“สุริยะ” เผยผลประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายมีมติเอกฉันท์ 20 เสียงต่อ 4 เสียง

  • ไม่ทบทวนการแบน 2 สารอันตราย
  • ยึดมติเดิมแบน พาราควอตและคลอร์ไพริฟอส
  • กระทรวงเกษตรฯพร้อมเร่งสารทดแทน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย ว่า ที่ประชุมมีมติเอกฉันท ์ให้ยังคงมติคณะกรรมการวัตถุอันตรายเมื่อวันที่ 30 เม.ย.ท่ี่ผ่านมาไว้ คงเดิมที่ได้ออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2563 ที่กำหนดให้พาราควอตและคลอร์ไพริฟอสเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ห้ามมิให้มีการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.ที่ผ่านมา ส่วนไกลโฟเซต ให้จำกัดการใช้ตามมติ 23 พ.ค.2561 ทั้งนี้เนื่องจากที่ผ่านมาการพิจารณา ได้มีเหตุผลรองรับอยู่แล้วถึงความอันตรายต่อสุขภาพ ประกอบกับหลายประเทศก็มีการแบนสารดังกล่าว

“ ที่ประชุม ได้นำข้อเสนอจากบุคคลและกลุ่มองค์กรต่างๆ ที่ขอให้ขยายเวลาบังคับใช้กฎหมาย และขอให้ทบทวนมติที่ให้ยกเลิกการใช้พาราควอต และที่ประชุมได้หยิบยกมาพิจารณาและลงมติอย่างเปิดเผย โดยกรรมการฯที่มาประชุม 24 ท่านจากทั้งหมด 27 ท่านมี 4 ท่านเห็นว่าควรมีการทบทวน แต่ 20 ท่านไม่เห็นด้วยที่จะทบทวนที่ประชุมจึงมีมติโดยเสียงส่วนใหญ ่เพราะเพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.ท่ีผ่านมาและยังมีการฟ้องคดีอยู่ในการพิจารณาของศาลปกครอง จึงเห็นควรมอบให้ กรมวิชาการเกษตร และกระทรวงสาธารณสุขนำข้อมูลและข้อสังเกตจากคณะกรรมการไปพิจารณาดำเนินการ และรายงานคณะกรรมการต่อไป”

สำหรับ การหาสารทดแทน กรมวิชาการเกษตรจะไปเร่งดำเนินการประกาศสาร ที่จะมาทดแทนพาราควอตและคลอร์ไพริฟอส ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีสารที่มาทดแทนโดยตรง แต่ใช้เป็นสารทางเลือกที่มีอยู่ และหากมีผู้มาร้องเรียนให้ทบทวนอีกในลักษระเป็นประเด็นเดียวกันนี้ ก็จะไม่มีการนำมาสู่การพิจารณาอีก ถือว่าได้เป็นมติไปแล้ว

นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ได้เห็นชอบร่างกฎหมายลำดับรองภายใต้กฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย จำนวน 4 ฉบับ ประกอบด้วย

1. ร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการให้แจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัตถุอันตรายในความรับผิดชอบของกรมโรงงานอุตสาหกรรม

2. ร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เกี่ยวกับการกำหนดค่าคลาดเคลื่อนของสารสำคัญที่เป็นวัตถุอันตรายในความรับผิดชอบของกรมประมง

3. ร่างประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการออกใบนำผ่านวัตถุอันตรายที่ อย. รับผิดชอบ

4. ร่างระเบียบคณะกรรมการวัตถุอันตรายเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการเปรียบเทียบปรับ หลังจากนี้ หน่วยงานผู้รับผิดชอบจะนำไปเสนอรัฐมนตรี หรืออธิบดีของแต่ละหน่วยงานลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลใช้บังคับต่อไป

นายอภัย สุทธิสังข์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า สารที่จะมาทดแทน 2 สารที่ถูกแบนขณะนี้ ยังไม่มีและยอมรับว่าทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น แต่จะหาวิธีการในการควบคุมศัตรูพืช และลดต้นทุนการผลิต เช่น รวมกลุ่มเกษตรกรรายย่อยทำเกษตรแปลงใหญ่เพื่อใช้เครื่องจักร และรวมถึงการร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ในการทำตลาดเกษตรปลอดสารเคมี หรือเกษตรอินทรีย์เพื่อที่จะยกระดับราคาสินค้าเกษตรให้สูงขึ้น เป็นต้น

“ที่ประชุมยัง มีมติเห็นชอบแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ ที่ดีในการผลิตวัตถุอันตราย ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ (GMP) เพื่อตรวจตรารับรอง สินค้าเกษตรที่มีสารปนเปื้อน เกี่ยวกับการขาดแคลน ที่ใช้เป็นวัตถุดิบแปรรูป โดยเฉพาะข้าวสาลี และ ถั่วเหลือง ที่มีค่ากำหนด สอดคล้องกับสหภาพยุโรป (EU) โดยยึดหลักความปลอดภัยและสวัสดิภาพผู้บริโภค และความเท่าเทียมระหว่างผู้ผลิตและผู้นำเข้าอาหาร ซึ่งจะมีผลบังคับใช้วันที่ 1 มิ.ย.2564”