โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์รัชกาลที่ ๙ ประดิษฐานบนเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้อัญเชิญพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์รัชกาลที่  ประดิษฐานเหนือบุษบกเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก .. 2562

ตามที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี จะเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก .. 2562 อันเป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเบื้องปลาย ในวันที่ 12 .นี้

การนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์รัชกาลที่ ประดิษฐานเหนือบุษบกเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช 

พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์รัชกาลที่  พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง ขึ้นในปี .. 2506 โอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 3 รอบ โดยทรงบรรจุดวงพระชะตาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในองค์พระชัย และทรงประกอบพิธีสมโภชในวันที่ 31 ตุลาคม .. 2506 พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม นับเป็นการจัดสร้างพระชัยประจำรัชกาลตรงตามตำรับและพิธีที่มีมาแต่โบราณทุกประการ พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลที่  เป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ ประทับนั่งภายใต้ฉัตร 5 ชั้น ขนาดหน้าตักกว้าง 17.50 ซมสูงเฉพาะองค์พระ 22.50 ซมสูงจากฐานถึงยอดฉัตร 58.10 .พุทธลักษณะ เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งแบบวัชราสนะ คือ ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ซ้ายวางเหนือพระเพลา ทรงตาลปัตร และพระหัตถ์ขวาชี้ลงพระธรณีในลักษณาการมารวิชัย นิ้วพระหัตถ์ทั้ง 4 ยาวเสมอกัน ตรงตามคัมภีร์มหาปุริษลักขณะ พระพักตร์เป็นรูปไข่ผ่าซีกละม้ายศิลปะสุโขทัยที่เรียกว่า “หน้านาง” พระนลาฏกว้าง พระขนงโก่ง พระเนตรมองลงยังเบื้องล่างพระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์เรียว และพระกรรณยาวเกือบจรดพระอังสะ

พระเศียรประกอบด้วยเม็ดพระศกเป็นตุ่มขนาดเล็ก พระเกตุมาลาและรัศมีรูปเปลวเพลิง องค์พระพุทธรูปครองอุตราสงค์เรียบ ห่มเฉียง มีชายอุตราสงค์พาดบนพระอังสะซ้าย ห้อยยาวลงมาจรดพระนาภี ปลายเป็นลายเขี้ยวตะขาบ อันเป็นพุทธเอกลักษณ์ของศิลปะสุโขทัย ที่สื่อถึงความสุขความเจริญ อันตรวาสกที่ทรงเรียบไม่มีริ้ว โดยปรากฏขอบที่ข้อพระบาททั้งสองข้าง ตาลปัตรที่ทรงถือมีลักษณะเรียวแหลมคล้ายรูปใบโพธิ์หล่อด้วยเงินจำหลักลาย พระพุทธรูปประทับนั่งเหนือฐานปัทม์ ประกอบด้วยกลีบบัวหงายซ้อนกันสามชั้น ชั้นล่างเป็นฐานขาสิงห์อันสื่อถึงฐานของเขาพระสุเมรุ ตามคติความเชื่อแบบไตรภูมิ และฐานเขียงจำหลักคำจารึกภาษาบาลี เบื้องหน้าฐานมีผ้าทิพย์ขนาดใหญ่จำหลักลายลงยาสี ห้อยปกคลุมฐานปัทม์และฐานขาสิงห์ เหนือองค์พระพุทธรูปกางกั้นด้วยฉัตรทองคำฉลุลาย 5 ชั้นอันนับเป็นพุทธลักษณะที่งดงามเป็นที่ยิ่ง

พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลที่  จะนำออกประดิษฐานในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล และวันเฉลิมพระชนมพรรษา นับเป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญ ที่ช่วยอภิบาลพิทักษ์รักษา ตลอดจนประสิทธิประสาทพรให้กับองค์พระมหากษัตริย์และพสกนิกรของพระองค์ตลอดมา

ทั้งนี้ กองทัพเรือโดยคณะกรรมการจัดเตรียมความพร้อมขบวนเรือพระราชพิธี จะทำการฝึกซ้อมย่อยครั้งที่ 14 ในวันที่ธันวาคม ซ้อมใหญ่วันที่ 7 ธันวาคม โดยขบวนเรือจะประดับตกแต่งเหมือนวันจริง กำลังพลฝีพายแต่งกายเหมือนวันจริง และในวันที่ 9 ธันวาคม จะเป็นการซ้อมครั้งสุดท้ายก่อนวันพระราชพิธีขบวนเรือตกแต่งเหมือนวันจริง การแต่งกายชุดฝึกเหมือนวันซ้อมย่อย เริ่มซ้อมเวลา 13.30 เนื่องจากระดับน้ำในเวลาดังกล่าวจะเท่ากับในวันพระราชพิธี ที่กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 12 ธันวาคม 2562 

ส่วนการฝึกซ้อมริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะประทับพระราชยานพุดตานทอง ที่เกยพระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย ท่าราชวรดิษฐ์ ยาตราโดยริ้วขบวนราบมายัง พระบรมมหาราชวัง ในวันที่ 4 ธันวาคมและจะทำการฝึกซ้อมใหญ่เสมือนจริงในวันที่ 7 ธันวาคม 2562