โควิด ทำคนตกงานกลับคืนถิ่นครั้งใหญ่ “วีรไท” ชี้ จุดเปลี่ยน ‘ภาคเกษตรไทย’

  • หวังรัฐใช้โอกาสนี้สร้างผู้นำชุมชนยุคใหม่
  • ตามติดผู้คนกลับบ้านจาก“สมาร์ทโฟน”
  • ระบุแรงงานท้องถิ่นมีทักษะหลากหลาย

ดร.วีรไท สันติประภพ ประธานคณะกรรมการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ระบุถึงการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยในรอบนี้ว่า จะต้องเน้นไปที่การสร้างงาน สร้างโอกาสในชนบท และต่างจังหวัดที่ไม่ใช่เมืองใหญ่

เพราะครั้งนี้ เป็นครั้งแรกในรอบ 20 กว่าปีที่คนไทยหลายล้านคนย้ายออกจากกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่กลับบ้านต่างจังหวัด “ตลอด 20 กว่าปีที่ผ่านมามีแต่คนวัยหนุ่มสาวที่ทิ้งบ้าน และครอบครัวในชนบทเข้ามาหางานในกรุงเทพ และเมืองใหญ่โดยตลอด”

แต่เมื่อสถานการณ์โควิดคลี่คลายลง คนเหล่านี้จำนวนมาก จะไม่สามารถกลับมาทำงานเดิม หรือหางานในเมืองใหญ่ได้อีก เพราะความต้องการทักษะงานเปลี่ยนแปลงไป และหลายภาคเศรษฐกิจในเมืองใหญ่จะมีกำลังการผลิตส่วนเกินอยู่มาก การจ้างงานจะไม่กลับไปสู่ระดับเดิมโดยเร็ว

“ถ้าเราสร้างงานในต่างจังหวัดโดยเฉพาะในชนบทได้ และเพิ่มผลิตภาพในภาคเกษตรได้อย่างจริงจัง วิกฤตโควิดรอบนี้ ก็จะเป็นโอกาสสำคัญของการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ และสังคมไทย ซึ่งจะสร้างชีวิตใหม่ให้คนไทยอีกมากด้วย จะช่วยแก้หลายปัญหา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาครอบครัวโหว่กลาง แรงงานเกษตรสูงอายุ การขาดคุณภาพการศึกษาของเด็กชนบท ยาเสพติด และปัญหาอื่นๆ อีกมากที่รุมเร้าสังคมชนบทอยู่”

นอกจากนี้ แรงงานในวัยหนุ่มสาวที่กลับไปชนบท จะเป็นกำลังสำคัญที่จะช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงได้จริง คนเหล่านี้มีทักษะการใช้ smart phone ใช้เทคโนโลยีได้ระดับหนึ่ง อ่านออกเขียนได้ดีกว่าคนแก่ในชุมชน สามารถเป็นกำ

หลักสำคัญของการสร้างวิสาหกิจชุมชน การตลาดออนไลน์ เป็นผู้นำชุมชนรุ่นใหม่ รวมทั้งการทำเกษตรมูลค่าสูงที่ต้องอาศัยความรู้ ข้อมูล และเทคโนโลยี

ดร.วีรไท กล่าวด้วยว่า เขาดีใจที่เห็นบทความของ ดร.เสาวณี จันทะพงษ และคุณวริศ ทัศนสุนทรวงศ์ ที่แสดงให้เห็นถึงขนาดของจำนวนคนย้ายถิ่นโดยอาศัยข้อมูลจากบริษัทโทรศัพท์มือถือ(เพียงแค่เจ้าเดียว) แต่แสดงให้เห็นขนาดของปัญหา ซึ่งถ้าจัดการได้ดี ก็จะเป็นขนาดของโอกาสการปรับโครงสร้างเศรษฐ กิจ และสังคมไทย

การใช้งบประมาณฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เหลืออยู่ และโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่จะต้องเน้นในช่วงต่อไป จะต้องมุ่งไปที่การสร้างงาน และสร้างโอกาสให้คนไทยในชนบท และต่างจังหวัดที่ไม่ใช่เมืองใหญ่ ตามการวิเคราะห์วิจัยของดร.เสาวณี และคุณวริศที่ว่าด้วย แรงงานคืนถิ่นหลังโควิด 19….จุดเปลี่ยนภาคเกษตรกรไทย

แรงงานคืนถิ่นหลังโควิค19 

จุดเปลี่ยนภาคเกษตรไทย

ดร.เสาวณี จันทะพงษ นักวิจัยจากธนาคารแห่งประเทศไทย, และ นาย วริศ ทัศนสุนทรวงศ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขียนบทความนี้ขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าตัวเลขข้อมูลต่างๆ ซึ่งพวกเขาระบุว่า เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคลที่ไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของหน่วยงานใด

หากแต่ได้ร่วมกันทำการศึกษาผลกระทบต่อตลาดแรงงานในการย้ายคืนถิ่นช่วงการระบาดโควิด 19 ระลอกแรก และระลอกสอง เพื่อฉายภาพแห่งอนาคต,

ผลกระทบต่อตลาดแรงงานในการย้ายคืนถิ่นช่วงการระบาดโควิด 19 ระลอกแรกและระลอกสองโดยใช้ข้อมูลเร็ว Mobile Big Data 

รวมถึงนัยทางนโยบายที่ทุกฝ่ายควรคว้าโอกาสนี้ ด้วยการทรานส์ฟอร์มภาคเกษตร และกระจายความเจริญสู่เศรษฐกิจฐานราก สร้างภูมิคุ้มกันเพิ่มศักย ภาพเศรษฐกิจไทยยั่งยืนอย่างแท้จริง

ภาพอดีต : การย้ายถิ่นของไทยมีแนวโน้มลดลง และภาคชนบทเกษตรยังรองรับแรงงานคืนถิ่นที่ถูกเลิกจ้าง

แรงผลักดันทางเศรษฐกิจที่ทำให้ประชากรย้ายถิ่น เพื่อหาโอกาสการมีงานทำ มีรายได้ มีฐานะความเป็นอยู่ กรุงเทพฯจึงเป็นจังหวัดที่มีการย้ายถิ่นเข้า และย้ายถิ่นออกสูงสุด เพราะเป็นเขตเศรษฐกิจหลัก แหล่งงานสำคัญ โดยคนอีสานครองแชมป์ย้ายถิ่นเข้ากรุงเทพฯมากที่สุด

  • พลวัตของผลิตภาพแรงงาน

ผลศึกษา ธปท.“พลวัตผลิตภาพแรงงาน” สถิติการเปลี่ยนแปลงจำนวนแรงงานสุทธิที่ย้ายเข้าและย้ายออกในแต่ละภาคการผลิต ในช่วง 4 ทศวรรษ (ปี 2515 –2557) พบว่า การย้ายถิ่นของไทยมีแนวโน้ม ลดลงต่อเนื่อง ในช่วงแรกปี 2515-2540 แรงงานเคลื่อนย้ายสุทธิเฉลี่ยปีละ 1.3-1.5 ล้านคน 

แต่หลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ลดลงเหลือเฉลี่ยปีละ 6-8 แสนคน โดยผลิตภาพแรงงานที่มาจากเคลื่อนย้ายแรงงานจากประเภทที่มีผลิตภาพต่ำเช่นภาคเกษตร ไปยังประเภทที่มีผลิตภาพสูงกว่าในภาคอุตสาหกรรม และบริการได้ลดลงไปมาก แต่การเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคเกษตรเข้าสู่ภาคบริการยังมีอย่างต่อเนื่อง แม้จะน้อยกว่าในอดีต

ในมิติเชิงพื้นที่ ร้อยละ 60 ของการย้ายถิ่นในประเทศเป็นการย้ายถิ่นระ หว่างจังหวัด โดยการย้ายถิ่นแบบถาวรเป็นแบบ “Rural-urban” ขณะที่การย้ายถิ่นแบบชั่วคราวเป็นแบบ “Urban-rural” ในส่วนการย้ายถิ่นตามฤดูกาล ส่วนใหญ่เป็นการโยกย้ายแรงงานจากภาคอีสาน และเหนือมายังกรุงเทพฯ และปริมณ ฑล และภาคกลางในช่วงฤดูแล้ง และเป็นไปในทิศทางตรงข้ามในช่วงฤดูฝน 

เป็นที่น่าสังเกตว่า ภาคชนบทเกษตร ทำหน้าที่รองรับแรงงานคืนถิ่นที่ถูกเลิกจ้างจากเมืองในหลายวิกฤตในอดีต ยืนยันได้จากผลสำรวจ สสช. ปี 2552 พบว่า ร้อยละ 74 ของแรงงานย้ายถิ่นย้ายกลับภูมินำเนาเดิมเทียบกับร้อยละ 66 ในปี 2551 (จากผลกระทบของวิกฤตการเงินโลกปี 2551-2552)

ภาพปัจจุบัน: โควิด 19 ทำให้เกิดแรงงานย้ายถิ่นกลับฐานที่มั่น : ข้อเท็จจริงจาก Mobile Big Data

โควิด-19 เร่งให้การสร้างนวัตกรรมใหม่จากเทคโนโลยีดิจิทัลที่ช่วยบริหารวิกฤตสาธารณสุขครั้งนี้ ที่สำคัญคือการใช้ App บนโทรศัพท์มือถือเพื่อติดตาม/ควบคุมการแพร่เชื้อของโรคที่ไปกับการเคลื่อนย้ายของคน ทำให้มีความต้องการจากหลายฝ่ายต่อข้อมูลเร็วของ Mobile Big Data เพื่อใช้ประเมินผลกระทบการออกมาตรการควบคุมโรคที่เหมาะสม และแชร์ข้อมูล เพื่อวางนโยบายสาธารณะร่วมกัน

ผู้เขียนได้ใช้ฐานข้อมูล Telco ของ True Digital Group ของผู้ใช้มือถือประมาณ 20 ล้านคน (ช่วง 1 ม.ค. 62 – 28 ก.พ. 64) ศึกษาพฤติกรรมการย้ายคืนถิ่นของแรงงานในช่วงล็อกดาวน์ครั้งแรก (เริ่ม 26 มี.ค. 63) และช่วงการ Lock down ครั้งสอง มีข้อค้นพบ ดังนี้

  • ศึกษาพฤติกรรมการคืนถิ่น

1.ภาพรวม แรงงานย้ายคืนถิ่นกลับภูมิลำเนาขนานใหญ่ทั่วประเทศ สะท้อน จากจำนวนประชากร ทั้งย้ายเข้าสุทธิ และย้ายออกสุทธิ ในช่วง ก.พ.-เม.ย. 63 รวมกัน 2.0 ล้านคน สูงกว่าค่าเฉลี่ยของช่วงหลังปี 63 กว่า 2 แสนคนต่อเดือน ส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงานอายุ 21-60 ปี (ร้อยละ 80) และกว่าครึ่ง เป็นผู้มีรายได้น้อย (เทียบเคียงจากข้อมูลจ่ายบิลค่าโทรศัพท์เดือนละ 0-99 บาท สอดคล้องกับผลสำรวจแรงงานนอกระบบโดยจุฬาฯ) 

คือ แรงงานย้ายคืนถิ่นส่วนใหญ่เป็นกลุ่มรายได้น้อย ลูกจ้างรายวัน ทำงานในภาคบริการ โรงแรม และภัตตาคาร การตัดสินใจกลับภูมิลำเนาจึงเป็นไปเพื่อความอยู่รอด

2. มิติเชิงพื้นที่…แรงงานที่ถูกเลิกจ้างย้ายถิ่นออกจากกรุงเทพฯ ปริมณฑล และ เมืองท่องเที่ยวหลัก ชลบุรี ภูเก็ต และเชียงใหม่เป็นสำคัญ เฉพาะเดือน ก.พ. มีประชากรย้ายออกจากกรุงเทพฯ สูงถึงร้อยละ 58 ของคนย้ายถิ่นทั้งหมด (ยกเว้นจังหวัดในภาคอีสาน และนครศรีธรรมราช ที่มีแรงงานย้ายเข้าจำ นวนมาก) สะท้อนว่า แรงงานจำนวนมากถูกเลิกจ้าง ถูกลดชั่วโมงทำงาน ขาดรายได้ และไม่สามารถแบกรับค่าครองชีพในเมืองใหญ่ได้ ต้องตัดสินใจกลับบ้านฐานที่มั่นบ้านเกิดของตนเอง 

3. การระบาดระลอกสองตั้งแต่ปลายเดือน ธ.ค.63 พบว่า การเคลื่อนย้ายแรงงานเข้า และออกสุทธิ มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าช่วงการระบาดรอบแรก อาจเป็นผลจากแรงงานย้ายคืนถิ่นไปมากแล้วในระลอกแรก เช่นเดียวกับเคลื่อนย้ายแรงงานในจังหวัดท่องเที่ยวภาคใต้ ภูเก็ต และกระบี่ ในช่วงนี้ก็ยังเบาบาง

ภาพอนาคต : จุดเปลี่ยนภาคเกษตรไทย เร่งกระจายความเจริญสู่ภูมิ ภาคให้เกิดขึ้นจริง

ไม่มีบ่อยครั้งที่จะมีคลื่นอพยพแรงงานเมือง ที่มีคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ และเทคโนโลยี ย้ายคืนถิ่นมากเช่นครั้งนี้ ไทยต้องคว้าโอกาสนี้ พัฒนาภาคเกษตร เร่งกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค ดึงดูดแรงงานกลุ่มนี้ให้อยู่ในภาคเกษตร และเป็นกำลังสำคัญต่อไป 

เพื่อสร้างมูลค่าใหม่ทางการเกษตร พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และสุข ภาพ และทางการควรจัดหาทรัพยากร(ที่ดินและน้ำ) ความรู้เชี่ยวชาญ และช่องทางการขาย ทั้งออฟไลน์ และออนไลน์ให้แก่กลุ่มเกษตรกร พัฒนา และแชร์ข้อมูลเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ๆ ระหว่างกันเพื่อช่วยวางแผนพัฒนาภาคเกษตรในทุกมิติ อันจะเป็นความท้าทายในข้างหน้าต่อไป

#Thejournalistclub #โควิด19#วัคซีนโควิด#วีรไทสันติประภพ

ขอบคุณภาพจาก เพจธนาคารแห่งประเทศไทย-Bank of Thailand