ส่งออก เม.ย.66 ติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7

  • ขาดดุลการค้าแล้วเฉียด 6 หมื่นล้านบาท
  • เหตุสต๊อกสินค้าล้นเศรษฐกิจโลกชะลอฉุดคำสั่งซื้อ
  • แต่มูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรสูงสุดเป็นประวัติการณ์

นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยว่า เดือนเม..66 การส่งออกมีมูลค่า  21,723.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ติดลบ 7.6% เทียบเดือนเม..65 และติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 เมื่อคิดเป็นเงินบาท มีมูลค่า 737,788 ล้านบาท ติดลบ 5.6% ส่วนการนำเข้า 23,195.0 ล้านเหรียญฯ ติดลบ 7.3% คิดเป็นเงินบาท 797,373 ล้านบาท ติดลบ 5.4% ดุลการค้าขาดดุล 1,471.7 ล้านเหรียญฯ หรือ 59,584 ล้านบาท ขณะที่ช่วง 4 เดือน (..-เม..) ปี 66 การส่งออกอยู่ที่ 92,003.3 ล้านเหรียญฯ ติดลบ 5.2% เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 65 คิดเป็นเงินบาท 3.110 ล้านล้านบาท ติดลบ 2.2% ส่วนการนำเข้า 96,519.3 ล้านเหรียญฯ ติดลบ 2.2% คิดเป็นเงินบาท3.305 ล้านล้านบาท เพิ่ม 0.8% ดุลการค้าขาดดุล 4,516 ล้านเหรียญฯ หรือ 194,786 ล้านบาท

สาเหตุที่การส่งออกไทยลดลงมาจากสต๊อกสินค้าของผู้นำเข้าที่ยังคงมีมาก และความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกทำให้ความต้องการซื้อชะลอตัว อีกทั้งความเปราะบางของธนาคารในสหรัฐฯ และยุโรป กดดันให้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวมากขึ้น กระทบต่อคำสั่งซื้อสินค้าไทย ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขส่งออกของประเทศอื่นๆ ในเดือนเม..66 และช่วง 4 เดือน เช่น อินโดนีเซีย ลบ 29% และลบ 7.6% ตามลำดับเวียดนาม ลบ 16.2% และลบ 12.9%, สิงคโปร์ลบ 16% และลบ 8%, เกาหลีใต้ ลบ 14.3% และลบ 13% ไต้หวัน ลบ 13.3% และลบ 17.7% เป็นต้น

สำหรับไทย เดือนเม..66 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมยังคงลดลงตามความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลกและราคาพลังงาน แต่สินค้าเกษตรขยายตัวดีมาก และมีมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ทั้งในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และเงินบาทที่ 3,105 ล้านเหรียญฯ หรือ 105,454 ล้านบาท 

มูลค่าส่งออกเดือน เม..ที่ติดลบ7.6%ดีกว่าที่ภาคเอกชนคาดไว้ว่าแต่ละเดือนจะติดลบเป็นตัวเลข2หลักหรือมากกว่า10%แต่กระทวงพาณิชย์จะทำงานร่วมกับภาคเอกชนอย่างใกล้ชิดเพื่อผลักดันให้ทั้งปีนี้โตได้ตามเป้าหมายทำงานที่1-2%ซึ่งถ้าจะให้โตได้1%แต่ละเดือนต้องส่งออกให้ได้ไม่ต่ำกว่า24,000ล้านเหรียญฯ

อย่างไรก็ตาม คาดว่า สถานการณ์ส่งออกไทยจะเริ่มดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 3 เป็นต้นไป เพราะสต๊อกสินค้าของผู้นำเข้าจะเริ่มลดลงตั้งแต่เดือนพ.และจะเริ่มกลับมาสั่งซื้อเพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือนมิ.ซึ่งจะทำให้การส่งออกไทยดีขึ้น แต่อาจยังไม่เห็นตัวเลขเป็นบวก เพราะมูลค่าส่งออกแต่ละเดือนของไตรมาส 3 ยังสูงอยู่ น่าจะเป็นบวกได้ตั้งแต่ไตรมาส 4 สำหรับตลาดที่ยังคงเป็นความหวังของไทย ได้แก่ จีน ตะวันออกกลาง ละตินอเมริกา อาเซียน ฯลฯ

นายกีรติ กล่าวว่า เดือนเม..66 การส่งออกสินค้าเกษตรขยายตัวถึง 23.8% มูลค่า 3,105 ล้านเหรียญฯ ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน แต่สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร กลับมาหดตัวในรอบ 3 เดือน หดตัว 12% มูลค่า 1,715 ล้านเหรียญฯ ส่วนสินค้าอุตสาหกรรม ติดลบ 11.2% มูลค่า 15,949 ล้านเหรียญฯ ติดลบต่อเนื่อง 7 เดือน ขณะที่ตลาดส่งออกส่วนใหญ่ติดลบ เช่น สหรัฐฯ ลบ 9.6% ญี่ปุ่น ลบ 8.1% อาเซียน ลบ 17.% สหภาพยุโรป ลบ 8.2% อินเดีย ลบ 23% ฮ่องกงลบ 29.8% ตะวันออกกลาง ลบ 16.7% เป็นต้น 

แต่จีนกลับมาขยายตัว 23% และช่วยดันมูลค่าการค้าผ่านแดนไทยไปประเทศที่ 3 (จีน เวียดนาม สิงคโปร์ และอื่นๆเดือนเม..66 เพิ่มถึง 60.66% มูลค่า 79,783 ล้านบาท โดยจีนโตมากสุดที่ 178.23% มูลค่า 33,341 ล้านบาทสินค้าส่งออกสำคัญ คือ ทุเรียนสด มังคุดสด ผลิตภัณฑ์ยาง