“สุวิทย์” หนุนไทยสู่ “Global Medical Hub” เห็นโอกาสหลังโควิด พลิกโฉมระบบ ยกระดับวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (13 มิ..) นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้โพสต์บทความผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก : ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ Dr. Suvit Maesincee โดยมีเนื้อหากล่าวถึง Healthcare Reinvention 

พลิกโฉมระบบ สร้างฐานอุตสาหกรรม ยกระดับวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ ตอบโจทย์โอกาสประเทศไทยหลังโควิด

หนึ่งในผลงานของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในช่วงวิกฤติโรคระบาดโควิด-19 คือการสนับสนุนงานวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางวิชาการ เพื่อประกอบการกำหนดมาตรการในการดูแล และบริหารสถานการณ์ในการควบคุมโรคโควิด-19 ซึ่งสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นหนึ่งในกำลังสำคัญของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) โดยทำหน้าที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนา

จากวิกฤติของโรคโควิด-19 นี้ประเทศไทยได้แสดงให้เห็นว่าระบบการแพทย์และสาธารณสุขของเรา ถือเป็นจุดแข็งของประเทศ ซึ่งไทยมีศักยภาพที่จะเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ของภูมิภาคนี้ โดยกระทรวง อวได้ทำงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อปรับระบบการแพทย์และสร้างฐานระบบนวัตกรรมทางการแพทย์ด้วยการวิจัยและนวัตกรรม(Healthcare Reinvention) 

โดยมีการหารือร่วมกันของผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพและการแพทย์ของไทย ไม่ว่าจะเป็นตัวแทนจากคณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่าง  ตัวแทนจากหน่วยงานวิจัย ไม่ว่าจะเป็น วชสกสวสวรสศลชสนชสวทชสทนรวมทั้งหน่วยงานจากกระทรวงสาธารณสุข เพื่อระดมสมอง พร้อมทั้งสรุปแนวทางในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมทางการแพทย์ของไทย ตามนโยบาย BCG Economy ของท่านนายกรัฐมนตรี โดยมุ่งเน้นให้การวิจัยพัฒนา และนวัตกรรม ต่อยอดไปสู่การผลิตและการใช้ประโยชน์ได้จริง (Research, Development, Innovation, Manufacturing, Market) พร้อมทั้งการปลดล็อกกฎระเบียบ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น และการพัฒนาทุนมนุษย์

“Healthcare Reinvention” มีเป้าหมายให้ไทยเป็น “Global Medical Hub” โดยมีประเด็นมุ่งเน้น (Priority Areas) 8 ประเด็น ได้แก่ 

1) การรักษาเฉพาะบุคคล (Personalized Medicine) การดูแลรักษาที่ได้ประสิทธิภาพและแม่นยำด้วยเทคโนโลยีด้วยจีโนม 

2) การพัฒนายาและวัคซีน (Vaccines and New Medicines) รวมถึงการบริหาร Medical Supply Chain และการส่งเสริมผู้ผลิตที่มีคุณภาพ

3) อุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ (Medical Devices) เน้นการผลิตเครื่องมือแพทย์ยุค New Normal

4) ระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) พัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ติดต่อกันได้แบบ Real-time ลดการแออัดของโรงพยาบาล 

5) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับงานวิจัยทางคลินิก (Clinical Research Infrastructure)ผลักดันให้เกิดการวิจัยทางคลีนิค ผลิตและคิดค้นยาและวัคซีนใหม่ๆ

6) สมุนไพรและการแพทย์พื้นบ้าน (Herbal and Traditional Medicine) พัฒนาและใช้สมุนไพรไทย บรรจุสมุนไพรไทยไว้ในหลักสูตรทางการแพทย์และให้ความสำคัญการวิจัยทางคลีนิค

7) โภชนเภสัช (Nutraceuticals) คิดค้นผลิตอาหารที่มีสรรพคุณอาหารด้านการป้องกัน รักษาโรคและชะลอวัย 

 8) การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical Tourism) เชื่อมต่อการบริการทางการแพทย์และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

จากการระดมสมอง ทุกภาคส่วนเห็นพ้องต้องกันว่าจะต้องจัดลำดับความสำคัญ และบูรณาการทำงานกับทุกภาคส่วนรวมทั้งภาคเอกชน โดย วชจะจัดทำร่างกลไกและการขับเคลื่อน Healthcare Reinvention เพื่อหารือกับผู้ที่จะขับเคลื่อนประเด็นหลักแต่ละประเด็นเพื่อลงรายละเอียดทั้ง 8 ประเด็นต่อไป และผมจะนำความคืบหน้ามาเล่าให้ทุกท่านได้รับทราบในโอกาสต่อไป หากมีข้อเสนอแนะ สามารถเขียนข้อคิดเห็นทิ้งไว้ได้ครับ