“สุริยะ” อุ้มเอสเอ็มอีฝ่าวิกฤตโควิด-19พ้นโคม่า

  • ยอดจดจำนองเครื่องจักรกับแบงก์พาณิชย์
  • 3ไตรมาสแรกของปีงบ2564 พุ่ง1.6แสนล้านบาท
  • ร่วมมือพันธมิตรทำคู่มือให้เจ้าของโรงงานปฏิบัติ

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ได้ส่งเสริมให้สถานประกอบการของเอสเอ็มอี ปรับปรุงหรือเปลี่ยนเครื่องจักร ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ผ่านพระราชบัญญัติ( พ.ร.บ.)จดทะเบียนเครื่องจักร คือการนำเครื่องจักรที่จดทะเบียนกับกรอ.ไปยื่นขอรับสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ ท่ีเข้ารวมโครงการกับกรอ. ซึ่ง ล่าสุดผลการดำเนินงานใน 3 ไตรมาสแรกของปีงบประมาณ2564  (1 ต.ค.2563 – 17 มิ.ย.2564) พบว่า มีผู้ประกอบการ มายื่นขอรับการจดทะเบียนเครื่องจักร กับกรอ. จำนวน 748 ราย มีเครื่องจักรที่ได้รับการจดทะเบียน จำนวน 2545 เครื่อง คิดเป็นมูลค่าของเครื่องจักร33,480ล้านบาท และผู้ประกอบการได้ไปยื่นขอจดทะเบียนจำนอง 47 ราย มีเครื่องจักรที่ได้รับอนุมัติให้จดทะเบียนจำนอง 826 เครื่อง วงเงินรวม  168,610 ล้านบาท และมีค่าธรรมเนียมจดทะเบียนจำนอง 2,271,124 บาท

“การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม และภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ของประเทศไทย ทำให้ผู้ประกอบการ มีรายได้ที่ตกต่ำ มีต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น  เพื่อเป็นการช่วยลดภาระ ที่เกิดขึ้นแก่ผู้ประกอบการ กรอ.จึงได้ยกเว้นค่าธรรมเนียม การจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร,  ค่าเครื่องหมาย , การจดทะเบียนเครื่องจักร และค่าคัดสำเนาเอกสารพร้อมด้วยคำรับรองว่าถูกต้อง เฉพาะในคราวเดียว กับการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรให้ผู้ประกอบการ เป็นเวลา 1 ปี”

นอกจากนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการ สามารถดำเนินการกิจการได้อย่างปลอดภัย มีความต่อเนื่อง กรอ.จึงได้ร่วมกับพันธมิตร จัดทำคู่มือช่วยเหลือ ในสถานการณ์โควิด-19 ร่วมกับคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, สมาคมศิษย์เก่าอาชีวอนามัยและความปลอดภัย  มหาวิทยาลัยมหิดล, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ,กรมควบคุมโรค จัดทำมาตรการการทำธุรกิจสำหรับภาคอุตสาหกรรม  เพื่อให้ผู้ประกอบการ  บุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติงาน ได้อย่างปลอดภัย

ประกอบด้วย มาตรการป้องกันการระบาดในโรงงาน , แผนตอบสนองสถานการณ์ฉุกเฉิน และแผนฟื้นฟูธุรกิจ  การจัดทำคู่มือเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์ ต่อผู้ประกอบกิจการ ในการปรับตัวในการใช้ชีวิตวิถีใหม่ ท่ีเน้นการปฏิบัติงาน ภายใต้มาตรการป้องกันระบาด อย่างเข้มข้น เพื่อให้เกิดการฟื้นฟูกิจการสำหรับภาคอุตสาหกรรม  สามารถดาวโหลดได้ที่ http://reg3.diw.go.th/safety/ และ E-book : https://anyflip.com/qlrvu/dlar/

นายสุริยะ กล่าวว่า ตนยังได้ส่ังการให้ กรอ. สนับสนุนและยกระดับโรงงานอุตสาหกรรม เข้าสู่การเป็นโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ที่มีคุณค่าต่อสังคมและปลอดมลพิษ ( Eco Factory+SV) และให้ได้มาตรฐานของกรอ.(CSR-DIW)  ในพื้นที่เป้าหมาย 15 จังหวัด รวม18 พื้นที่ ล่าสุดจากการประเมินการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ปีที่ผ่านมา มีพื้นที่ผ่านการประเมิน ความเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ประกอบด้วย 1.ระดับ 4 (การพึ่งพาอาศัย) จำนวน 4 พื้นที่ ได้แก่จังหวัดระยอง (พื้นที่เขต อุตสาหกรรมไออาร์พีซี )จังหวัด ระยอง (พื้นที่เขตควบคุมมลพิษ มาบตาพุด) ปทุมธานี (พื้นที่บางกระดี) และ นครราชสีมา  2.ระดับ 3 (ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร) จำนวน 10 พื้นที่ ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา สมุทรสาคร ราชบุรี สุราษฎร์ธานี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี (พื้นที่ลาดหลุมแก้ว) สงขลา (พื้นที่สะเดา) สงขลา (พื้นที่ฉลุง) และนครปฐมและ 3.ระดับ 2 (การส่งเสริม) จำนวน 4 พื้นที่ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น ชลบุรี ปราจีนบุรี สมุทรปราการ 

ขณะที่ ผลการดำเนินงานโครงการดังกล่าว ระหว่างปี 2551 – 2563 มีโรงงาน, ผู้ประกอบการ เข้าร่วมโครงการ CSR-DIW รวม 1,066 โรง และในปีนี้  กรอ.วางเป้าการส่งเสริมสนับสนุน โรงงาน,  ผู้ประกอบการ ให้ได้มาตรฐาน CSR-DIW จำนวน 65 โรง” 

 “กรอ.ยังได้ผลักดัน โครงการอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) มาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ณ วันที่ 14 มิ.ย.ท่ีผ่านมา กรอ.ได้ออกใบรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวรวม 42,551 ใบรับรอง และเมื่อ3ไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2564 (ต.ค.2563-มิ.ย.2564)ก็ได้ออกใบรับรองให้กับโรงงานต่างๆ  ประกอบด้วย ระดับ 1 (มีความมุ่งมั่น)จำนวน 369 ใบรับรอง ระดับ 2 (ปฏิบัติการ) จำนวน 574 ใบรับรอง ระดับ 3 (เข้าสู่ระบบสีเขียว)จำนวน 727 ใบรับรอง ระดับ 4 (เตรียมตัวเข้าสู่วัฒนธรรมสีเขียว) จำนวน 74 ใบรับรอง และ ระดับ 5 (เร่ิมเข้าสู่เครือข่ายสีเขียว)จำนวน 8 ใบรับรอง รวม 1,752 ใบรับรอง     ขณะที่ ภาพรวมการจ้างงาน ผ่านโรงงานอุตสาหกรรมในกำกับดูแลของกรอ.  ที่ในปัจจุบัน เกิดการจ้างงานรวม 90,568 คน  

สำหรับความคืบหน้า ท่ีกำหนดให้โรงงานอุตสาหกรรม ประเมินตนเองผ่านแบบประเมินตนเองThai Stop Covid plus และ Thai Save Thai ล่าสุดมีจำนวนโรงงานส่งแบบประเมินแล้ว14,909 แห่ง คิดเป็น23% ของจำนวนโรงงานอุตสาหกรรม 64,000 แห่งท่ัวประเทศ.

#Thejournalistclub #วัคซีนโควิด #โควิด #กรมโรงงานอุตสาหกรรม