“อนุทิน-ศักดิ์สยาม” นำคณะเข้าร่วมประชุมสุดยอดด้านการบินชางงี สิงคโปร์ รองรับอุตสาหกรรมการบินฟื้นหลังโควิดซบ!

.ย้ำจุดยืนไทยร่วมกับผู้นำด้านการบินทุกภาคส่วน

.ฟื้นฟูอุตสาหกรรมการบินหลังการแพร่ระบาดโควิด19

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 17-18 พ.ค. 2565 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข จะนำคณะจากประเทศไทยซึ่งประกอบด้วย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ปลัดกระทรวงคมนาคม และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมท่าอากาศยาน สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท วิทยุการบิน จำกัด และสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม เข้าร่วมการประชุมสุดยอดด้านการบินชางงี 2565 (Changi Aviation Summit 2022) ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์

โดยการประชุมสุดยอดด้านการบินชางงี 2565 จะเป็นโอกาสที่ผู้นำด้านการบินโลกและจากทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานรัฐ เอกชน องค์กรระหว่างประเทศเข้าร่วม ซึ่งในการประชุมจะมีการแสดงแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของ ผู้นำด้านการบินต่อบทบาทของการบินพลเรือนในการสร้างความเชื่อมโยงเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของโลก โดยการนำมาตรฐานและแนวปฏิบัติขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ ICAO มาใช้เพื่อขับเคลื่อนการฟื้นฟูภาคการบิน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ โดยคำนึงถึงมาตรการด้านสาธารณสุข ตลอดจนการสนับสนุนการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้เพื่อพัฒนาภาคการบินพลเรือน ให้มีความปลอดภัย รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อความท้าทายที่เกิดขึ้นทั่วโลก

โดยการประชุมสุดยอดด้านการบินชางงี 2565 จะเป็นโอกาสที่ผู้นำด้านการบินโลกและจากทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานรัฐ เอกชน องค์กรระหว่างประเทศเข้าร่วม ซึ่งในการประชุมจะมีการแสดงแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของ ผู้นำด้านการบินต่อบทบาทของการบินพลเรือนในการสร้างความเชื่อมโยงเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของโลก โดยการนำมาตรฐานและแนวปฏิบัติขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ ICAO มาใช้เพื่อขับเคลื่อนการฟื้นฟูภาคการบิน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ โดยคำนึงถึงมาตรการด้านสาธารณสุข ตลอดจนการสนับสนุนการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้เพื่อพัฒนาภาคการบินพลเรือน ให้มีความปลอดภัย รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อความท้าทายที่เกิดขึ้นทั่วโลก

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ในการประชุมครั้งนี้ นายอนุทิน จะกล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมถึงนโยบายและแผนปฏิบัติการของประเทศไทยต่อการลดการปล่อยมลพิษในภาคการบิน ซึ่งเป็นการสนับสนุนเป้าหมายหลักของความตกลงปารีส ค.ศ.2015 ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ทั้งนี้ ประเทศไทยมีแผนปฏิบัติการเพื่อลดการปล่อยมลพิษในภาคการบินซึ่งยื่นต่อ ICAO แล้ว 3 ฉบับ ประกอบด้วย ฉบับปี 2556, 2561 และฉบับปัจจุบัน 2564 ซึ่งประกอบด้วยมาตรการที่ใช้ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านการดำเนินการ 4 ด้าน ได้แก่ เทคโนโลยีอากาศยาน การพัฒนาท่าอากาศยาน การพัฒนาการปฏิบัติการของอากาศยาน และมาตรการทางการตลาด