“หัวเว่ย” รวมพลังนักวิจัยนานาชาติ ลุยแก้ปัญหาด้านการจัดเก็บข้อมูลในอุตสาหกรรมโลก

  • นวัตกรรม อยู่ในสายเลือดของหัวเว่ย
  • พัฒนาอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจยุคดิจิทัล
  • สู่การจัดตั้งชุมชนเทคโนโลยีชั้นสูงทั่วโลก

นายวิลเลียม ซู หนึ่งในคณะกรรมการและประธานของสถาบันค้นคว้าด้านกลยุทธ์ของหัวเว่ยกล่าวภายในงานประชุมGlobal Storage Professors Forum ประจำปี 2020 ว่า งานวิจัยการจัดเก็บข้อมูลในเจเนอเรชันถัดไปจะมุ่งไปสู่นวัตกรรมที่พัฒนาอย่างเป็นระบบสำหรับสื่อประเภทต่างๆ เครือข่าย สถาปัตยกรรม และรูปแบบการจัดการ เมื่อเทียบกันกับการประกาศรางวัล OlympusMons ปี พ.ศ. 2563 ซึ่งเน้นการจัดการข้อมูลแบบทำงานด้วยตัวเอง และการจัดเก็บข้อมูลแบบมีประสิทธิภาพสูงสุดในระดับ per-bit นั้น จะเห็นได้ว่าปีนี้หัวเว่ยให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างภาคอุตสาหกรรม ภาคมหาวิทยาลัย และภาคสถาบันค้นคว้าวิจัยมากขึ้น โดยหวังที่จะโปรโมทการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจยุคดิจิทัลผ่านการจัดตั้งชุมชนเทคโนโลยีชั้นสูงทั่วโลก

“นวัตกรรมนั้นอยู่ในสายเลือดของหัวเว่ย เรามุ่งมั่นที่จะก้าวสู่ความเป็นเลิศ เป็นผู้นำ สร้างสรรค์นวัตกรรม และเพื่อนำผลการค้นคว้าของนักวิทยาศาสตร์มาทำให้เป็นเรื่องจริง โดยหัวเว่ยได้ทำงานร่วมกับนักวิจัย เพื่อก้าวผ่านความท้าทายต่าง ๆ และนำความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์เข้าสู่กระบวนการทางพาณิชย์”

“ระบบใหญ่ของข้อมูลนั้นประกอบด้วย 3 ส่วน คือ การคำนวณ เครือข่าย และการจัดเก็บข้อมูล การคำนวณและการจัดเก็บข้อมูลนั้นได้รับความสนใจมากพอแล้วในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ช่วงเวลานี้จึงถือเป็นช่วงเวลาที่ดีที่ตจะให้ความสำคัญกับระบบจัดเก็บข้อมูลซึ่งถือเป็นศูนย์กลางของทั้งระบบ การจัดเก็บข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญต่อแผนระดับประเทศของเราเพื่อการสร้างโครงสร้างพื้นฐานใหม่ ๆ เพราะเป็นรากฐานของการประมวลผลคอมพิวเตอร์ทั้งหมด นวัตกรรมด้านการจัดเก็บข้อมูล ไม่ควรหยุดอยู่ที่ฮาร์ดแวร์เท่านั้น แต่ควรมองไปถึงความก้าวหน้าด้านซอฟต์แวร์ด้วย” นายเจิ้ง เว่ยมิน นักวิชาการจากสถาบันวิศวกรรมแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และศาสตราจารย์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยซิงหัว กล่าว

ปัจจุบัน ข้อมูลกลายเป็นปัจจัยสำคัญในเศรษฐกิจยุคดิจิทัล เทรนด์การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลได้รับความนิยมมากขึ้นในระดับองค์กร รวมไปถึงเทคโนโลยี Cloud, Big Data, 5G และ AI เร่งให้เกิดการพัฒนาอย่างรวดเร็วของแอปพลิเคชันต่าง ๆ เช่น Core transaction, virtualization การประมวลผลคอมพิวเตอร์ขั้นสูง AI รวมถึงเทคโนโลยี AR/VR ซึ่งส่งผลต่อความต้องการการจัดเก็บข้อมูลที่ใหญ่ขึ้น เร็วขึ้น และฉลาดยิ่งขึ้น

ดังนั้น หัวเว่ยจึงจัดตั้งการมอบรางวัลอันทรงเกียรติ OlympusMons Award 2021 ขึ้น เพื่อสนับสนุนให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกหันมาร่วมกันก้าวข้ามความท้าทายของการจัดตั้งศูนย์จัดเก็บข้อมูลที่มีต้นทุนลดลง และเพื่อสร้างความก้าวล้ำทางเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลสำหรับยุคถัดไป