‘ไทย-ลาว’ เซ็นเอ็มโอยูแลกเปลี่ยนด้านกีฬา 2 ประเทศ-ข้อตกลงพัฒนา 7 ข้อ

  • พัฒนาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และยา
  • ต่อต้านการใช้สารต้องห้าม
  • แบ่งปันความก้าวหน้าด้านเวชศาสตร์การกีฬา

คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ ได้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจด้วยความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนด้านการกีฬา (เอ็มโอยู) ระหว่างทั้งสองประเทศโดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ และท่านแสงเดือน หล้าจันทะบูน อดีตรัฐมนตรีศึกษาและกีฬาลาว ในฐานะคณะกรรมการโอลิมปิกแห่ง สปป.ลาว ร่วมในพิธี

สำหรับการร่วมมือกันดังกล่าวเกิดจากการประสานงานของ คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ไอโอซีเมมเบอร์หญิงชาวไทย ที่มุ่งหวังให้พี่น้องพรมแดนติดกันทั้งสองประเทศได้ร่วมมือกันพัฒนาด้านกีฬาและวัฒนธรรมให้แนบแน่นยิ่งขึ้นไปอีก

การลงนามบันทึกความความเข้าใจระหว่างสองประเทศครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนผู้ฝึกสอนและผู้เชี่ยวชาญ พัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และยาในการกีฬา รวมทั้งการต่อต้านการใช้สารต้องห้าม ตลอดจนการจัดแข่งขันกีฬา และด้านอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน

เอ็มโอยู ระหว่าง โอลิมปิคไทย และ โอลิมปิกลาว ฉบับนี้ มีข้อตกลง 7 ข้อ สรุปดังนี้

1.จุดประสงค์ : เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ด้านกีฬาระหว่างทั้งสองประเทศ

2.ข้อมูลและการแลกเปลี่ยน : ทั้งสองฝ่ายยินดีจะแลกเปลี่ยนข้อมูล และความเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ, การฝึกซ้อมและปัญหาในการจัดการแข่งขันเช่นเดียวกับปัญหาอื่นๆ ที่เดี่ยวกับกีฬา

3.ขอบเขตของการดำเนินการ และการพัฒนา : ทั้งสองฝ่ายจะทุ่มเทเพื่อยกระดับทางการกีฬาของประเทศตนเอง ผ่านการดำเนินการด้านการพัฒณา ดังนี้ 1. การสร้างโปรแกรม 2. การยกระดับโค้ช และผู้เชี่ยวชาญ 3. การสร้างความร่วมมือด้านการจัดการด้านกีฬา 4. การฝึกซ้อมนักกีฬา 5. การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านกีฬา 6. แบ่งปันความก้าวหน้าด้านเวชศาสตร์การกีฬา 7. การปฏิบัติตามกฏบัติโอลิมปิกด้วยการยับยั้งการกำหนดผลการแข่งขัน

4.ที่ปรึกษาด้านเทคนิคและโปรแกรมอบรมผู้ฝึกสอน : โอลิมปิคไทย จะพิจารณาส่งโค้ชและผู้เชี่ยวชาญไปเป็นที่ปรึกษาด้านเทคนิค และผู้ฝึกสอนให้กับโอลิมปิกลาว

  1. ค่าใช้จ่าย : เงื่อนไขในการมีส่วนร่วมและเงื่อนไขทางด้านการเงินทุกกรณีจะมีการพิจารณาร่วมกันระหว่างทั้งสองฝ่ายก่อนหน้าจะมีการดำเนินการใดๆ ทุกครั้ง

6.ระยะเวลาของข้อตกลง : เอ็มโอยู ฉบับนี้จะมีอายุ 4 ปี โดยะจะถูกขยายออกไปแบบอัตโนมัติเป็นเวลา 1 ปี หากไม่มีฝ่ายใดแสดงความจำนงที่จะยกเลิกข้อตกลงภายในเวลา 90 วันก่อน เอ็มโอยู จะหมดอายุ

7.การให้คำปรึกษา และการแก้ปัญหา : ในกรณีที่มีความจำเป็นทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะหารือกันในประเด็นที่ไม่ได้ระบุเอาไว้ใน เอ็มโอยู ฉบับนี้ เพื่อหาทางออกร่วมกันฉันท์มิตร

ไทย และลาวคือ มิตรประเทศ มีความสัมพันธ์อันดีต่อกันมาอย่างยาวนาน ทั้งในแง่ของการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และวัฒนธรรม รวมทั้งความสัมพันธ์ระดับรากหญ้าของประชาชนสองริมฝั่งโขง ที่ไเดินทางปมาหาสู่กันมาตั้งแต่โบราณกาล

ฉะนั้น เอ็มโอยู ด้านการกีฬาฉบับนี้ จึงเป็นอีกมิติสำคัญที่ตอกย้ำของทั้งสองฝ่ายที่จะให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อร่วมกันพัฒนาศักยภาพทางด้านของนักกีฬาไปสู่ประสบความสำเร็จตามที่หวังไว้อย่างแท้