เปิดจดหมาย “นพ.ปราเสริฐ” ส่งถึงนายกเพื่อเอาชนะไวรัสโควิด ไปด้วยกันทั้งประเทศ ผ่านสุโขทัยโมเดล

  • ยกระดับสาธารณสุข ให้ขวัญกำลังใจอสม.คนละละ 2,000 บาทต่อเดือน โดยตนเองช่วยออกให้คนละ 500 บาท พร้อมพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์
  • ด้านการเกษตรเสนอทุนขุดบ่อน้ำทั่วจังหวัดเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งซ้ำซาก จากที่เคยประกาศไว้ว่าจะออกงบในส่วนนี้ 100 ล้านบาท ขอสืบสานโครงการตามแนวพระราชดำริของในหลวงร. 9
  • พร้อมเสนอแนะปัญหาอื่นๆ หาก “นายก”ยินดีรับฟัง

นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ซึ่งเป็นหนึ่งในมหาเศรษฐีไทย ที่นายกประยุทธ์ จันทร์โอชาได้ทำหนังสือถึงเพื่อขอความคิดเห็นเพื่อช่วยประเทศชาติให้ฝ่าฟันวิกฤตได้ด้วยกัน โดยได้ทำหนังสือตอบกลับ พล.อ.ประยุทธ์ ลงวันที่ 23 เมษายน 2563 เรื่องการให้ความร่วมมือระดับชาติเพื่อเอาชนะโควิด-19 ไปด้วยกันทั้งประเทศ ตามรายละเอียดดังนี้…

ผมนายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ เป็นผู้หน่ึงที่ได้รับหนังสือขอความร่วมมือระดับชาติจากท่านนายกฯเพื่อช่วยเหลือประชาชนคนไทยให้บรรเทาความทุกข์ร้อนจากโควิด-19 นั้น ผมมีความยินดีให้ความร่วมมือ และให้การช่วยหลืออย่างเต็มกำลัง โดยขอเสนอโครงการ“สุโขทัยโมเดล” ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  
1.ภาคสาธารณสุข(เพื่อเอาชนะโควิด-19ไปด้วยกัน)

ทุกกิจกรรมที่ ศบค.ได้ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันนี้ ความเห็นของผมคือ เป็นเรื่องที่ดีมากอยู่แล้ว มาตรการทุกอย่างที่เกิดขึ้น ทำให้เห็นชัดว่า จำนวนของผู้ป่วยโควิด-19 ลดน้อยลงไป และถ้าหากอัตราการติดเชื้อรายใหม่ยังเป็นอยู่แบบนี้ เชื่อว่าภายใน 3 เดือนข้างหน้านี้ จนถึงประมาณปลายดือนกรกฏาคม 2563 ประเทศไทยจะผ่านพ้นความรุนแรงจากวิกฤตนี้ไปได้ ในความคิดของผม ส่ิงที่จะต้องดำเนินการต่อไปคือ
       

1.1 การสร้าง และอบรมอสม.เพื่อมารับงานต่อจากศบค.โดยจะคัดเลือกบุคคลที่จะมาเป็นอสม.หมู่บ้านละ 1 คน หากมี อสม.เดิมอยู่แล้ว ก็ให้ใช้ อสม.เดิมที่ยังปฏิบัติงานอยู่ จังหวัดสุโขทัยมี 843 หมู่บ้าน จึงควรจะมี อสม.ประมาณ 900 คน ทั้งนี้ ภาครัฐจะต้องจัดหางบประมาณมาสนับสนุนเพื่อให้ค่าตอบแทนเป็นขวัญ และกำลังใจ 2,000 บาท/คน/เดือน (โดยงบประมาณในส่วนนี้ ผมยินดีสนับสนุน 500 บาท/คน/ดือน) โดยจะต้องให้อสม.ในโครงการมาอบรมแนวทางการปฏิบัติงาน การดูแลสุขภาพ ฯลฯ หากโครงการนี้เกิดขึ้น อสม.จะสามารถรับช่วงต่อจาก ศบค.ในบางส่วนเพื่ออไปดูแลสุขภาพของประชาชนในหมู่บ้านตนเองต่อไป


1.2 พัฒนาบุคคลากรทางการแพทย์ของโรงยาบาลในจังหวัดสุโขทัย ซึ่งมีอยู่ทั้งส้ินประมาณ 9 โรงพยาบาล ด้วยการสนับสนุนให้บุคคลากรทางการแพทย์ได้ไปอบรม ศึกษา และดูงานเพื่อนำความรู้กลับมาใช้ในการพัฒนาโรงพยาบาลของตนให้มีการรักษาพยาบาลที่ก้าวหน้า และทันสมัยมากขึ้น (ในประเด็นนี้ ผมยินดีสนับสนุนทุน และปัจจัยต่างๆตามที่โรงพยาบาลต่างๆจะร้องขอมาตามสมควร)

2.ภาคประชาชน และเกษตรกรรม


       
หลังจากปัญหาโควิด-19 ผ่านไป ส่ิงที่จะเกิดขึ้นตามมาคือ ปัญหาการขาดแคลนน้ำกิน น้ำใช้ และน้ำในการทำเกษตรกรรม โดยเฉพาะการทำนา ซ่ึงคาดว่า ในปี พ.ศ.2563 – พ.ศ.2564 จังหวัดสุโขทัย จะขาดแคลนน้ำ และประสบปัญหาภัยแล้ว ผมจึงมีแนวคิดจะขอสืบสานโครงการตามแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 คือ โครง การแก้มลิง และโครงการเศรษฐกิจพอเพียง โดยการสร้างอ่างเก็บน้ำ โดยผมจะให้ทีมทำงาน ดำเนินการขุดบ่อน้ำให้กับประชาชนในหมู่บ้านที่จำเป็นก่อน
       
ทั้งนี้จะประสานเพื่อขอความร่วมมือจากผู้ว่าราชการจังหวัด และคณะกรรมการของจังหวัด สำหรับโครงการนี้ สามารถดำเนินการได้ทันที เนื่องจากมีทีมงานที่มีความรู้ มีอุปกรณ์ และเครื่องมือ ฯลฯ พร้อมดำเนินการ
       

นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ


จังหวัดสุโขทัย เป็นจังหวัดที่อยู่ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลางตอนบน เดิมทีจังหวัดสุโขทัยมีแหล่งเก็บน้ำขนาดใหญ่ มีน้ำใต้ดินจำนวนมาก สามารถนำมาใช้เพื่อการเกษตรกรรมได้ และยังมีน้ำจากแก่งเสือเต้นซึ่งเป็นที่รวมของแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน เมื่อรัฐบาลไม่ให้ใช้แก่งเสือเต้น น้ำที่ไหลหลากจากภาคเหนือมาในยามฤดูฝนก็จะไหลผ่านสุโขทัยไปสู่ภาคกลาง และไหลลงทะเลไป ไม่สามารถเก็บกักมาใช้ประโยชน์ในหน้าแล้งได้เลย ไปดูตอนนี้ก็ได้ว่า แม่น้ำยม สามารถเดินข้ามไปอีกฝ่ังได้ เพราะน้ำแล้งแห้งขอดไปหมด ดังนั้นการขุดบ่อน้ำหลายแห่งในหลายๆหมู่บ้าน จะสามารถเก็บกักน้ำไว้ให้ประชาชนได้ใช้ ในขณะเดียวกันประชาชนยังสามารถสร้างอาชีพเลี้ยงปลา และช่วยเหลือในการทำนาปรังบางส่วนได้

ทั้งนี้ ผมพร้อมสนับสนุนเงินทุน โดยขอให้ภาครัฐส่งตัวแทนของจังหวัด หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาช่วยจัดหาพื้นที่ที่มีความเหมาะสม
   
สำหรับบ่อเล็กๆที่จะขุดน้ำใต้ดินมาใช้นี้ หากสามารถเชื่อมต่อกันได้ในอนาคตเพื่อให้เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ก็จะช่วยเหลือในโครงการแก้มลิง และโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นโครงการตามพระราชดำริของพระบาทสม เด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ก็ย่ิงจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรในพ้ืนที่ ในอนาคตข้างหน้า น้ำอาจจะลดน้อยลงไปเรื่อยๆ และไม่มีทางที่จะหามาเพิ่มมได้ ถ้าไม่ทำที่เก็บกักน้ำไว้ ในอนาคตน่าจะช่วยการสร้างแหล่งเก็บน้ำให้ชาวไร่ชาวนาคนไทยเราได้บ้าง
   
อย่างไรก็ดี งานทั้งหมดจะสำเร็จได้นั้น จะต้องได้รับความร่วมมือจากภาครัฐด้วย จึงขอเสนอให้ท่านนายกรัฐมนตรี มีการส่ังการให้หน่วยงานราชการ อาทิ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง โดยผมจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายต่างๆ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าอุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ ที่จะต้องจัดซื้อเพิ่มเติมภายใน 2 ปี ถ้าโครงการนี้ได้ผล ก็น่าจะวางแผนการขยายผลต่อไป
   
และสำหรับผู้ว่าราชการจังหวัด ผมมีความเห็นว่า หากได้อยู่ในตำแหน่งงานอย่างต่อเนื่องในพื้นที่เดิมเป็นระยะเวลานาน จะมีประโยชน์มากในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมาโดยส่วนตัว ผมเคยปรารถเรื่องดังกล่าวกับท่านประธานองคมนตรีคนปัจจุบัน พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์(สมัยเป็นนายกรัฐมนตรี) ว่า เป็นไปได้ไหมที่ผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด นายอำเภอที่ทำงานได้ผลดี ควรจะมีการต่อให้ทำงานในที่เดิมได้ระยะหน่ึง เพื่อสานต่อโคงการต่างๆให้สำเร็จ ถ้ามีการย้ายตำแหน่งงานระหว่างดำเนินโครงการต่างๆอยู่ งานก็จะไม่สำเร็จ
   
การบริหารงานจะสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ผู้บริหารระดับสูงของจังหวัดควรจะอยู่ในตำแหน่งเป็นระยะเวลานาน และต่อเนื่องพอสมควร แม้กระท่ังท่านอดีตประธานองคมนตรี ท่านพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ท่านก็ยินดีที่จะไปดูงานที่สุโขทัย แต่ท่านยังไม่มีโอกาสได้ไป(สอบถามข้อมูลได้จากทส.ทหารบกของท่าน)
   
สำหรับรายละเอียดอื่นๆถ้าท่านนายกรัฐมนตรีเห็นสมควรและมีข้อสงสัยในรายละเอียดเพิ่มเติม ผมยินดีที่จะตอบคำถามผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด หรือบุคคลอื่นใดที่ท่านมอบหมายให้ดูแลโครงการนี้ต่อไป นพ.ปราเสริฐ ได้แสดงความนับถือต่อนายกรัฐมนตรีเป็นการปิดท้ายจดหมายด้วย