ส่งท้ายสัปดาห์ ดัชนีดาวโจนส์ร่วงต่ออีก 357จุด หวั่นโควิด-19 คุมไม่อยู่

  • สหรัฐสั่งจับตาผู้เสี่ยงติดเชื้อในแคลิฟอเนียร์ 8,400คน
  • องค์การอนามัยโลก เตือนมีโอกาสสูงลามทุกประเทศทั่วโลก
  • หุ้นหลักร่วงทุกกลุ่ม นักลงทุนวิตกขอถือเงินสด สินทรัพย์ปลอดภัย

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดตลาดวันที่ 28 ก.พ.ส่งท้ายสัปดาห์แห่งความตื่นตระหนกของนักลงทุน ที่ 25,409.36 จุด ร่วงลงอีก 357.28 จุด หรือ -1.39% ดัชนี เอสแอนด์พี 500 ปิดที่ 2,954.22 จุด ลดลง 24.54 จุด หรือ -0.82% ดัชนีแนสแด็ก คอมโพซิส ปิดที่ 8,567.37 จุด เพิ่มขึ้น 0.89 จุด หรือ +0.01%

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ระหว่างวัน ดัชนัดาวโจนส์ร่วงไปมากกว่า1,000จุด ซึ่งเป็นการลดต่ำลงในระดับนี้ เป็นครั้งที3ในสัปดาห์นี้ ดัชนีได้มีแรงซื้อกลับมา เนื่องจากนักลงทุนส่วนหนึ่งมองว่าราคาหุ้นต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานแล้ว

โดยรอบสัปดาห์ ดัชนีดาวโจนส์ ร่วง 12.4% หรือมากกว่า 3,500 จุด ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ร่วง 11.5% และดัชนีแนสแด็ก ร่วง 10.5%

ทั้งนี้ดัชนีดาวโจนส์ และดัชนีแนสแด็กดิ่งลงเป็นเปอร์เซนต์รุนแรงที่สุดในสัปดาห์นี้นับตั้งแต่เดือนต.ค. 2551

ซึ่งบรรดานักลงทุนได้เทขายหุ้นออกมาเพื่อถือเงินสด และเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีร่วงแตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์เป็นครั้งที่ 4 ในสัปดาห์นี้

อย่างไรก็ตามนักลงทุนได้วิตกกับการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้นของโควิด-19 หลังจากองค์การอนามัยโลก (WHO) เพิ่มระดับเตือนความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดทั่วโลกของโควิด-19 สู่ระดับที่สูงมาก และเตือนว่าจะระบาดไปแทบทุกประเทศทั่วโลกในไม่ช้า ซึ่งหมายความว่า การควบคุมโรคให้อยู่ในวงจำกัด ไม่สามารถทำได้

ขณะที่ให้สหรัฐฯ มีผู้เสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้น หลังรัฐแคลิฟอเนียร์ สั่งจับตาประชาการกลุ่มเสี่ยง 8,400 คน

สำหรับหุ้นกลุ่มการเงิน, กลุ่มสาธารณูปโภค, กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น ร่วงลงทุกกลุ่ม โดยหุ้นลบนำตลาดได้แก่ หุ้นโบอิ้ง ร่วง 4.53% และหุ้นเจพีมอร์แกน เชส ร่วง 4.40%

นักลงทุนยังห่วงสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่กำลังโดนไวรัสโจมตี และอาจจเข้าสู่การขยายตัวลดลง หรือภาวะถดถอย ทั้งนี้ เมื่อคืนนี้ ระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคสหรัฐเพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนม.ค. แต่ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.3% หลังจากเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนธ.ค.

อย่างไรก็ตาม รายได้ส่วนบุคคลพุ่งขึ้น 0.6% ในเดือนม.ค. หลังจากเพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือนธ.ค.

ส่วนการเปิดเผย ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนธ.ค. และเมื่อเทียบรายปี ดัชนี PCE เพิ่มขึ้น 1.7% ในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2561 หลังจากเพิ่มขึ้น 1.5% ในเดือนธ.ค