เปลี่ยนขยะพลาสติกเป็นของใช้

กำจัดขยะแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง

.เปลี่ยนส่ิงที่ใช้ไม่ได้ให้มีมูลค่า

.ผลิตเสื้อเชิ้ต โปโล ผ้าพันคอ

ขณะที่ขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง (Single-Use Plastic) เป็นปัญหาที่ทุกประเทศต้องจัดการ โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีปริมาณขยะพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งสูงถึง 2 ล้านตันต่อปี บริษัทพีทีที โกลบอล เคมีคอล จำกัด(มหาชน) “PTTGC” หนึ่งในองค์กรที่ผลิตพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งถึง 250,000 ตันต่อปี ได้จับมือกับกลุ่มเสื้อผ้า และแฟชั่นชั้นนำของไทย นำเอาพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้ง และกลายเป็นขยะลอยฟ่องในทะเล กลับมาผลิตเสื้อเชิ้ต และเสื้อโปโล รวมถึงผ้าพันคอ คิดเป็นมูลค่าขายสูงถึง 20 ล้าน บาทในช่วงสามปีที่ผ่านมา

“เราทำเรื่องกำจัดขยะแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งที่เป็นปัญหาด้านการบริหารจัดการขยะในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน โดยการเก็บขยะขวดพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้งได้รวมจำนวน 500,000 ขวดในช่วง 3 ปีที่ผ่าน มา โดยนำมาพัฒนารวมกับแอร์โรว์ในการผลิตเสื้อเชิ้ต และเสื้อโปโล ที่นำขวดพลาสติกใช้แล้วมาผลิต 

ขณะเดียวกันก็ร่วมกับ จิม ทอมป์สัน นำวัสดุนั้นมาผลิตเป็นผ้าพันคอ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยมีมูลค่าการขายรวมตลอดระยะเวลา 3 ปี กว่า 20 ล้านบาท” 

วราวรรณ ทิพพาวนิช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานกิจการองค์ กร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด(มหาชน) “PTTGC” ให้สัมภาษณ์ กับ JNC ในงาน Upcycling For A Better World 2019 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา

ในขณะที่ สุนทร ไกรตระกูล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท คาร์เปท เมกเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ให้สัมภาษณ์ในงานเดียวกันว่า บริษัทเขาได้พัฒนา และวิจัย ร่วมกับ ศูนย์วิจัย และนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน หรือ RISC ในการนำเอาขยะจากขวดพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง มาพัฒนาเป็นพรมทอมือที่ทำจากเส้นใยแปรรูปขยะขวดพลาสติกจากทะเลมาเป็นผลิตภัณฑ์พรมที่มีคุณสมบัติที่ดีกว่าพรมทั่วไปในท้องตลาด 

อาทิ ป้องกันคราบสกปรกและเชื้อรา แต่มีคุณสมบัตินุ่ม ดูแลง่าย และปัองกันไฟได้ในระดับมาตรฐานสากล ASTM D2859

งานออกแบบพรมที่ทำจากขวดพลาสติกใช้แล้วที่เก็บมาจากทะเล ได้รับการตอบรับที่ดีจากตลาด หลังจากที่นำเอาผลงานออกมาแสดงก็มีคนให้ความ สนใจ และส่ังซื้อสินค้าจำนวนไม่น้อย 

“เราจะทำตามคำสั่งซื้อของลูกค้า และเสนอราคาในระดับพรีเมี่ยมให้ เพราะสินค้ามีการออกแบบ และวิจัยเพื่อตอบโจทย์สำหรับลูกค้าที่ใส่ใจกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจุบัน ผู้บริโภคให้ความสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำให้สินค้าที่มีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมได้รับความสนใจจากตลาดภายใต้แนวคิดการออกแบบที่เรียกว่า upcycling carpet มากขึ้น” สุนทร กล่าว

ในขณะที่ รศ.ดร. สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์วิจัย และนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน หรือ RISC ระบุว่า การแก้ปํญหาขยะพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งที่ดีที่สุด คือ การไม่ใช้ 

แต่ในเมื่อเป็นไปไม่ได้ เราก็ต้องมาแก้ปัญหาว่า จะบริหารจัดการเรื่องนี้กันอย่างไร 

การนำเอาเรื่องของงานวิจัย และการออกแบบเข้ามาผสมผสานกันเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภายใต้แนวคิด upcycling หรือ การนำเอาขยะพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ โดยการออกแบบ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวสินค้านั้น 

เป็นแนวทางหนึ่งที่จูงใจให้ผู้ประกอบการเข้ามามีส่วนร่วมในการนำเอาขยะพวกนี้กลับมาใช้ใหม่ และสร้างเป็นสินค้าที่มีส่วนช่วยในการลดขยะประ เภทนี้ลงได้

 “จากผลการศึกษา และวิจัยของเราพบว่า การนำเอากระบวนการ up cycling มาออกแบบ และสร้างเป็นผลิตภัณฑ์จากขยะให้มีมูลค่าเพิ่ม (upcy cling up value) ซึ่งการออกแบบได้สร้างสินค้าที่มีความสวยงามไม่ต่างจากของใหม่ และนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง 

ขณะที่ผู้ใช้ยังมีส่วนร่วมในการลดขยะ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทั้งตัวขยะ และผู้ใช้ที่ได้ชื่อว่าให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมด้วย” รศ.ดร. สิงห์ กล่าว

รายงานล่าสุดของ องค์การสหประชาชาติ ระบุว่า ประเทศในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก ต้องใช้เงินปีละ 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐในการจำกัดขยะพลาส ติกในทะเลที่เกิดจากธุรกิจท่องเที่ยว การจับปลา และการเดินเรือ หรือ ประ มาณ 39,650 ล้านบาทต่อปี ขณะที่กลุ่มประเทศยุโรปใช้งบประมาณในการจัดการขยะพลาสติกในทะเลสูงถึง 630 ล้านยูโรต่อปี หรือ ราวๆ 21,042 ล้านบาทต่อปี(33.64 บาท ณ วันที่ 16 ก.ย.)

รายงานระบุว่า ปัจจุบันร้อยละ 79 ของขยะพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้งทั่วโลกที่ประมาณว่า มีจำนวนมากถึง 400 ล้านตันต่อปี ถูกจัดการด้วยการฝั่งกลบ อีกร้อยละ 12 ถูกเผา มีเพียงร้อยละ 9 ที่ถูกนำกลับมา upcycling

ข้อมูลนี้สะท้อนให้เห็นว่า แต่ละประเทศทั่วโลกใช้งบประมาณไปจำนวนมากสำหรับการบริหารจัดการกับขยะพลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลายได้และก่อให้เกิดมลภาวะกับสิ่งแวดล้อม อย่างกรณีของขยะพลาสติกในทะเลที่ทำให้พะยูน “มาเรียม” ต้องตายไป เป็นต้น

จากต้นทุนในการกำจัดขยะที่เพิ่มขึ้นตามปริมาณของขยะที่เพิ่มขึ้นทำให้แนวคิดในการกำจัดขยะมาสู่การนำเอาขยะมาสร้างมูลค่าเพิ่มภายใต้แนวคิดในการพัฒนาสินค้าที่ใช้ขยะพลาสติกมาเป็นส่วนประกอบจากผลการศึกษา

ล่าสุด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัย Chung-Ang ระบุว่า จำนวนสินค้าในตลาดที่มีป้ายระบุว่า“upcycled”ทั่วโลกมี 30,000 ผลิตภัณฑ์ในปี 2554 และเพิ่มเป็น 263,685 ผลิตภัณฑ์ในปี 2561

ในขณะที่บทความล่าสุดของ นิตยสาร Forbes จากสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาระบุว่า สินค้าแบรนด์ดัง อาทิ Tommy Hilfiger Eileen Fisher และ Adidas ต่างให้ความสำคัญกับการนำเอาวัสดุที่ใช้แล้วรวมทั้งพลาสติกนำกลับมาพัฒนา และสร้างเป็นสินค้าที่ออกขายไปในตลาดทั่วโลก เฉพาะ Adidas ผลิตรองเท้าที่ใช้วัสดุที่ใช้แล้วมาผลิตเป็นรองเท้าออกขายไปในตลาดแล้วถึง 6 ล้านคู่ทั่วโลก

Upcycling ไม่ใช่เป็นเทรนด์ แต่เป็นสิ่งที่คนทั่วโลกให้ความสำคัญกับ การกำจัดทิ้ง แม้จะเสียงบประมาณ และมีค่าใช้จ่ายสูง แต่การใช้เทคโนโลยีเพื่อผลิต และนำกลับมาใช้ใหม่ ด้วยการพัฒนาให้เป็นสินค้าแฟชั่น เป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น เป็นการนำเอาเทคโนโลยี รวมกับนวัตกรรมของการออกแบบมา ใช้ในการแก้ไขปัญหาขยะอย่างดีย่ิง” รศ.ดร.สิงห์ กล่าว

ถ้าเช่นนั้น พวกเราจะรอช้าอยู่ทำไม รีบๆเข้าไปช่วยพวกเขากันคนละไม้คนละมือดีกว่า เพื่อโลกของเรา และอนาคตที่ดีของลูกหลาน