อย่ามั่วทานเพลิน!! พบน้ำพริกหนุ่มมีสารกันบูดเกินมาตรฐาน

  • ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อเผยผลตรวจสารกันบูดในน้ำพริกหนุ่ม17 ยี่ห้อรอบสอง
  • พบเพียง2 ยี่ห้อที่ตรวจไม่พบสารกันบูดที่เหลือกว่า63% พบสารกันบูดเกินมาตรฐาน
  • แนะหน่วยงานรัฐลงพื้นที่สุ่มตรวจคุณภาพของฝากระดับจังหวัดทั่วประเทศ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคร่วมกับเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคเหนือภายใต้โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพได้รวมกันสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำพริกหนุ่มในพื้นที่ภาคเหนือจำนวน17 ตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์หาปริมาณวัตถุกันเสียประเภทกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิกเป็นครั้งที่หลังจากเคยสุ่มตรวจในครั้งแรกเมื่อเดือนมี..2561 โดยผลทดสอบมีดังนี้พบน้ำพริกหนุ่มตัวอย่างที่ตรวจไม่พบสารกันบูดเลยได้แก่ 

1) น้ำพริกหนุ่มอุ้ยคำ(ตราขันโตก) จากตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่ 2) น้ำพริกหนุ่มยี่ห้อวรรณภาจากร้านวรรณภาจ.เชียงราย

ทั้งนี้มีน้ำพริกหนุ่มตัวอย่างที่ตรวจพบสารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิกแต่ไม่เกินมาตรฐาน(ไม่เกิน500 มก./กก.)ได้แก่ 

1) ยี่ห้อแม่ศรีนวลจากร้านของฝากสามแยกเด่นชัย.แพร่พบปริมาณกรดเบนโซอิก30.67 มก./กก. 

2) ยี่ห้อมารศรีน้ำพริกหนุ่มสูตรดั้งเดิมจากตลาดสดแม่ต๋ำ.พะเยาพบปริมาณกรดเบนโซอิก36.92 มก./กก

3) ยี่ห้อแม่มารศรีน้ำพริกหนุ่มปลาร้าจากร้านปะเลอะเยอะแยะ.เชียงรายพบปริมาณกรดเบนโซอิก41.73 มก./กก

4) ยี่ห้อป้าแอ็ดจากตลาดหลักเมือง.ลำปางพบปริมาณกรดเบนโซอิก387.38 มก./กก.

5) ยี่ห้อศุภลักษณ์รสเผ็ดมากจากตลาดสดแม่ต๋ำ.พะเยาพบปริมาณกรดเบนโซอิก51.92 มก./กกและกรดซอร์บิก338.17 มก./กก. (รวม390.09 มก./กก.)

6) ยี่ห้ออำพันจากร้านข้าวแต๋นของฝาก.ลำปางพบปริมาณกรดเบนโซอิก435.29 มก./กก.

7) น้ำพริกหนุ่มอุ้ยแก้วจากตลาดสดแม่ต๋ำ.พะเยาพบปริมาณกรดเบนโซอิก437.27 มก./กก.

และ8) ยี่ห้อนันทวัน(เจียงฮายสูตรดั้งเดิมจาก.เชียงรายพบปริมาณกรดเบนโซอิก455.80 มก./กก.

อย่างไรก็ตามทางศูนย์ทดสอบฯตั้งข้อสังเกตถึงปริมาณกรดเบนโซอิกที่ตรวจพบเล็กน้อยอาจเป็นกรดเบนโซอิกจากธรรมชาติซึ่งไม่ได้มาจากการเติมโดยผู้ผลิตเพราะสารกันบูดในปริมาณน้อยไม่เพียงพอต่อการใช้เพื่อการถนอมอาหาร

สำหรับน้ำพริกหนุ่มที่เหลืออีกตัวอย่างตรวจพบปริมาณสารกันบูดมากกว่า500 มก./กกซึ่งเกินมาตรฐานได้แก่ 

1) ร้านดำรงค์จากตลาดวโรรส.เชียงใหม่พบปริมาณกรดเบนโซอิก890.32  มก./กก.

2) น้ำพริกหนุ่มล้านนาจากตลาดของฝากเด่นชัย.แพร่พบปริมาณกรดเบนโซอิก1026.91 มก./กก.

3) ยี่ห้อนิชา(เจ๊หงส์น้ำพริกหนุ่มจากตลาดวโรรส.เชียงใหม่พบปริมาณกรดเบนโซอิก1634.20 มก./กก.

4) ยี่ห้อเจ๊หงส์จากตลาดวโรรส.เชียงใหม่พบปริมาณกรดเบนโซอิก1968.85 มก./กก

5) ยี่ห้อแม่ชไมพรจากตลาดสดอัศวิน.ลำปางพบปริมาณกรดเบนโซอิก2231.82 มก./กก.

6) ยี่ห้อยาใจ(รสเผ็ดจากร้านของฝากสามแยกเด่นชัย.แพร่พบปริมาณกรดเบนโซอิก3549.75 มก./กก.

และ7)น้ำพริกหนุ่มอุมาจากตลาดสดแม่ต๋ำ.พะเยาพบปริมาณกรดเบนโซอิก5649.43 มก./กก.

ทั้งนี้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเลขที่389 .. 2561 เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร(ฉบับที่5) อนุญาตให้ตรวจพบวัตถุกันเสียประเภทกรดเบนโซอิกปริมาณสูงสุดได้ไม่เกิน500 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหารกิโลกรัมและประเภทกรดซอร์บิกปริมาณสูงสุดได้ไม่เกิน1000 มก./กกในหมวดอาหารประเภทเครื่องปรุงรส

นางสาวมลฤดี โพธิ์อินทร์ นักวิชาการด้านอาหารมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า จากผลทดสอบตัวอย่างน้ำพริกหนุ่มที่พบสารกันบูดสูงสุดนั้นมีปริมาณสูงถึง5649.43มก./กก.ซึ่งเกินกว่าที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ถึง11เท่า

นอกจากนี้หากมีการใช้วัตถุเจือปนอาหารเช่นวัตถุกันเสียก็ต้องระบุข้อมูลการใช้สารกันบูดไว้บนฉลากบรรจุภัณฑ์ให้ผู้บริโภคทราบซึ่งน้ำพริกหนุ่มทั้ง17 ตัวอย่างพบว่ามีเพียงตัวอย่างหรือ11% เท่านั้นที่ระบุว่าใช้วัตถุกันเสียโดยเฉพาะน้ำพริกหนุ่มยี่ห้อที่มีปริมาณสารกันบูดเกินมาตรฐานนั้นไม่มียี่ห้อใดเลยที่ให้ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์ว่าใช้สารกันบูด

นางสาวมลฤดี กล่าวต่อว่า นอกจากสินค้าของฝากอย่างน้ำพริกหนุ่มโรตีสายไหมและแกงไตปลาแห้งแล้วมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้เคยสุ่มตรวจสารกันบูดในขนมปังไส้เฉาก๊วยและขนมจีนซึ่งส่วนใหญ่พบว่าผู้ประกอบการไม่ได้มีการแสดงฉลากให้ถูกต้องชัดเจนโดยเฉพาะข้อมูลเรื่องการใช้วัตถุเจือปนอาหารประเภทสารกันบูดจึงอยากเสนอให้หน่วยงานของรัฐที่กำกับดูแลได้ออกกฎหมายข้อกำหนดหรือบทลงโทษให้ผู้ประกอบการได้มีการจัดทำฉลากบนบรรจุภัณฑ์ให้ชัดเจนและเป็นรูปธรรมเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค

นอกจากนี้ในเรื่องสินค้าประเภทของฝากก็อยากฝากให้หน่วยงานที่กำกับดูแลในระดับจังหวัดได้ลงพื้นที่สุ่มตรวจคุณภาพของฝากร่วมกับผู้ประกอบการเพื่อช่วยกันพัฒนาคุณภาพของฝากให้ได้มาตรฐานสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค” นางสาวมลฤดีกล่าว

นางสาวพวงทอง ว่องไว เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคเหนือ กล่าวว่า น้ำพริกหนุ่มถือว่าเป็นสินค้าประจำภาคเหนือที่นักท่องเที่ยวนิยมซื้อหาเป็นของฝากจากผลตรวจน้ำพริกหนุ่มในครั้งนี้พบว่ากว่า63%นั้นมีปริมาณสารกันบูดเกินมาตรฐานสิ่งที่ทางเครือข่ายจะดำเนินงานต่อคือการประสานสำนักงานสาธารณสุขในพื้นที่เพื่อช่วยกันสำรวจคุณภาพมาตรฐานสินค้าของฝากประเภทอื่นๆนอกจากน้ำพริกหนุ่มรวมถึงได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้วัตถุเจือปนอาหารให้ถูกต้องกับผู้ประกอบการเพื่อช่วยกันยกระดับมาตรฐานของฝากภาคเหนือสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว