เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีโอกาสถดถอยแค่ไหน

ในขณะที่เศรษฐกิจทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในเอเชีย ซึ่งกำลังพยายามฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 ซึ่งอยู่กับเรามาเป็นปีที่ 3 ให้สำเร็จ “สหรัฐอเมริกาเศรษฐกิจเบอร์ต้นๆ ของโลก กลับกำลังวิตกกังวลถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอย

และหาก เศรษฐกิจสหรัฐ” ซึ่งเป็นผู้บริโภคขนาดใหญ่ของโลก “ถดถอย” แน่นอนว่าจะกลายเป็นปัญหา “ซ้ำเติม” ความซบเซาของเศรษฐกิจโลกต่อเนื่อง ส่งผลให้เศรษฐกิจประเทศที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลักหลายๆ ประเทศรวมทั้งไทยมีความยากลำบากกว่าเดิมที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ทำให้นักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลก “จับตา” พัฒนาการของเศรษฐกิจสหรัฐ ฯ ในขณะที่นักลงทุนกำลังมองหาสัญญาณและช่องทางในการทำกำไร ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลต่อความผันผวรของตลาดเงินและตลาดทุนทั่วโลก

เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีโอกาสเข้าสู่ “ภาวะถดถอยแค่ไหน และอย่างไร

ในทางตัวเลขนั้น แม้ว่าจะยังไม่เป็นการประกาศอย่างเป็นทางการ แต่การประมาณการภาวะเศรษฐกิจของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐ  ระบุตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 สำหรับการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ประจำไตรมาส 1 ปี65 ว่า

เศรษฐกิจไตรมาสแรกของสหรัฐฯหดตัว 1.4% ส่วนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าเศรษฐกิจมีการขยายตัว 1.1%  ลดลงแรงหากเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปีที่ผ่านมาที่สหรัฐฯโต 6.9%

และหากจะเข้าสู่ “ภาวะถดถอยทางเทคนิค” ตามทฤษฎีนั้น การขยายตัวของจีดีพี ไตรมาสที่ 2 หรือในช่วงเดือนเม..-มิ..นี้ จะต้องเป็นการหดตัวไตรมาสต่อไตรมาสต่อเนื่องอีก 1 ไตรมาส และหากถามว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาผลกระทบจริงๆ จากการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟดเพื่อสกัดเงินเฟ้อ และผลกระทบจากสงครามยูเครน และรัสเซียต่อเศรษฐกิจโลก

โดยในช่วงเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา สำนักงานสถิติแรงงานของสหรัฐ ระบุว่า ราคาสินค้าผู้บริโภคในสหรัฐปรับขึ้น 8.5% สูงสุดในรอบ 40 ปี แสดงให้เห็นกำลังซื้อที่ยังมีอยู่ ขณะที่ตลาดแรงงานสหรัฐยังคงฟื้นฟื้นตัวต่อเนื่อง อัตราว่างงานอยู่ในระดับต่ำกว่าที่คาดการณ์ขณะที่ภาคการเงิน การธนาคารของสหรัฐฯยังคงมีความแข็งแกร่ง

ทำให้นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่ง ซึ่งคิดต่างไม่ได้ให้ความสำคัญกับการ“การถดถอยทางเทคนิค” ในขณะนี้มากนัก เพราะเป็นการถดถอยของตัวเลข ที่ทั้งประชาชนและภาคธุรกิจไม่ได้รู้สึกว่า “ตัวเองอยู่ในภาวะที่จนลงมาก หรือเศรษฐกิจอยู่ในภาวะซบเซา” ซึ่งแตกต่างจากบ้านเราที่ตัวเลขจีีดีพี อยู่ในภาวะขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่คนไทยส่วนใหญ่กลับรู้สึกว่าเงินขาดมือ และเศรษฐกิจซบเซา

อย่างไรก็ตาม ผลจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นมาก โดยมีการคาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐเดือน เม.. ตัวเลขพุ่งสูงขึ้นอีก โดยขยายตัวเพิ่มขึ้น 8.1% เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน และมีผลให้เฟดต้องเร่งความเร็วและความแรงในการปรับขึ้นดอกเบี้ยมากขึ้น 

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 5 พ.ค.ที่ผ่านมา ในช่วงเช้าตามเวลาไทย ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ของเฟด ได้ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกในรอบหลายปี โดยเป็นการขึ้นครั้งเดียว 0.50% และประกาศเริ่มต้นการทยอยปรับลดขนาดงบดุล (QT) โดยจะเริ่มตั้งแต่เดือนมิ.ย.ที่จะถึงนี้เพื่อดูแลอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

และแนวโน้มเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวในระดับที่ดีต่อเนื่อง รายได้ของแรงงานที่ไม่ลดลงมากอย่างที่คาดกันไว้ก่อนหน้า รวมทั้งราคาน้ำมัน สินค้าโภคภัณฑ์​และราคาอาหาร ที่พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่องหลังสงครามระหว่างยูเครนและรัสเซีย ทำให้นักลงทุน และนักวิเคราะห์มองว่า “เฟดจำเป็นต้องใช้ยาแรงขึ้นเพื่อให้สามารถลดความร้อนแรงของเงินเฟ้อ” ได้ เช่น การปรับขึ้นเงินเฟ้ครั้งเดียว 0.75% ทั้งๆ ที่ นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด ได้ออกมายืนยันว่า เฟดไม่ได้มีแนวคิดดังกล่าวที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยแรงๆ ในครั้งเดียวถึง 0.75%

และการขึ้นดอกเบี้ยแรงๆ ต่อเนื่องตลอดทั้งปีนี้ของเฟดนี่เอง จะเป็นสาเหตุที่แท้จริงของ “ภาวะถดถอย” ของเศรษฐกิจสหรัฐ ซึ่งบรรดานักวิเคราะห์ ซึ่งเป็นวาณิชธนกิจชั้นนำของโลกมองไว้ว่า หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ “ภาวะถดถอยที่แท้จริง” ของเศรษฐกิจสหรัฐ จะเกิดขึ้นในปี 66-67 

ซึ่งแน่นอนว่า “ดอกเบี้ย” คือ ต้นทุนสำคัญของทุกชีวิต กระทบกับต้นทุนการผลิต รายได้ กำไร และความสามารถในการชำระหนี้ของภาคธุรกิจ และประชาชน ขณะเดียวกัน ยังสร้างความผันผวนในตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนและตลาดทุนทั่วโลก

กรณีนี้ถือเป็น “ความท้าทาย”ของธนาคารกลางอีกครั้ง ที่จะจัดการความเชื่อมั่นของนักลงทุนอย่างไร เพราะที่่ผ่านมาทุกครั้งในการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน เฟดจะออกมาส่งสัญญาณล่วงหน้าให้สาธารณชนรับรู้ล่วงหน้า เพื่อไม่ให้เกิดความผันผวนของตลาดที่มากเกินไป 

แต่ครั้งนี้ การส่งสัญญาณของประธานเฟด ตลาดกลับไม่ค่อยเชื่อถือ ไม่สามารถยึดเหลี่ยวความมั่นใจของนักลงทุนได้ซึ่งส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐร่วงถล่มทลายไปเมื่อสัปดาห์ก่อน ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ (บอนด์ยีลด์) 10 ปี ของสหรัฐฯ พุ่งสูงต่อเนื่อง

ท้ายสุด ขอยกข้อความบางส่วนจากบาทความ ​“ฤๅ เศรษฐกิจไทยจะไม่พ้นวิบากกรรม : เศรษฐกิจสหรัฐเสี่ยงถดถอย?” ของดร.ดอน นาครทรรพ ซึ่งระบุว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟดเพื่อหยุดความร้อนแรงของตลาดแรงงานและเงินเฟ้อนั้น ตอนนี้คาดกันอัตราดอกเบี้ยนโยบายว่าอาจจะไปหยุดที่ 3.5%  ต่อปี ในปีหน้า 

แต่ประเด็นคือ ถ้าดอกเบี้ยนโยบายขึ้นไปถึง 3.5 % ต่อปี แล้วเฟดยังจัดการเงินเฟ้อไม่ได้ เฟดก็ต้องขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อไปอีก ซึ่งหลายฝ่ายคิดว่าเศรษฐกิจสหรัฐไม่น่าจะรับไหว และจุดเปราะบางที่สำคัญ คือ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่ราคาเพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงสองปีที่ผ่านมา และเป็นฟองสบู่ราคาสินทรัพย์เดียวในปัจจุบันที่ยังไม่ถูกปล่อยลมออกไปบ้างแบบตลาดหุ้นและตลาดคริปโตเคอเรนซี แม้อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยในสหรัฐจะปรับสูงขึ้นมากกว่าะ 2 % ต่อปี

และถ้าเฟดต้องขึ้นดอกเบี้ยไปมากกว่ 3.5% จริง ในที่สุด ไม่เพียงแต่เศรษฐกิจสหรัฐจะถดถอยรุนแรง กระทบต่อภาคการส่งออกของไทยเท่ายั้น แต่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่สุดแล้วอาจจะต้องขึ้นดอกเบี้ยแรงเช่นกัน 

จึงได้แต่หวังว่าเฟดจะคุมเงินเฟ้อได้ โดยเศรษฐกิจสหรัฐเป็นแค่การลดความร้อนแรงลงแบบ soft landing ไม่ใช่hard recession ซึ่งกระชากให้เศรษฐกิจซบเซาต่อไปอีกระลอก