เปิด “พินัยกรรม” ชีวิต…รับสภาวะวิกฤตโควิด-19 ปัจจุบัน-อนาคต

  • โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ประกาศ
  • ให้แพทย์ต้องเลือกไม่ใส่ท่อหายใจ

นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การแพทย์ไทย ที่โรงพยาบาล และบุคคลากรทางการแพทย์ ออกมายอมรับว่า พวกเขาอาจจำเป็นต้องให้ผู้ป่วย หรือญาติ เลือกที่จะให้ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 75 ปีขึ้นไป ตัดสินใจว่า จะมีชีวิตอยู่ต่อไปด้วยการเจาะคอเพื่อต่อลมหายใจ หรือปล่อยให้ผู้ป่วยจากไปเอง

กรณีดังกล่าว สืบเนื่องจากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติได้ออกประกาศเรื่องหลักเกณท์การพิจารณาไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ (Withholding Intuba tion) สำหรับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 

.โควิด-19 ระบาดหนัก และรุนแรง

เนื้อความระบุว่า เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19 ที่เข้าขั้นวิกฤตอย่างรุนแรง ส่งผลให้อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อการรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่มีจำนวนมากขึ้น 

 จึงจำเป็นต้องใช้หลักเกณท์การพิจารณาไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ แก่ผู้ปวยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เข้าหลักเกณท์ และสอดคล้องกับกฏหมาย และมาตรฐานการให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติในสภาวการณ์ปัจจุบันนี้

อาศัยอำนาจตามความในข้อ 15 แห่งระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการบริหารงานโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ..2550 ผู้อำนวยการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ในคราวการประชุมครั้งที่ 7/2564 เมื่อวันที่ 20 กรกฏาคม 2564 มีมติเห็นชอบอนุมัติใช้หลักเกณท์การพิจารณาไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ สำหรับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 

ทั้งนี้ให้นับตั้งแต่วันที่ 22 ก.ค.2564 เป็นต้นไป โดย รศ.นพ.พฤหัส ต่ออุดม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเป็นผู้ลงนามในประกาศฉบับนี้ 

.จำเป็นต้องเลือกจะอยู่หรือไป

สำหรับคำว่า “ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19” ตามประกาศนี้แบ่งเป็น 2 กรณีคือ 1.ผู้ป่วยที่มีการแสดงเจตนาไว้ล่วงหน้า 

ทั้งนี้จะด้วยวาจา หรือลายลักษณ์อักษรว่า ไม่ประสงค์ให้ใส่ท่อหายใจโดยให้ “ผู้ตัดสินใจแทน” ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ป่วยตัดสินใจเลือกการรักษาตามนิยามปฏิบัติการเรื่องการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (paliative care)

2.ผู้ป่วยที่ไม่ได้แสดงเจตนาไว้ล่วงหน้า

กรณีนี้ แพทย์ผู้ดูแล พิจารณาไม่ใส่ท่อช่วยหายใจเมื่อผู้ป่วยมีลักษณะอย่างน้อย 2 ข้อจาก 4 ข้อดังนี้คือ

 1.อายุมากกว่า 75 ปี

 2.ผู้ป่วยที่มีลักษณะการช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ / มีอาการทางสมองคงที่ และไม่ได้กำลังจะเสียชีวิตใน 6 เดือน รวมถึงผู้ป่วยที่มีภาวะเปราะบางระดับรุนแรงและรุนแรงมาก เป็นต้น 

.แนะคนไทยยอมรับสภาพการณ์

ผู้สื่อข่าว The Journalist รายงานว่า ก่อนหน้านี้ สหรัฐอเมริกา และหลายประเทศได้ใช้วิธีการเลือกที่จะให้การรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิดรุนแรง และมีจำนวนมากว่า จำเป็นต้องเลือกให้ใครอยู่และให้ใครไปเนื่อง เพราะอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยเฉพาะวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ยังไม่สามารถผลิตออกมาได้

 เช่นกันก่อนหน้านี้ไม่มีใครคาดคิดว่า ประเทศไทยในปัจจุบันจะมีผู้ป่วยติดเชื้อสูงถึงวันละกว่า 16,000 ราย และเสียชีวิตมากถึงวันละกว่า 140 ราย นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ด้วยว่า หากกระทรวงสาธารณสุขใช้วิธีการตรวจสอบแบบปูพรม ประเทศไทยอาจพบผู้ติดเชื้อสูงกว่านี้มาก

ในขณะที่โรงพยาบาลต่างๆ แม้แต่โรงพยาบาลสนาม หรือที่พักรอสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อก่อนเข้าสู่ระบบการรักษาในโรงพยาล ก็แทบไม่มีเหลือ

.รพ.สนามเต็ม เพราะนำคนแก่มาทิ้ง

จากรายงานของบุคคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลสนามขนาดใหญ่แห่งหน่ึง มีการเปิดเผยว่า ญาติได้นำเอาคนแก่จำนวนไม่น้อยมาทิ้งไว้ยังโรงพยาบาลสนามให้เป็นธุระของบุคคลากรทางการแพทย์เอง 

โดยผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และเนื่องจากคนป่วยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นแบบก้าวกระโดด ทำให้บุคคลากรทางการแพทย์เกิดความขาดแคลนอย่างหนัก และไม่สามารถให้การดูแลผู้ป่วยได้อย่างท่ัวถึง

 ผู้ป่วยที่เป็นคนแก่ติดเตียงจำนวนไม่น้อย อุจจาระ ปัสสาวะ จนเตียงกระดาษรับไม่ไหว และทำให้ผู้ป่วยหล่นลงไปปนเปื้อนกับส่ิงปฏิกูลที่สะสมไว้ ในขณะที่บางรายนอนเสียชีวิตไปโดยที่แพทย์ และพยาบาลไม่ทราบ จึงมีความพยายามจะแจ้งให้บรรดาญาติ และบุตรธิดาทราบว่า อย่านำพ่อแม่มาทิ้งไว้เช่นนี้ เพราะนอกจากจะทรมาณบุพการีแล้ว ยังไม่สามารถให้ผู้ป่วยรายใหม่ๆเข้าใช้เตียงได้ด้วย

.แนะคนไทยทำ “พินัยกรรมชีวิต

 พินัยกรรมชีวิต ที่จัดทำโดย แพลตฟอร์มออนไลน์ชื่อ peachfuldeath.co สถาบันที่ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (ส.ส.ส.) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือทบทวนคุณค่าความหมายของชีวิตเพื่อการวางแผนสุขภาพในระยะสุดท้ายนั้น

 สถาบันที่เรียกว่า peachfuldeath.co ได้จัดทำตัวอย่างของหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือ เพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย พ.ศ.2553 ไว้ในเว็บไซต์ www.thailivingwill.in.th ซึ่งประชาชนคนไทย สามารถปรินท์เอกสารออกมา กรอกข้อความตามเจตนารมย์ของตนได้ภายใต้การปรึกษาหารือกับแพทย์ หรือ ผู้ประกอบวิชาชีพสาธารสุขได้ดังตัวอย่างที่แนบมาข้างท้ายนี้