ปตท.เปิดวิสัยทัศน์ใหม่ “Powering Life With Future Energy and Beyond”

  • เป็นการปรับตัวสู่พลังงานอนาคต
  • ก้าวสู่บริษัทพลังงานสะอาดในปี 2032 
  • ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก  Net Zero ในปี 2050

 นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานจริงๆตอนนี้ไม่มีอะไร อยากให้เห็นว่าตอนนี้กลุ่ม ปตท. มีมูลค่าในตลาดหุ้น Market Cap 13 % นั้น  โดยผู้ถือหุ้นของปตท. 40% กระทรวงการคลัง 40%  กองทุนวายุภักษ์  12 %  ซึ่งในความเป็นจริงๆก็ถือว่าเป็นของรัฐ  ถือว่าเปลี่ยนแปลงไปมาก จาก 10 ปีที่แล้ว ต่างชาติถือหุ้นกว่า 20 %    

“ตอนนี้คนไทยรวยขึ้น ซื้อหุ้นไว้มากขึ้นเกือบ28 % อันนี้คือที่เปลี่ยน หากนับการสะสม นับตั่งแต่กระจายหุ้นปตท.ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)​ นำเงินส่ง รัฐทั้งในรูปภาษีแล้วก็เงินปันผลเนี่ย รวมกันได้ล้านล้านบาท เมื่อเทียบก่อนกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ นำเงินส่งรัฐเป็นหลักพันล้านต่อปี ขณะนี้หุ้นปตท. มี Market Cap ประมาณ 1 ล้านล้าน รัฐถือ 2 ใน 3 ของ 1 ล้านล้าน ราว 6 แสนกว่าล้านบาท เพราะเช่นนั้นในมือของรัฐเพิ่มขึ้นจาก 3 หมื่นล้าน เป็น 6 แสนล้าน ภาพนี้ผมชี้ให้เห็นความเปลี่ยนแปลงการพัฒนาหลังจากที่เราเข้าตลาดสำหรับผลงานในครึ่งปีก็ดีขึ้น เมื่อเทียบจากครึ่งปีที่แล้ว กำไรก็สูงขึ้นประมาณ 13 %  เป็นผลจากแต่ละธุรกิจสีเขียวดีขึ้น เมื่อเทียบจากปีที่แล้วแต่ที่อาจจะดีน้อยกว่าปีที่แล้วก็มี แก๊ส ปิโตรเคมี ไฟฟ้า”

นายอรรถพล กล่าวถึง   ที่มา New Vision ว่า  หลายท่านถามว่ามองอนาคตพลังงานอย่างไร สรุปให้เห็นง่ายๆ ฟอสซิลเดิมถ่านหิน น้ำมัน และ แก๊ส  โดยถ่านหินเลยจุดพีคไปแล้วตั้งแต่ปี 2015 จากนี้ไปอนาคตก็มีแต่ลดลง ส่วนน้ำมัน ยังโตได้อีกไปจนถึงปี 2032 หรือ 10 ปี  จากนั้นอาจจะเริ่มใช้น้อยลง  ก๊าซธรรมชาติ ยังไปได้อีกยาวไกล เพราะว่าก๊าซเป็นฟอสซิลที่สะอาดที่สุดเมื่อเทียบกับน้ำมันและถ่านหิน  เนื่องจากมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานไปจำนวนมาก ขณะเดียวกันก๊าซฯ นับเป็นเชื้อเพลิงสะอาดอยู่แล้ว  และก๊าซฯจะเป็นเชื้อเพลิงช่วงเปลี่ยนถ่ายก่อนที่จะไปพลังงานทดแทน เข้ามาแทนจนมีนัยสำคัญ ซึ่งต้องใช้เวลา นั่นคือสิ่งที่มองแล้วก็อย่างที่บอก ก๊าซยังมีอนาคตอีกมาก

“ดังนั้นผมมี 2 คำที่จะเป็นทิศทางให้ ปตท.และกลุ่มบริษัทในเครือเดินไปข้างหน้าในระยะยาวได้อย่างมีจุดหมาย และประสบความสำเร็จคือ GO GREEN และ GO ELECTRIC โดยGo Green คือ เดินหน้าสู่การใช้พลังงานสะอาดเพื่อเป้าหมายข้างต้น ส่วน Go Electric คือ เปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายสู่ไฟฟ้า”

ทั้งนี้เมื่อรูปแบบพลังงานมันเปลี่ยนไปแบบนี้ ปตท .ก็ต้องปรับตัว ฟอสซิลก็ต้องแทนที่ไปเรื่อยๆ แต่ละตัวมีทิศทางที่ต่างกัน โดยปตท.ขอสรุปว่า ถ่านหินมีการเลิกใช้แน่ ส่วนน้ำมันคงที่ ขณะที่ก๊าซ ยังโตต่อ   แต่ปตท.ก็ต้องปรับตัว รับการเปลี่ยนแปลง ด้วยการปรับปรับวิสัยทัศน์บริษัทใหม่  เดิมคือ Thai Premier Multi National Energy Company  ที่ต้องสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานประเทศ พลังงานในบ้านเรามีไม่พอ จะสร้างความมั่นคงได้ ต้องออกไปข้างนอก ต้องไปเอาเข้ามา ต้องไปค้าขาย 

เมื่อมาถึงปัจจุบัน  เรามีเครือข่ายการค้าขายทั่วโลกแล้ว อุ่นใจได้ว่าสามารถสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศได้ ความมั่นคงคือมีใช้ไม่ขาด  เพราะเช่นนั้นวิสัยทัศน์ใหม่ก็อยากให้สะท้อนว่าข้างหน้า  อยากจะทำธุรกิจใน Direction ไหน ทางไหน ตัว วิสัยทัศน์ใหม่ เราคือ Powering Life With Future Energy and Beyond

โดยPowering Life เป็นเหมือน Purpose ของบริษัท เป็นวัตถุประสงค์ ว่าตั้งขึ้นมาทำไม ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นแรงขขับเคลื่อนทุกชีวิต ทั้ง ผู้คน  ชุมชน สังคม ประเทศ หรือสังคมโลก

ส่วน With อะไร ด้วยอะไร ด้วย Future Energy and Beyond อันนี้ก็เป็นตัวสะท้อนถึงกลยุทธ์ทิศทางของกลยุทธ์จะไปทิศทางไหน เราจะไปที่ Future Energy แล้วมีคำว่า Beyond ขึ้นมา Beyond นี่คือ ออกนอก Energy  

สำหรับFuture Energy หลักๆ 4 ตัว ก็คือพลังงานทดแทน คือ Renewable ใช้วิธีการกักเก็บพลังงาน พวก Energy Storager พวกแบตเตอรี่ แล้วก็ EV Value Chain  แล้วก็Hydrogen 

Beyond   คือการมองว่าประเทศไทยเองก็ต้องพยายามปรับตัวเหมือนกัน ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป เทคโนโลยีใหม่ๆมาเยอะๆ เนี่ย ถ้าเราจะเคยได้ยินคำว่า New S-Curve ของประเทศ  อยากเป็น Medical Hub  เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ ดังนั้น ปตท.เป็น 1 ในภาคธุรกิจ ก็ต้องช่วยขับเคลื่อน ด้วยการเลือกหยิบส่ิงที่สามารถเข้ามาช่วยได้ และคิดว่ามันเป็นแนวโน้ม( Trend) ของโลก เป็นTrend ของประเทศไทยที่ควรจะมี 

นายอรรถพล กล่าวว่า สำหรับ Renewable มีการตั้งเป้าว่าภายในปี2030  จะต้องมีการลงทุนในตัวพลังงานทดแทนให้ได้ 12,000 เมกะวัตต์ตอนนี้มีประมาณ 2,000 เมกะวัตต์ มีตัว EV Value Chain อันนี้อยู่ในตัว Future Energy ก็มีการตั้งบริษัทที่ชื่อว่า ARUN PLUS ที่จะดูธุรกิจ EV ครบวงจร ตั้งแต่แบตเตอรี่  โดยบริษัท Nuovo Plus  จำกัด ดูเรื่องแบตเตอรี่  ส่วนโรงงานผลิตรถ EV  ทำร่วมกับ Foxconn ชื่อว่า บริษัท HORIZON PLUS จำกัด อีกทั้งยังมีการเจรจาหารือกับเอกชนไทย ทำเรื่องมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า รถไฟฟ้า เรื่องสถานีชาร์ต (Charging Station) ตั้งบริษัทชื่อว่าออน-ไอออน ซึ่งโออาร์ เป็นผู้ดำเนินการ  นอกจากนี้ยังจะมีการบริการหลักการขาย ด้วยการ พัฒนา FIT Auto   ให้มีความรู้ในเรื่องของการดูแลรถไฟฟ้า 

ส่วนเรื่อง Energy Storage ก็ GPSC เป็นหัวหอก มีโรงงานต้นแบบแล้วที่ระยอง เป็นเทคโนโลยี Semi-Solid  แล้วก็กำลังจะคุยกับพาร์ทเนอร์ทั้งหลาย และอีกหนึ่งธุรกิจ คือ บริษัท  อินโนบิก (เอเซีย)  จำกัด จะดูเรื่อง Pharmaceutical  คือเรื่องยา และ Medical deviceหรือ เครื่องมือทางการแพทย์ เทคโนโลยีทางการแพทย์ ซึ่งได้เข้าซื้อหุ้นและบันทึกความเข้าใจกับหลายส่วนงาน 

 High Value Business อีกธุรกิจหนึ่งที่ บมจ.พีทีทีจีซี (GC) จะทำหน้าที่เป็นหัวหอกก็คือ การต่อยอดจากปิโตรเคมีพื้นฐานที่เรียกว่า Specialty มากขึ้นในแง่ของการเข้าไปลงทุนซื้อบริษัทที่ใช้นวัตกรรมขั้นสูง เช่น เทคนิคการเคลือบผิวที่เป็น Biotechnology

ไม่ว่าจะเป็น Biofuel Biochemical หรือ Bioplastic ซึ่งสามารถเคลือบได้ตั้งแต่ถนนไปจนถึงยานอวกาศ นายอรรถพล เชื่อว่า GC สามารถสร้างโรงงานที่นครสวรรค์ให้เป็น Bio Hub ของโลกได้

ส่วน AI (ปัญญาประดิษฐ์) , Robotics (หุ่นยนต์) นั้น บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)​  หรือปตท.สผ(PTTEP) จะเป็นผู้ดูแลธุรกิจ AI และ Robotics ซึ่งได้เริ่มทำไปหลายอย่างแล้ว จากการใช้หุ่นยนต์สำรวจท่อและแท่นขุดเจาะใต้ทะเล จากนั้นก็พัฒนาสู่โดรนสำรวจแนวท่อสำรวจสายไฟฟ้าแรงสูงของ กฟผ. ไปจนถึงการสร้างโดรนเพื่อการเกษตร  ที่เรียกว่า “เจ้าเอี้ยง” ซึ่งจะถูกส่งขึ้นไปพ่นยาปราบศัตรูพืชและปุ๋ย

ส่วนMekha Tech – Cloud Provider เป็น Cloud Service ที่ไม่ได้เก็บข้อมูลอย่างเดียว เป็น Cloud ที่รับวิเคราะห์ให้ด้วยอย่างบริษัทเล็กๆ ไม่มีความสามารถที่จะมาจ้างพวก Data Science เก็บข้อมูลวิเคราะห์ให้ด้วย หรือว่า Robot Barista 

หากจะย้อนกลับมาที่คำว่า  “Powering Life” นั้น ปตท ไม่ได้อยู่เฉยๆ ช่วงที่พลังงานแพง  ได้ทำหลายอย่าง เอาเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไป 3,000 ล้านบาท ตรึงราคา NGV ให้ส่วนลดก๊าซหุงต้มกับหาบเร่แผงลอย แล้วก็จัดหาน้ำมันดิบมาเก็บไว้เฉยๆ ช่วงสงครามเพื่อให้มั่นใจได้ว่ามันจะไม่ขาด ซึ่งแน่นอนว่ามันก็ต้องมีค่าใช้จ่ายเช่น เรื่องถัง และ กฟผ. ก็มีการยืดหนี้ให้อะไรให้โดยไม่คิดดอกเบี้ย เพราะว่า กฟผ.  ก็รับภาระไป

ส่วนโควิด ได้ใช้งบประมาณไปแล้วกว่า 2,000 ล้านบาท โดยกลุ่มปตท. เรียกว่า กลุ่ม G-NET ที่จะคุยเรื่อง  Net Zero ในกลุ่ม ข้อตกลงเราไม่มีอะไรมาก คือรัฐบาลประกาศ ปี 2065 บริษัท Flagship รวมถึง ปตท . เนี่ย ต้องประกาศให้เร็วกว่ารัฐบาลเพื่อช่วยประเทศ โดยปตท. จะเป็น Net Zero ปี 2050  โดยผู้บริหารปตท.และพนักงานของบริษัทในเครืออย่าง ปตท.สผ. GC OR IRPC GPSC และ “ไทยออยล์” จะร่วมกันผลักดัน ปตท.สู่ความสำเร็จที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ เพื่อก้าวสู่การเป็นบริษัทพลังงานสะอาดให้สำเร็จภายในปี 2032 กระทั่งสามารถเป็นบริษัทที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์หรือ Net Zero ให้ได้ภายในปี 2050