โควิดชลบุรียังหนัก วันนี้ (13มี.ค.)​ 1,191 ราย เสียชีวิต 4 ราย

  • แพร่ระบาดเป็นกลุ่มก้อน
  • ในโรงงานอุตสาหกรรม-ครอบครัว
  • มีผู้ฉีดวัคซีนครบ 3 เข็ม 878,442 คน

ผู้สื่อข่าวรายงายว่า ขณะนี้มีการระบาดเป็นวงกว้างทั้งจังหวัดชลบุรี ทางเพจสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี (สสจ.ชลบุรี)​ได้โพสต์ข้อมูลว่า วันนี้ (13 มี.ค.)​ มีรายงานผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ จำนวน 1,191 ราย เสียชีวิต 4 ราย

สำหรับผู้ป่วนรายใหม่ จำแนกดังนี้ 1. คนที่พักอาศัยในจังหวัดระยอง เข้ามารักษาในจังหวัดชลบุรี 66 ราย สะสม 3,244 ราย และจังหวัดอื่นๆรวมสะสม 966 ราย
2. CLUSTER บริษัท ฟูจิตสึ เจเนอรัล (ประเทศไทย) จำกัด อ.ศรีราชา 5 ราย สะสม 165 ราย
3. อาชีพเสี่ยงพบปะผู้คนจำนวนมาก 34 ราย
4. บุคลากรทางการแพทย์ 25 ราย
5. ให้ประวัติเดินทางมาจากต่างจังหวัด (จังหวัดสมุทรปราการ 1 ราย)
6. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน 6.1 ในครอบครัว 275 ราย 6.2 จากสถานที่ทำงาน 47 ราย 6.3 บุคคลใกล้ชิด 72 ราย 6.4 ร่วมวงสังสรรค์ 5 ราย
7. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน (อยู่ระหว่างสอบสวนโรค)17 ราย
8. อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค 644 ราย

ทั้งนี้ ณ วันที่ 13 มีนาคม 2565 จังหวัดชลบุรี มีผู้ฉีดวัคซีนครบ 3 เข็ม 878,442 คน ซึ่งในเดือนนี้ มีผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 3 เข็มแล้ว ติดเชื้อ 3,284 คน (อัตราป่วย 373.84 ต่อแสนประชากร) เสียชีวิต 1 ราย (0.11 ต่อแสนประชากร), ใส่ท่อหายใจ 2 ราย (0.23 ต่อแสนประชากร), ปอดอักเสบ 6 ราย (0.68 ต่อแสนประชากร)

มีผู้ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม 1,895,923 คน ซึ่งในเดือนนี้ มีผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ติดเชื้อ 4,841 คน (อัตราป่วย 255.34 ต่อแสนประชากร) เสียชีวิต 13 ราย (0.69 ต่อแสนประชากร), ใส่ท่อหายใจ 5 ราย (0.26 ต่อแสนประชากร), ปอดอักเสบ 6 ราย (0.32 ต่อแสนประชากร)

ส่วนผู้ที่ฉีดวัคซีนเพียง 1 เข็ม 113,456 คน และไม่ได้ฉีดวัคซีนอีก 319,694 คน รวม 433,150 คน ในเดือนนี้พบผู้ติดเชื้อที่ฉีดวัคซีนไม่ครบและยังไม่ได้ฉีดวัคซีน 6,273 คน (อัตราป่วย 1448.23 ต่อแสนประชากร), เสียชีวิต 27 ราย (6.23 ต่อแสนประชากร), ใส่ท่อหายใจ 5 ราย (1.15 ต่อแสนประชากร) , ปอดอักเสบ 33 ราย (7.62 ต่อแสนประชากร)

วันนี้พบ ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจรายใหม่ 1 ราย (พบประวัติการรับวัคซีนสองเข็มเมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2564), ผู้ป่วยปอดอับเสบรายใหม่ 1 ราย (พบประวัติการรับวัคซีนสี่เข็มเมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2565), และพบผู้เสียชีวิตรายใหม่ 4 ราย (รายที่หนึ่งอายุ 79 ปี, รายที่สองอายุ 82 ปี, รายที่สามอายุ 84 ปี, รายที่สี่อายุ 85 ปี) สาเหตุที่นำไปสู่การเสียชีวิตคือ เป็นผู้สูงอายุ และมีโรคประจำตัวได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดผิดปกติ โรคไตเรื้อรัง (รายที่หนึ่งพบประวัติการรับวัคซีนสองเข็มเมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2564 และอีกสามรายไม่พบประวัติการรับวัคซีน) ดังนั้น การฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ กล่าวคือต้องได้รับการกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดเข็มที่สาม จะช่วยลดความรุนแรงของโควิด-19 ผู้ที่อาศัยในจังหวัดชลบุรี ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ยังยังไม่ได้ฉีดวัคซีน หรือฉีดวัคซีนไม่ครบ มีโอกาสที่จะมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตจากโรคโควิด 19 และกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ จะมีอาการมากกว่ากลุ่มอื่น