อาการน่าเป็นห่วง!… ฝนถล่มทำถนนทางหลวงใน 18 จังหวัดพังยับ ประชาชนสัญจรไม่ได้ 22 แห่ง

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า จากสถานการณ์ฝนตกหนักในหลายพื้นที่ทำให้ถนนในกำกับกรมทางหลวงพังเสียหาย ดังนั้นกรมทางหลวงจึงได้ร่วมบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการลงพื้นที่ เพื่อช่วยเหลือประชาชน พร้อมเร่งระบายน้ำบำรุงรักษาเส้นทางที่ได้รับผลกระทบพร้อมติดตั้งป้ายเตือนและอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยแก่ผู้ใช้เส้นทาง ในขณะที่บางพื้นที่ก็มีการล้างทำความสะอาดถนน ทางลอดใต้สะพานหลังจากน้ำลดลงบ้างแล้ว เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้รับความสะดวกปลอดภัยในการสัญจรโดยเร็วที่สุดอย่างต่อเนื่อง24 ชั่วโมง พร้อมทั้งเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อช่วยประชาชนอย่างทันท่วงที

พร้อมกันนี้กรมทางหลวง ได้ทำการสรุปสถานการณ์อุทกภัยและดินสไลด์บนทางหลวง โดยสถานการณ์ประจำวันที่ 7 ตุลาคม 2565 เวลา 12.30 น. พบทางหลวงถูกน้ำท่วม/ดินสไลด์ในพื้นที่ 18 จังหวัด ได้แก่ จ.เลย, จ.ศรีสะเกษ, จ.สุรินทร์, จ.บุรีรัมย์, จ.นครราชสีมา, จ.ขอนแก่น, จ.มหาสารคาม, จ.ชัยภูมิ, จ.อุบลราชธานี, จ.ร้อยเอ็ด, จ.ลพบุรี, จ.สุพรรณบุรี, จ.อ่างทอง, จ.พระนครศรีอยุธยา, จ.สิงห์บุรี, จ.ปราจีนบุรี, จ.เพชรบูรณ์ และ จ.ประจวบคีรีขันธ์ จำนวน48 สายทาง จำนวน 65 แห่ง ทางหลวงที่การจราจรผ่านได้ 43 แห่ง  การจราจรผ่านไม่ได้ 22 แห่ง ในพื้นที่ 8 จังหวัดโดยทุกจุดมีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวกด้านการจราจร รายละเอียดดังนี้

1.จังหวัดขอนแก่น จำนวน 2 แห่ง 

– บนทางหลวงหมายเลข 2065 ตอน พล – ลำชี ในพื้นที่ อ.พล ช่วง กม.ที่ 33+150 – 34+000 ระดับน้ำ 50 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน

– บนทางหลวงหมายเลข 2183 ตอน น้ำพอง – โคกท่า ในพื้นที่ อ.น้ำพอง ช่วง กม.ที่ 14+500 – 15+100 ระดับน้ำ40 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน

2. จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 1 แห่ง บนทางหลวงหมายเลข 2179 ตอน จตุรัส – บำเหน็จณรงค์ ในพื้นที่ อ.บำเหน็จณรงค์ช่วง กม.ที่ 13+500 – 13+600 น้ำกัดเซาะคันทางชำรุด ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน

3. จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 7 แห่ง ได้แก่ 

– ทางหลวงหมายเลข 226 ตอน ศรีสะเกษ – ห้วยขะยุง ในพื้นที่ อ.กันทรารมย์ ช่วง กม.ที่ 311+900 – 313+384 ระดับน้ำ 60 – 80 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน

– ทางหลวงหมายเลข 2083 ตอน หัวช้าง – สะเดา ในพื้นที่ อ.ราษีไศล ช่วงกม.ที่ 16+000 – 19+500 ระดับน้ำ 30 – 60 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน

– ทางหลวงหมายเลข 2086 ตอน บ้านด่าน – เมืองน้อย ในพื้นที่ อ.ราษีไศล ช่วงกม.ที่ 27+500 – 29+000 ระดับน้ำ40 – 60 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน

– ทางหลวงหมายเลข 2086 ตอน บ้านด่าน – เมืองน้อย ในพื้นที่ อ.ราษีไศล ช่วง กม.ที่ 30+000 – 31+500 ระดับน้ำ40 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน

– ทางหลวงหมายเลข 2086 ตอน เมืองน้อย – กันทรารมย์ ในพื้นที่ อ.กันทรารมย์ ช่วง กม.ที่103+500 – 107+125 เป็นช่วงๆ ระดับน้ำ 50 – 80 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน

– ทางหลวงหมายเลข 2373 ตอน โนนสำนัก – ดอนไม้งาม ในพื้นที่ อ.เมือง ช่วง กม.ที่ 12+000 – 14+625 ระดับน้ำ30 – 40 ซม.

– ทางหลวงหมายเลข 2412 ตอน ท่าศาลา – ละทาย ในพื้นที่ อ.กันทรารมย์ ช่วง กม.ที่ 12+000 – 16+500 เป็นช่วงๆ ระดับน้ำ 70 – 80 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน

4. จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ 

–  ทางหลวงหมายเลข 226 ตอน ลำน้ำชี – บ้านพม่า ในพื้นที่ อ.เมือง ช่วง กม.ที่ 162+750 – กม.164+600 ระดับน้ำ45 ซม. ให้ใช้ทางเลี่ยง ทล.2485 และ ทล.293 แทน 

– ทางหลวงหมายเลข 2378 ตอน จอมพระ – สะพานบุรีรินทร์ ในพื้นที่ อ.จอมพระ ช่วง กม.ที่ 18+900 – กม.20+040 ระดับน้ำ 50 ซม.

5. จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 1 แห่ง บนทางหลวงหมายเลข 2378 ตอน สะพานบุรีรินทร์ – ไทรงาม ในพื้นที่ อ.สตึก ช่วงกม.ที่ 20+00 – 20+650 ระดับน้ำ 60 ซม.

6. จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 5 แห่ง 

– ทางหลวงหมายเลข 24 ตอน วารินชำราบ – อุบลราชธานี ในพื้นที่ อ.วารินชำราบ ช่วง กม.ที่ 418+400 – 419+600 ระดับน้ำ 95 ซม. แนะนำเส้นทางเลี่ยง ทล.217 ทางแยกต่างระดับบัวเทิง เลี้ยวซ้ายไปสะพานข้ามแม่น้ำมูลเข้าสู่ตัวเมืองอุบลราชธานี

– ทางหลวงหมายเลข 226 ตอน ห้วยขะยุง – วารินชำราบ ในพื้นที่ อ.วารินชำราบ ช่วง กม.ที่ 313+400 – 314+200 ระดับน้ำ 65 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน

– ทางหลวงหมายเลข 226 ตอน ห้วยขะยุง – วารินชำราบ ในพื้นที่ อ.วารินชำราบ ช่วง กม.ที่ 319+600 – 320+200 ระดับน้ำ 120 ซม.

– ทางหลวงหมายเลข 231 ตอน ถนนวงแหวนรอบเมืองอุบลราชธานี ในพื้นที่ อ.เมือง ช่วง กม.ที่ 3+600 – 7+800 ระดับน้ำ 5 – 110 ซม. ใช้ทางเลี่ยงถนนวงแหวนด้านทิศตะวันออก ทล.231

– ทางหลวงหมายเลข 2404 ตอน เขื่องใน – นาคำใหญ่ ในพื้นที่ อ.เขื่องใน ช่วง กม.ที่ 14+120 – 14+550 ระดับน้ำ55 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยง ทล.2408 และ 2382

7. จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 1 แห่ง บนทางหลวงหมายเลข 291 ตอน ทางเลี่ยงเมืองมหาสารคาม ในพื้นที่ อ.เมืองช่วง กม.ที่ 2+751 – 7+635 ระดับน้ำ 60 – 90 ซม. 

8. จังหวัดอ่างทอง จำนวน 3 แห่ง ได้แก่

– ทางหลวงหมายเลข 33 ตอน นาคู – ป่าโมก ในพื้นที่ อ.ป่าโมก ช่วง กม.ที่ 36+000 – 36+200 ระดับน้ำนอกคันกั้นดิน 80 ซม. ท่วมผิวจราจร 10 ซม.

– ทางหลวงหมายเลข 3501 ตอน อ่างทอง – บางหลวงโดด ในพื้นที่ อ.ป่าโมก ช่วง กม.ที่ 9+900 – 10+400 ระดับน้ำนอกคันกั้นดิน 80 ซม. ท่วมผิวจราจร 10 ซม.

– ทางหลวงหมายเลข 3501 ตอน อ่างทอง – บางหลวงโดด ในพื้นที่ อ.ป่าโมก ช่วง กม.ที่ 10+400 – 11+000 ระดับน้ำนอกคันกั้นดิน 80 ซม. ท่วมผิวจราจร 10 ซม.

ทั้งนี้ กรมทางหลวงได้สั่งการให้ สำนักงานทางหลวง แขวงทางหลวง หมวดทางหลวงทั่วประเทศ เฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากมีพื้นที่ใดประสบปัญหา เจ้าหน้าที่จะเข้าพื้นที่เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนทันที ตามนโยบายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม  นอกจากนี้กรมทางหลวงได้ติดตั้งป้ายเตือนและอุปกรณ์ความปลอดภัย อุปกรณ์นำทาง ในบริเวณทางหลวงที่ถูกน้ำท่วม พร้อมเฝ้าระวังสถานการณ์จนกว่าจะคลี่คลายโดยขอให้ประชาชนผู้ใช้ทางโปรดใช้ความระมัดระวังในการเดินทาง ปฏิบัติตามป้ายเตือน ป้ายแนะนำ และคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด หากประชาชนต้องการสอบถามสภาพเส้นทาง สภาพการจราจร หรือ ต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อ ได้ที่สำนักงานทางหลวง แขวงทางหลวง หมวดทางหลวงในพื้นที่ และสายด่วนกรมทางหลวง1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง) และสามารถติดตามการรายงานสถานการณ์สภาพเส้นทางและเส้นทางเลี่ยงได้ที่ทวิตเตอร์กรมทางหลวง @prdoh1