“หัวเว่ย” มุ่งขยายธุรกิจพลังงานดิจิทัลในไทย

  • เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • สานต่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
  • ตามแผนของประเทศไทย

นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เมื่อเร็วๆนี้ หัวเว่ย ได้ประกาศแผนธุรกิจใหญ่ในปี 2564 ด้วยการขยายส่วนธุรกิจพลังงานดิจิทัล (Digital Power) ในประเทศไทย เพื่อรับเทรนด์การเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลและการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ประเทศของเรากำลังมุ่งหน้าไปในทิศทางนั้น โดยเฉพาะอนาคตของภาคอุตสาหกรรมด้านพลังงานของไทยซึ่งจะต้องเผชิญกับความท้าทายหลายอย่างจากเป้าหมายใหม่ด้านการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (คาร์บอนไดออกไซด์) จนเหลือศูนย์ภายในอีก 44 ปีข้างหน้า หัวเว่ยและพาร์ทเนอร์จึงหวังว่าเทคโนโลยีชั้นนำและกรณีตัวอย่างการใช้งานในระดับโลกที่มีอยู่จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อรองรับแนวทางดังกล่าว การขยายส่วนธุรกิจพลังงานดิจิทัลของหัวเว่ยในปีนี้จึงถือเป็นการช่วยส่งเสริมประเทศไทยให้ขึ้นเป็นผู้นำด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภูมิภาคอาเซียนได้ในอีกทางหนึ่ง

ทั้งนี้ ในเดือนกรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้ประกาศแผนที่จะลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้มากที่สุดภายในปี พ.ศ. 2579 และจะลดลงเป็นศูนย์ (Zero Emission) ในปี พ.ศ. 2608 โดยหัวเว่ยชี้ว่าการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลทางพลังงานนั้นถือเป็นกุญแจสำคัญสำหรับประเทศไทยที่จะก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) โดยต้องทำผ่าน 4 กลยุทธ์ ได้แก่ การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digitalization) ผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อจัดการระบบ การจ่ายไฟ และลดอัตราการสื้นเปลืองของพลังงาน, การหยุดการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจก (De-carbonization) ด้วยการหันมาใช้พลังงานสะอาดแทนพลังงานรูปแบบเก่า เช่น พลังงานลม, การกระจายพลังงาน(Decentralization) ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อลดขั้นตอนและต้นทุนในการจ่ายพลังงาน, และการใช้กระแสไฟฟ้า (Electrification) หรือการเปลี่ยนมาใช้ยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าแทนเครื่องยนต์สันดาปภายใน

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานสำหรับประเทศไทยเพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนนั้นยังคงมีความท้าทายอยู่บ้าง ประการแรกคือสัดส่วนพลังงานสะอาดสำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้าควรคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 20% ภายในปี พ.ศ.2568 

ประการที่สอง จำนวนยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle – EV) ควรมีมากถึง 6.2 ล้านคัน และควรมีแท่นชาร์จแบบเร็วด้วยไฟฟ้ากระแสตรง (DC Charging) กว่า 180,000 แท่นภายในปี พ.ศ. 2573 และประการที่สาม คืออัตราการใช้พลังงานของเทคโนโลยี ICT ใหม่ ๆ อย่าง 5G ศูนย์ข้อมูล (Data Center) และอุตสาหกรรมการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัลนั้นมีอัตราสูงขึ้นมาก เพื่อที่จะรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ การมีนโยบายที่ดำเนินการได้อย่างทันท่วงทีและพาร์ทเนอร์ที่แข็งแกร่งในประเทศจึงนับเป็นทางออกสำคัญของไทย เพื่อขับเคลื่อนประเทศสู่การเป็นผู้นำของภูมิภาคอาเซียนในด้านการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานและความเป็นกลางทางคาร์บอน

“หัวเว่ยจึงลงทุนเพิ่มเติมในด้านธุรกิจพลังงานดิจิทัล ตอกย้ำความมุ่งมั่นที่จะช่วยพัฒนาธุรกิจพลังงานให้มีความดิจิทัล ทรงประสิทธิภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น พร้อมช่วยภาคอุตสาหกรรมให้สามารถขยายตัวและสร้างคุณค่าทางสังคมควบคู่กันไปได้ ด้วยเทคโนโลยีและโซลูชันต่าง ๆ ของหัวเว่ยซึ่งถือเป็นผู้นำด้านธุรกิจเทคโนโลยีพลังงานดิจิทัลในตลาดโลก ซึ่งได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในกว่า 170 ประเทศ โดยธุรกิจพลังงานดิจิทัลของหัวเว่ยเติบโตอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ทั้งในแง่ของผลประกอบการและส่วนแบ่งตลาด ไม่ว่าจะเป็นในส่วนธุรกิจการผลิตชิ้นส่วนแต่ละชิ้น (Prefabricated Modular Data Center) หรือการจัดการศูนย์ข้อมูลโดยคำนึงถึงพลังงานและสิ่งแวดล้อม, Smart PV เทคโนโลยีสำหรับช่วยการจัดการพลังงานแสงอาทิตย์ และ Site Power Facility เทคโนโลยีสำหรับไซต์พลังงานด้านโทรคมนาคมแบบครบวงจร” 

นอกจากนี้ ในส่วนธุรกิจ mPower ด้านการขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้า หัวเว่ยยังถือเป็นบริษัทแห่งแรกในโลกที่ส่งมอบนวัตกรรมใหม่ในชื่อว่า X-in-1 ePowertrain ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานให้แก่รถยนต์ไฟฟ้า นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้ส่งมอบผลิตภัณฑ์ Modular Power ประสิทธิภาพสูงเป็นจำนวนมากกว่า 300 ล้านชิ้นทั่วโลก โดยในปี 2563 หัวเว่ยทำยอดขายในส่วนธุรกิจพลังงานจากทั่วโลกได้มากกว่า 5,500 ล้านเหรียญสหรัฐ และให้บริการประชากรคิดเป็นอัตราส่วนถึง 1 ใน 3 จากทั้งโลก

นายอาเบล กล่าวว่า ประเทศไทยยังคงเป็นตลาดสำคัญของหัวเว่ย และเทคโนโลยีจะมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการเชื่อมต่อทุกคนเข้าด้วยกันรวมถึงนำเสนอโอกาสใหม่ ๆ ในฐานะที่หัวเว่ยเป็นองค์กรด้าน ICT ชั้นนำที่มุ่งผลักดันการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลอย่างต่อเนื่องและส่งมอบคุณค่าให้แก่สังคมไทยมากว่า 22 ปี เราจะมุ่งผลักดันการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในประเทศไทยต่อไป เพื่อนำเทคโนโลยีดิจิทัลเชื่อมต่อทุกผู้คน ทุกครัวเรือน และทุกองค์กรเข้าด้วยกันอย่างชาญฉลาด และช่วยให้ประเทศไทยสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว เพื่อช่วยให้ประเทศไทยก้าวขึ้นสู่การดิจิทัลฮับแห่งอาเซียนและการขึ้นเป็นผู้นำด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ได้สำเร็จลุล่วง 

ปัจจุบัน หัวเว่ยได้ให้บริการลูกค้าระดับองค์กรธุรกิจมากกว่า 1,000 รายในประเทศไทย ทั้งนี้ องค์กรธุรกิจ 35 แห่งจาก 50 แห่ง ได้เลือกหัวเว่ยเป็นพาร์ทเนอร์ในด้านพลังงานดิจิทัล ซึ่งหัวเว่ยกำลังสร้างเครือข่ายพาร์ทเนอร์สำหรับด้านการบริการ การติดตั้ง และด้านโซลูชันมากกว่า 50 รายในประเทศไทย โดยหัวเว่ยคาดว่าการขยายส่วนธุรกิจในครั้งนี้จะช่วยสร้างงานในทางอ้อมได้มากกว่า 1,000 ตำหน่งในประเทศไทย และช่วยสนับสนุนประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำด้านความเป็นกลางทางคาร์บอนแห่งภูมิภาคอาเซียน ตามพันธกิจของหัวเว่ย ประเทศไทย ที่ต้องการ “เติบโตในประเทศไทยและสนับสนุนประเทศไทย