“สุริยะ” สั่งกสอ.ทะลวงปัญหา เอสเอ็มอีให้ถึงแก่น

  • จี้แก้ให้ตรงจุด บ่นพูดกันมานาน
  • ส.อ.ท. อ้อนรัฐออกเงินกู้ดอกต่ำ
  • วงเงินรายละ 5 ล้านบาท              

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ส่ังการให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ไปสรุปรวบรวมทุกปัญหา ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี รวมทั้งกลุ่มไมโครเอสเอ็มอีออกมาว่า ยังมีปัญหาอะไรบ้าง และสาหตุของปัญหาที่แท้จริงมีอย่างไร รวมท้ัง ความต้องการท่ีจะให้ภาครัฐช่วยเหลือ เพื่อนำมาสรุปรวมแก้ปัญหาให้ตรงจุด หรือเรียกได้ว่า เป็นภารกิจทะลวงปัญหาให้ถึงแก่น เนื่องจากที่ผ่านมาแม้ภาครัฐ จะทยอยออกมาในหลายๆมาตรการแล้ว ทั้งเงินช่วยเหลือ การเปิดตลาด แต่พบว่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอียังมีปัญหาอีกมาก จึงต้องมาเจาะลึกเพื่อแก้ไขให้ได้


 “ปัญาของเอสเอ็มอี เป็นเรื่องที่พูดกันมานานแล้ว ออกมาตรการต่างๆ มาก็เยอะแล้ว แต่ทำไมถึงยังได้ยินเอสเอ็มอีบ่นอยู่ว่า ยังมีปัญหา จึงต้องให้กสอ.ไปทะลวงปัญหาให้ได้ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นว่า เกิดจากตัวเอสเอ็มอีเอง ที่ธุรกิจไปไม่ได้แล้วจริงๆ ตรงจุดนี้ ก็ต้องแนะนำให้เขาเปลี่ยนธุรกิจที่ไปรอด หรือปัญหาเกิดจากการเข้าถึงเครื่องมือที่ภาครัฐออกมา เข้าไม่ถึงกัน เป็นเพราะอะไร ช่วยผิดกลุ่ม หรืออาศัยการช่วยเหลือภาครัฐ ไปช่วยกลุ่มที่มีศักยภาพอยู่แล้ว ก็ต้องมาดูกัน และต่อไปกลุ่มที่รัฐบาล จ้างมาเป็นที่ปรึกษาช่วยเอสเอ็มอี ก็ต้องมีหน่วยชี้วัดศักยภาพในการทำงานหรือเคพีไอ ด้วยว่า ช่วยได้จริงหรือไม่ ไม่ใช่ช่วยแต่รูปแบบเดิมๆ ไม่สนใจผลลัพธ์ ทำให้งบประมาณรัฐเสียเปล่า”


 นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ต้องการให้รัฐบาลพิจารณา ออกสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หรือปลอดดอกเบี้ยระยะหนึ่งออกมา เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอ ีที่มีปัญหาเรื่องหนี้ในส่วนต่างๆ เนื่องจากทำให้เอสเอ็มอีไม่สามารถ ขยายธุรกิจได้ เพราะต้องนำเงินไปจ่ายหนี้เดิม บางส่วนก็กู้หนี้นอกระบบมาลงทุนทำให้เผชิญกับ อัตราดอกเบี้ยสูงมาก โดยวงเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ อาจเป็นรายละไม่เกิน 5 ล้านบาท และให้พิจารณาจาก เอสเอ็มอี ที่มีปัญหาภาระการจ่ายหนี้ แต่ธุรกิจยังขยายต่อไปได้ เพื่อออกมาช่วยเสริมสภาพคล่อง 

 ”ผมได้สอบถามปัญหาผู้ประกอบการ  พบว่า มีปัญหาหนี้ ที่ต้องจ่าย ทำให้เอสเอ็มอีหลายๆราย ต้องสะดุดในการขยายธุรกิจ เพราะต้องจ่ายหนี้เดิม ทั้งหนี้ในระบบ นอกระบบ ที่ดอกเบี้ยสูงมาก แล้วสินเชื่อตอนนี้ที่รัฐบาลออกมา ส่วนใหญ่เป็นการขยายธุรกิจ แต่กลุ่มนี้ยังเป็นกลุ่มที่มีหนี้เลยขยายธุรกิจไม่ได้   ถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้ปลอดหนี้ระยะหนึ่ง แต่หลักๆ ต้องเป็นดอกเบี้ยต่ำ เหมือนเป็นการหยุดหนี้เดิมก่อน เพื่อมีสภาพคล่องทำธุรกิจใหม่ โดยสินเชื่อนี้ ต้องเป็นกลุ่มที่ธุรกิจยังไปต่อได้ ไม่ใช่มาขอสินเชื่อแล้ว ไปจ่ายหนี้เดิมอย่างเดียว แล้วก่อหนี้ใหม่ ที่ไม่สามารถขยายธุรกิจได้”

นายสุพันธ์ุ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่อยากประเมินผลงานรัฐบาล เพราะต้องรอให้ทำงานครบ 3 เดือนก่อน จึงจะมาพิจารณากันว่า ผลงาน หรือนโยบายต่างๆ ที่ภาครัฐออกมา เป็นอย่างไร หรืออะไรที่ภาคเอกชนี่ต้องการให้เพิ่มเติมหรือไม่อย่างไร ขณะนี้อยากให้กำลังใจรัฐบาล ให้ดำเนินโยบาย โดยเฉพาะในภาคการกระตุ้นเศรษฐกิจระดับฐานรากออกมาให้ได้ตามเป้าหมาย เพื่อให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนไปได้ เพราะขณะนี้ปัญหาเศรษฐกิจโลก ยังเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบหลายประเทศ และอยากให้ภาครัฐ ให้ความสำคัญในประเด็นการแก้ปัญหาความยาก – ง่าย ในการประกอบธุรกิจ (ดูอิ้ง บิสสิเนส) อย่างจริงจังต่อไป เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจ 


  สำหรับ ความคืบหน้าในการผลักดันให้โครงการภาครัฐ โดยเฉพาะในงานโยธา เช่น โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ใช้สินค้าในภาคอุตสาหกรรมไทยผลิต (โลคอล คอนเทนต์) 90% ขณะนี้นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานส.อ.ท.ที่ดูแลเรื่องนี้ กำลังจัดทำข้อมูล ความพร้อมของแต่ละภาคอุตสาหกรรมของไทยอยู่ว่า มีอุตสาหกรรมใดมีความพร้อมบ้าง ก่อนที่จะนำเสนอให้กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อนำเสนอกระทรวงการคลังต่อไป ซึ่งการดำเนินการทุกอย่างจะต้องไม่ผิดกฎขององค์การค้าโลก (ดับบลิวทีโอ) ด้วย