบุรี

สำหรับตู้ไปรษณีย์จำลองขนาดใหญ่พิเศษนี้มีความสูง14.40 เมตรฐานโดยรอบกว้าง8 เมตรเส้นผ่านศูนย์กลาง4 เมตรภายในมีพื้นที่เทียบเท่าอาคาร4 ชั้นซึ่งบริษัทผู้รับจ้างเสนองบประมาณ7.1ล้านบาทเพราะต้องก่อสร้างให้โครงสร้างมีความมั่นคงแข็งแรงจึงมีค่าใช้จ่ายประกอบด้วยงานโครงสร้างงานสถาปัตยกรรม งานบันไดเหล็กงานตกแต่งงานระบบไฟฟ้างานระบบระบายอากาศภายในงานระบบป้องกันฟ้าผ่าซึ่งฐานอาคารประกอบขึ้นจากหินแกรนิตสีดำที่จำเป็นต้องหล่อให้เป็นทรงกลมขณะที่สีแดงของตู้ไปรษณีย์ฯทำขึ้นจากอลูมิเนียมคอมโพสิตเคลือบสีซึ่งมีความทนทานต่อสภาพอากาศทุกประเภทส่วนครุฑแตรงอนบนตู้ไปรษณีย์หล่อขึ้นจากทองเหลืองอีกทั้งภายในจะมีการจัดแสดงเส้นทางกิจการไปรษณีย์ไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่5 จนถึงปัจจุบันและจะเปิดให้บุคคลทั่วไปมาชมได้ด้วย