ไทยแชมป์โลกส่งออกขนมขบเคี้ยวจากข้าว

  • เหตุประเทศคู่เอฟทีเอลดภาษีนำเข้าให้แล้ว
  • ทำสินค้าไทยมีแต้มต่อด้านราคาเหนือคู่แข่ง
  • แนะผู้ประกอบการใช้ประโยชน์เอฟทีเอส่งออก

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ไทยเป็นผู้ส่งออกขนมขบเคี้ยวจากแป้งข้าว เช่น ขนมปังกรอบ และบิสกิต อันดับ 1 ของโลก ส่วนอันดับ 2 และ 3 คือ เยอรมนี และสวีเดน เนื่องจากผู้บริโภคหันมาสนใจสินค้าที่ทำจากวัตถุดิบธรรมชาติมากขึ้น ประกอบกับ หลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศคู่ความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอของไทยลด และเลิกภาษีนำเข้าสินค้าดังกล่าวจากไทย จึงทำให้นำเข้าเพิ่มขึ้น ซึ่งสร้างรายได้เข้าประเทศปีละจำนวนมาก ที่สำคัญ สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เพราะสินค้าดังกล่าว เป็นสินค้าเกษตรแปรรูปสำคัญของไทย ที่นำข้าวมาพัฒนาต่อยอดและสอดแทรกนวัตกรรม จึงสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และสร้างรายได้ให้เกษตรกร

สำหรับในช่วง 4 เดือน (..-เม..) ปี 63 ไทยส่งออกสินค้าขนมขบเคี้ยวจากแป้งข้าวกว่า 13,000 ตัน มูลค่า 41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นถึง 9% จากช่วงเดียวกันของปี 62 ส่วนในปี 62 ส่งออกได้กว่า 42,000 ตัน มูลค่ากว่า 129 ล้านเหรียญฯ โดยมีประเทศที่ไทยมีความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอด้วยเป็นตลาดส่งออกสำคัญ โดยเฉพาะอาเซียน มีมูลค่าส่งออกในช่วง 4 เดือนปี 63 ถึง 13 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้น 8% มีฟิลิปปินส์ และ ลาว เป็นตลาดส่งออกหลัก รองลงมา คือ ออสเตรเลีย มูลค่า 4 ล้านเหรียญฯ เพิ่ม  24%, ญี่ปุ่น 3 ล้านเหรียญฯ เพิ่ม 29%  และนิวซีแลนด์ 1.5 ล้านเหรียญฯ เพิ่ม 103%

ทั้งนี้ นับตั้งแต่เอฟทีเอแต่ละฉบับมีผลใช้บังคับเมื่อเทียบกับปี 62 มูลค่าการส่งออกขนมขบเคี้ยวจากแป้งข้าวไปยังประเทศคู่เอฟทีเอเพิ่มขึ้นมาก เช่น ส่งออกไปอาเซียน เพิ่มขึ้นถึง 2,727%, จีน เพิ่ม 1,633%, ออสเตรเลีย เพิ่ม 124%, นิวซีแลนด์ เพิ่ม 332%, เกาหลีใต้ เพิ่ม 80% เป็นต้น โดยเอฟทีเอส่งผลให้สินค้าขนมขบเคี้ยวจากแป้งข้าวของไทยมีแต้มต่อด้านราคา เพราะไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า ซึ่งคู่เอฟทีเอของไทย 17 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน 9 ประเทศ จีนเกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย ฮ่องกง ชิลี และเปรู ไม่เก็บภาษีนำเข้าจากไทยแล้ว เหลือเพียง๊ ที่คงภาษีนำเข้า 0.6% แต่จะลดเหลือ 0% ในเดือนพ..65  

ขนมขบเคี้ยวจากแป้งข้าวของไทยเป็นที่ยอมรับจากตลาดต่างประเทศ ทั้งในด้านคุณภาพ และรสชาติ ผู้ประกอบการจึงควรให้ความสำคัญกับคุณภาพมาตรฐานด้านสุขอนามัย รวมถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย ทั้งรสชาติและบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม แข็งแรง พกพาสะดวก รวมทั้งติดตามแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภค เช่น คุณค่าทางโภชนาการ ลดปริมาณไขมัน โซเดียม น้ำตาล และควรใช้เทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ ซึ่งจะทำให้สินค้าไทยโดดเด่นเป็นที่ยอมรับมากขึ้น และครองใจผู้บริโภคในระยะยาว