เสถียรภาพเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับเสถียรภาพการเมืองไม่ได้ขึ้นอยู่กับเสถียรภาพของรัฐบาลเผด็จการของรัฐบาล

เสถียรภาพเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับเสถียรภาพการเมืองไม่ได้ขึ้นอยู่กับเสถียรภาพของรัฐบาลเผด็จการของรัฐบาลผลต่อเศรษฐกิจ โดย ดร.วีรพงษ์ รามางกูร

  • ส.ว.250 มีที่หน้าที่เดียวคือ ลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรี
  • ส.ส.มีหน้าที่ลงมติเรื่องสำคัญ ถึงเวลาคง “ขายตัว” กันหนัก
  • ผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ปูทางให้มีปฏิวัติรอบสองได้

หลายคนที่คุยด้วยกังวลว่า สถานการณ์ที่การเมืองเจอทางตันถ้านายกรัฐมนตรีคนเดิมจะกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป เพราะในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีนั้น สมาชิกวุฒิสภาจำนวนกึ่งหนึ่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 250 คน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน มาออกเสียงลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีด้วย ไม่มีปัญหา คงทำได้

แม้จะอธิบายเรื่องความชอบธรรมลำบาก คงอ้อมแอ้มถูๆไถๆไปด้วย การอ้างจำนวนคะแนนเสียงดิบที่มากกว่า 8 ล้านเสียง ซึ่งไม่มีประโยชน์เพราะต้องนับจำนวนที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร

แต่เมื่อเป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว วุฒิสภาไม่ได้มาร่วมออกเสียงลงคะแนนในญัตติต่างๆ เพื่อจะให้สามารถบริหารราชการแผ่นดินได้ รัฐบาลจึงมีความจำเป็นต้องได้เสียงข้างมากในสภาล่าง

สมาชิกสภาสูงที่ต้องเสียงบประมาณเงินเดือน เบี้ยประชุม ค่าเดินทางภายในประเทศ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปดูงานต่างประเทศ มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายจ้างผู้ช่วยเช่นเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อมาประชุมรัฐสภา หรือการประชุมร่วมทั้ง 2 สภาแล้ว ก็หมดหน้าที่
จะมีอีกทีก็ตอนพิจารณาเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ที่ผ่านสภาผู้แทนราษฎรแล้ว หากไม่เห็นชอบซึ่งไม่ค่อยจะมีก็จะต้องเข้าขบวนการประชุมร่วมกันกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ไม่เกิดบ่อยนัก

ผลการเลือกตั้งครั้งนี้รัฐบาลหวังผลเลิศเกินไป รัฐบาลจัดตั้งพรรคการ เมืองชื่อพรรคพลังประชารัฐใช้พลังอำนาจรัฐ และพลังอำนาจเงิน ดูดอดีต ส.ส.จากพรรคต่าง ๆ ทั้งพรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคอื่นๆมา การที่พรรคไทยรักษาชาติถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพร้อมกับตัดสิทธิทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรค ทำให้ฝ่ายประชาธิปไตยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรน้อยกว่าที่ควรจะเป็น คะแนนเสียงกลับไปอยู่กับพรรคอนาคตใหม่สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้เป็นจำนวนมาก ไม่ไปที่พรรคพลังประชารัฐ หรือ พปชร.

อย่างไรก็ตามการจับกลุ่มพรรคการเมืองที่แบ่งเป็น 2 ขั้วคือ ขั้วสนับสนุนการสืบทอดอำนาจเผด็จการ กับฝ่ายสนับสนุนระบอบประชาธิปไตยที่เคารพเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนเมื่อสถานการณ์เป็นอย่างนี้ หลายฝ่ายก็คาดว่า รัฐบาลจะไม่มีเสถียรภาพ

การวิ่งเต้น “ขายตัว” ของสมาชิกสภาผู้แทนก็คงจะเกิดขึ้นหนัก การลงมติในญัตติสำคัญ เช่น การผ่าน พ.ร.บ.งบประมาณแผ่นดิน หรือ พ.ร.บ.สำ คัญอื่นๆรัฐบาลก็ต้องจ่ายเงิน ต่อมาจึงมีการเขียนรัฐธรรมนูญให้อำนาจพรรคขับไล่ ส.ส.ที่ไม่ปฏิบัติตามมติของพรรคได้ และเมื่อถูกพรรคขับไล่ออก ก็ต้อง หาพรรคใหม่ภายในเวลากำหนด มิฉะนั้นก็ขาดจากสมาชิกภาพของสภาผู้แทนราษฎร

ผู้ร่างรัฐธรรมนูญต้องการให้เป็นเช่นนั้นเพื่อปูทางให้มีการทางรัฐประ หารรอบสองถ้าโอกาสเปิด การเมืองจึงดูวุ่นวาย เพราะจะมีข่าวทางหน้าหนัง สือพิมพ์ และสื่อกระแสหลักอยู่ทุกวัน

รัฐบาลถ้าไม่จำเป็น ก็จะไม่เสนอกฎหมายใดๆเพื่อให้สภาอนุมัติ เพราะ ถ้าไม่แจกซองกัน ก็อาจจะไม่ผ่านสภาได้ทั้งที่รัฐบาลมีเสียงข้างมากในสภา แต่สภาที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน ก็มีชีวิตอยู่ได้จนเกือบครบวาระอยู่เสมอ จะถูกยุบก็เมื่อเวลาผ่านไป 2-3 ปี

พอย่างเข้าปี 2 ที่ 4 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มักจะไม่ปฏิบัติตามมติพรรค เข้าลักษณะที่พูดกันว่า เข้าสู่ภาวะ “หมูไม่กลัวน้ำร้อน” การเมืองจึงไม่สงบ ดูสับสนวุ่นวาย ร่างพระราชบัญญัติต่างๆที่จำเป็นจะต้องออกตามพันธ กรณีกับประชาคมโลก เช่น พันธะกับองค์ การค้าโลก กับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือพันธกรณีกับประเทศคู่ค้าที่เราไปลงนามในข้อตกลงทางการค้าการลงทุน และภาษีอากร เมื่อมีรัฐบาลเผด็จการทหาร สภานิติบัญญัติที่คณะรัฐประหารตั้งขึ้น ก็จะเร่งผ่านกฎหมายที่คั่งค้างมาจากสภาผู้แทนราษฎรเป็นจำนวนมากในเดือนสุดท้าย ก่อนหมดอายุลง อาจต้องผ่านร่างพ.ร.บ.เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้เป็นกฎหมายจำนวนมากถึง 250 – 300 ฉบับ

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่หลายคนกังวลว่า รัฐบาลที่ไม่มีเสถียรภาพในสายตาของชาวต่างประเทศ และนักลงทุนจะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวหรืออาจจะถึงขั้นชะงักงันหรือถดถอย

ความกังวลเช่นนี้มีอยู่เสมอ ความจริงอาจจะมีอยู่บ้าง แต่ไม่มาก เศรษฐ กิจของประเทศไทยทั้งระบบนั้นขับเคลื่อนโดยเอกชน เพราะระบบเศรษฐกิจไทยเป็นระบบเศรษฐกิจที่เสรี และเปิด เอกชนผู้ผลิต คนกลาง ผู้ส่งออก จะเป็นผู้ผลักดันเศรษฐกิจไปข้างหน้า ส่วนระบบราชการมีขั้นตอนควบคุมให้ใบอนุญาตและยุ่งยากเสมอ เพราะความไม่โปร่งใส และความมีประสิทธิ ภาพต่ำกว่าภาคเอกชน

จนมีคำพูดประชดมาจากภาคเอกชนว่า “เศรษฐกิจไทยโตตอนกลางคืนเพราะเป็นเวลาที่ข้าราชการนอนหลับ” ซึ่งทำความขุ่นเคืองให้กับข้าราชการดีๆจำนวนไม่น้อย ถ้าเศรษฐกิจไทยโตตอนกลางคืน หยุดชะงักตอนกลางวันเพราะข้าราชการตื่นขึ้นมาทำงาน การจะมีรัฐบาลช้าหรือเร็ว จึงไม่มีผลอย่างไรกับเศรษฐกิจ

เพราะระบบเศรษฐกิจ ก็ยังคงเดินหน้าต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนกลางคืน แต่ถ้ารัฐบาลมาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย นักการเมืองต้องมีผลงาน นักการเมืองก็จะผลักดันให้ข้าราชการทำงาน ธุรกิจก็เดินหน้าเติบโตไปทั้งกลางวัน และกลางคืน

ผลต่อเศรษฐกิจนั้นอยู่ที่ระบบ ถ้าเป็นระบอบเผด็จการที่เศรษฐกิจอยู่กับข้าราชการซึ่งกลัวต่อการตัดสินใจ เพราะถ้าไม่ตัดสินใจก็คือไม่ทำอะไรก็ไม่มีความผิด การตัดสินใจดำเนินการตามนโยบายอาจจะมีผิดมีถูก สู้เลือกแนว ทางไม่มีผิด ไม่มีถูกดีกว่า หลายคนไปดูงานที่สิงคโปร์ กลับมาก็ชมเชยสิงค โปร์ หรือญี่ปุ่นที่เจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง เป็นเพราะการมีการเมืองที่มีเสถียรภาพ เพราะเป็นการปกครองโดยพรรคการเมืองที่เด่นเพียงพรรคเดียว เช่นเดียวกับไต้หวัน และเกาหลีใต้ จึงอยากให้ประเทศมีระบบการเมืองแบบเดียวกับสิงคโปร์

โดยรัฐบาลเผด็จการพรรคประชาชนไม่มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เป็นใบ้กันไปหมดทั้งประเทศ การมีเสถียรภาพทางการเมืองนั้น ควรจะเป็นเสถียรภาพของระบบการเมืองมากกว่าเสถียรภาพของรัฐบาล

ระบบการเมืองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ควรจะเป็นระบบการเมืองที่มีเสถียรภาพมากที่สุด