อย่าชะล่าใจ เช็ค 9 อาการ “โรคซึมเศร้า” เราเข้าข่ายหรือไม่

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา “โรคซึมเศร้า” ได้กลายเป็นหนึ่งในโรคที่ส่งผลกับคนไทยมากขึ้น และหลายครั้งมีข่าว “ฆ่าตัวตาย” จากอาการซึมเศร้า ซึ่งแพทย์ระยุว่า ไม่ได้ไกลตัว และอาจเกิดขึ้นได้โดยที่เจ้าตัวไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร หรือถ้ากำลังสงสัยว่าตัวเองหรือคนใกล้ชิดเป็นโรคซึมเศร้า ให้สังเกตอาการตามลิสต์ 9 ข้อดังต่อไปนี้

อาการที่ 1 : มีอารมณ์ซึมเศร้า รู้สึกโดดเดี่ยวแม้อยู่กับคนอื่น ขณะที่เด็กหรือวัยรุ่นอาจมีอาการหงุดหงิด โกรธง่าย ขี้รำคาญ

อาการที่ 2 : รู้สึกเบื่อ หมดความสนใจหรือ หมดความสุขในการทำกิจกรรมที่เคยทำอย่างสนุกสนาน อยู่ๆก็อยากร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุที่่ชัดเจน

อาการที่ 3 : นอนไม่หลับ หรือหลับๆตื่นๆ หรือหลับมากผิดปกติ อยากนอนทั้งวัน

อาการที่ 4 : รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายหรือไม่ค่อยมีแรง

อาการที่ 5 : รู้สึกเบื่ออาหารหรืออยากกินตลอดเวลา ทั้งที่ไม่ได้หิว น้ำหนักลดหรือเพิ่มขึ้นมากกว่า 5% ของน้ำหนักเดิมอย่างรวดเร็ว หรือรู้สึกอยากใช้จ่ายเงินตลอดเวลา

อาการที่ 6 : รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง คิดว่าตัวเองไร้ค่า 

อาการที่ 7 : สมาธิสั้นลง  ลังเลใจตัดสินใจไม่ได้ ย้ำคิดย้ำทำ ขาดความมั่นใจในตนเอง

อาการที่ 8 : พูดช้า ทำอะไรช้าลงหรือกระวนกระวาย ไม่อยู่นิ่ง 

อาการที่ 9 : มีความคิดอยากตาย คิดทำร้ายตัวเอง

ถ้าหากเข้าข่ายมีอาการดังกล่าว มากกว่า 5 ข้อ และเป็นต่อเนื่องติดต่อไม่ต่ำกว่า 14 วัน รวมทั้งมีประวัติมีเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง มีความสูญเสีย ผิดหวัง หรือมีความเครียดสะสม รู้สึกทุกข์ใจมายาวนาน ควรพบแพทย์เพื่อพูดคุยติดตามอาการ

แล้วคนไหนที่มีความเสี่ยง “ซึมเศร้า” ได้สูงกว่าคนอื่น โรคซึมเศร้า มีสาเหตุได้หลายประการ ทั้งความผิดปกติของสารเคมีภายในสมอง โดยสารเซโรโทนิน (Serotonin) และนอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) ลดน้อยลงจากเดิม รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมนจากภาวะตั้งครรภ์ หรือภาวะต่อมไทรอยด์ผิดปกติ

ขณะที่คนที่เผชิญความเครียด เจอมรสุมชีวิตโดยไม่ทันได้ตั้งตัว ตกงาน มีปัญหาเรื่องการเงินที่หาทางออกไม่ได้ มีปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด ถูกใช้ความรุนแรงหรือถูกล่วงละเมิดในวัยเด็ก รวมทั้งคนที่มีลักษณะนิสัย คนที่มีความเชื่อมั่นในตัวเองต่ำหรือสูงมากเกินไป มองโลกในแง่ร้าย หรือชอบตำหนิกล่าวโทษตนเอง มีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าคนที่มองโลกในแง่บวกและเห็นคุณค่าในตนเอง 

ดังนั้น หากใครลักษณะนิสัย หรืออยู่ในภาวะดังกล่าว ควรที่จะระมัดระวังความคิดและจิตใจ พยายามฝึกให้ตัวเอง “คิดบวก” ในทุกเรื่อง ขณะที่การทำสมาธิ (Mindfulness) จะช่วยให้สมองและจิตใจผ่อนคลาย ลดความเครียดได้ 

นอกจากนั้น ในหากคุณอยู่ในช่วงของการอดอาหารอย่างเข้มงวด จะสร้างความเครียดสะสมได้เช่น ดังนั้น ขอให้ให้กินอาหารครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะสารอาหารที่ช่วยลดความเสี่ยงโรคซึมเศร้า เช่น โอเมก้า 3 วิตามิน อี ซี ดี ทองแดง ธาตุเหล็ก พยายายาม หาวิธีแก้เครียด ออกกำลังกาย ดูหนังฟังเพลง หรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง และพักผ่อนให้เพียงพอ