“สุวิทย์ เมษินทรีย์” เผยโลกยุคหลังโควิด-19 จะเป็นอย่างไร…การขยับครั้งใหญ่ที่จะเปลี่ยนโลกในอนาคต

  • ชี้วิกฤติโควิด-19 ครั้งนี้ คือโอกาสในการกำหนดอนาคตขึ้นมาใหม่
  • ทบทวนข้อผิดพลาด ทำให้เห็นจุดอ่อนและรากเหง้าของปัญหา
  • ลั่นถึงเวลาที่ต้องร่วมกันวางแนวทางในการปรับเปลี่ยนชีวิต-ธุรกิจ-ประเทศชาติ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 15 เม.ย.ที่ผ่านมา นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว. อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้โพสต์บทความผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก : ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ Dr. Suvit Maesincee โดยมีเนื้อหากล่าวถึง โลกยุคหลังโควิด-19 จะเป็นอย่างไร ซึ่งถือว่ามีความน่าสนใจอย่างยิ่ง ทีมข่าว The Journalist Club จึงขออนุญาตหยิบยกมานำเสนอ โดยมีใจความดังนี้

7 ขยับ ปรับเปลี่ยนโลก
.
โลกยุคหลังโควิด-19 จะเป็นอย่างไร?
จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้นบ้าง?
ผมขอแชร์แนวคิด 7 การขยับครั้งใหญ่ที่จะปรับเปลี่ยนโลกของเราในอนาคต
เพื่อให้ทุกๆท่านได้มาร่วมกันระดมสมอง เสนอแนวทางทั้งในด้านการดำเนินชีวิต การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในสังคม โมเดลการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนรูปแบบใหม่ของการผนึกกำลังความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน เพื่อให้พวกเราปรับตัว สามารถอยู่ในโลกยุคหลังโควิด-19 ได้อย่างเป็นปกติสุขและยั่งยืนครับ
.
1. จาก Free Market Model ไปสู่ Co-Creative Model
จากโมเดลตลาดเสรีที่ใช้กลไกของตลาดไปสู่โมเดลร่วมสร้างสรรค์ที่ใช้พลังปัญญามนุษย์

2. จาก Competitive Mode of Production & Consumption ไปสู่ Collaborative Mode of Production & Consumption
จากการแข่งกันผลิต/แข่งกันบริโภค ไปสู่การประสาน ร่วมมือ เกื้อกูล และแบ่งปัน

3. จาก Economic Growth ไปสู่ Thriving in Balance
จากการเน้นความเติบโตทางเศรษฐกิจ ไปสู่การสร้างสมดุลระหว่างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ กับ ความอยู่ดีมีสุขในสังคม ความยั่งยืนของธรรมชาติ เคารพในศักดิ์ศรีและภูมิปัญญามนุษย์

4. จาก People for Growth ไปสู่ Growth for People
จากการมองคนเป็นปัจจัยการผลิตเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ สู่การสร้างระบบนิเวศที่เอื้อให้เกิดการเติมเต็มศักยภาพ และปลดปล่อยพลังปัญญามนุษย์

5. จาก Economic Life ไปสู่ Hygienic Life
จากชีวิตที่มุ่งหวังในความมั่งคั่งทางวัตถุ ไปสู่ชีวิตที่สมดุล มีหลักประกันความมั่นคงปลอดภัย มีการเติบโตอย่างมีคุณภาพ และอยู่ในโลกนี้ร่วมกับผู้อื่นอย่างเป็นปกติสุข

6. จาก Linear Economy ไปสู่ Circular Economy
จากเศรษฐกิจแบบเก่าที่นำทรัพยากรมาใช้อย่างไม่ยั้งคิด โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน ที่เน้นการประหยัดในปัจจัยนำเข้า ประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต และประโยชน์ที่จะได้รับจากผลผลิต และนำสิ่งเหลือใช้กลับมาทำประโยชน์ใหม่ เน้นความยั่งยืน

7. จาก Exploitation of the Commons ไปสู่ Remedy of the Commons
จากการมุ่งใช้ประโยชน์จากส่วนรวม ไปสู่การรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม
.
วิกฤติโควิด-19 ในครั้งนี้ คือโอกาสของพวกเราในการกำหนดอนาคตขึ้นมาใหม่ ทบทวนข้อผิดพลาด ทำให้เรามองเห็นจุดอ่อนและรากเหง้าของปัญหา พร้อมกันนั้น ก็เปิดโอกาสให้พวกเรามองเห็นจุดแข็งและค้นหาทางออก เพื่อความอยู่รอดของมนุษยชาติ

ถึงเวลาแล้ว ที่พวกเราจะต้องมาร่วมกันวางแนวทางในการปรับเปลี่ยนชีวิต ปรับเปลี่ยนธุรกิจ และปรับเปลี่ยนประเทศให้สอดรับกับโลกใบใหม่ที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปครับ