อย่าเพิ่งดีใจ!การพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัสอู่ฮั่น เร็วสุดต้องใช้เวลาเป็นปี

อย่าเพิ่งดีใจกับข่าวถึงความสำเร็จของการพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัสอู่ฮั่น หลายฝ่ายคาดกันอย่างเร็วสุดต้องใช้เวลาเป็นปี

ท่ามกลางการหวั่นวิตกของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่หลายๆ ประเทศกำลังเผชิญการระบาดอย่างรวดเร็ว ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกำลังแข่งขันกันพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสโควิด-19 มีหลายๆ ข่าวดีถึงความสำเร็จของการพัฒนาวัคซีนแล้ว แต่ก็ยังคาดกันว่าใช้เวลาอีกเป็นปี 

Greffex Inc ซึ่งเป็นบริษัทด้านวิศวพันธุวิศวกรรมจากรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา อ้างว่าสามารถผลิตวัคซีนป้องกันการติดเชื่อไวรัสโควิด-19 เสร็จสิ้นแล้วพร้อมทดลองในสัตว์ตามด้วยการพัฒนาในมนุษย์ ขณะนี้รอการตรวจสอบจากหน่วยงานในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการพัฒนาโดยไม่ใช่ไวรัสที่มีชีวิตอยู่ เป็นเชื้อไวรัสที่ไม่สามารถก่อโรคได้ 

ขณะที่ Moderna Inc. บริษัทด้านชีวเทคโนโลยีในอังกฤษเตรียมนำวัคซีนพร้อมทดลองในคน โดยจะเริ่มกระบวนได้ในเดือนเมษายนที่จะถึงนี้  รวมทั้งส่วนนักพัฒนาจากเมืองออสติน รัฐเท็กซัส อย่างไรก็ตามจะเป็นขั้นตอนแรกของการนำงวัคซีนมาใช้ได้จริง 

ก่อนหน้านี้  มหาวิทยาลัยเทียนจิน ของจีน ประสบความสำเร็จในการพัฒนาวัคซีนชนิดรับประทาน เพื่อต่อต้านเชื้อไวรัสดังกล่าว โดย หวงจินไห่ ศาสตราจาร์ยประจำมหาวิทยาลัย และผู้นำในโครงการพัฒนาวัคซีนดังกล่าว ได้ทดสอบวัคซีนจำนวน 4 โดสกับตนเอง และไม่พบว่ามีผลข้างเคียงใดๆ ซึ่งตอนนี้ทางมหาวิทยาลัยเทียนจิน กำลังมองหาหุ้นส่วนเพื่อร่วมผลักดันในขั้นตอนการทดลองทางคลินิก และการใช้งานวัคซีนดังกล่าวเป็นวงกว้าง พร้อมระบุว่า วัคซีนมีความปลอดภัยในระดับสูงมาก อีกทั้งยังใช้งานง่าย และสามารถผลิตในปริมาณมากได้อย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตามขณะเดียวกันคาดกันว่ากระบวนการหลังการพัฒนาสำเร็จก็คือการทดสอบและการผลิตซึ่งอาจต้องใช้เวลาประมาณ 18 เดือนหรือ 2 ปีแต่เริ่มเป็นความหวังในขณะที่ไวรัสดังกล่าวแพร่ระบาดในหลายประเทศอย่างรวดเร็ว

ซึ่งสอดรับกับ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟสบุ๊กส่วนตัวว่า การผลิตวัคซีนป้อวกันโรคโควิด-19 อาจทำได้ยากภายใน 1 ปี เพราะมีค่าใช้จ่ายสูง และต้องใช้เวลาและคาดว่าประเทศที่ทำสำเร็จได้ก่อนคือ สาธารณรัฐประชาชนจีน เพราะได้มีการระดมนักวิทยาศาสตร์จำนวนมาก เครื่องไม้ เครื่องมือและเงินทุน ที่จะต้องเอาชนะกับโรคร้ายนี้ใด้ได้

สำหรัยบประเทศไทย ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่า สามารถเพาะเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเซลล์ได้แล้ว ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาวัคซีนป้องกัน และยารักษาโรคนี้ได้ โดยจะร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย องค์การเภสัชกรรม และสถาบันวัคซีน ในการวิจัยและพัฒนาวัคซีนต่อไป ซึ่งต้องใช้เวลา แต่ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี