สวทช.-อภ.-ปตท. ผนึกกำลังต่อยอดการวิจัยและพัฒนาวัตถุดิบทางยา

  • ส่งเสริมความมั่นคงด้านสุขภาพให้คนไทย
  • ตั้งเป้าศึกษา3ปีผลิตเชิงพาณิชย์
  • ยกระดับการผลิตยาไทยสู่ตลาดโลก

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่าปตท.ได้ ลงนามบันทึกข้อตกลงกับนายณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และนายแพทย์วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการ องค์การเภสัชกรรม (อภ.)  โดยความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา กระบวนการสังเคราะห์สารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรม (API) และ ศึกษาความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ และการสร้างความมั่นคงทางยาให้แก่ประเทศไทยเพื่อ ส่งเสริมยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่( New S-Curve )ด้านอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร ตั้งเป้าระยะแรกเน้นการ API สำหรับโควิด-19 รวมถึง API ของ ยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) และ ยาเรมเดซิเวียร์ (Remdesivir)  ความร่วมมือดังกล่าว คาดว่าจะใช้เวลา3ปี ศึกษาความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ 

สำหรับ API เป็นสารตั้งต้นสำหรับการผลิตยา โดยปัจจุบันประเทศไทยยังต้องมีการนำเข้า API จากต่างประเทศมากกว่า 95%ดังนั้น  ความร่วมมือในครั้งนี้ ครอบคลุมตั้งแต่การทดสอบในระดับห้องปฏิบัติการ (Laboratory scale) การถ่ายทอดเทคโนโลยีจนถึงระดับอุตสาหกรรม (Industrial scale) ตลอดจนการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาสารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรม (Feasibility Study) ที่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะส่งเสริมให้ประเทศไทยมีสาธารณสุขที่มั่นคงต่อไป

ขณะเดียวกัน สวทช.เป็นหน่วยงานที่ มีความรู้ บุคลากร ความเชี่ยวชาญ และเทคโนโลยีทางด้านเคมีสังเคราะห์ที่จะช่วยหนุนเสริมองค์การเภสัชกรรมในการผลิตสารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรม ได้เองภายในประเทศ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านอุตสาหกรรมยาแบบครบวงจร ขณะที่ปตท.ก็ได้ตั้งเป้าสร้างศักยภาพการผลิตยาในประเทศ เพื่อความมั่นคงด้านสุขภาพของคนไทยในอนาคต             

ทั้งนี้ที่ผ่านมา นักวิจัย สวทช. ได้ร่วมกับองค์การเภสัชกรรม วิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตยาฟาวิพิราเวียร์ สำหรับต้านโควิด -19 ขึ้นเองภายในประเทศ นับว่าเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จที่ตอบโจทย์วงการแพทย์และสาธารณสุขของไทย ทำให้ไม่ต้องพึ่งพาการนำเข้ายาฟาวิพิราเวียร์จากต่างประเทศช่วยยกระดับขีดความสามารถทางด้านการผลิตยาของประเทศ ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมทั้งเป็นฐานในการสร้างอุตสาหกรรม API ของประเทศ  **ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สวทช. พร้อมที่จะสนับสนุนนักวิจัยที่มีความรู้ และความสามารถในการวิจัย พัฒนา และปรับปรุงกระบวนการสังเคราะห์สารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรมในระดับห้องปฏิบัติการ เพื่อถ่ายทอดให้กับองค์การเภสัชกรรมต่อยอดไปสู่ระดับโรงงานต้นแบบ และพร้อมสนับสนุนข้อมูลให้แก่ ปตท. เพื่อใช้ในการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาสารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรมที่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ เพื่อผลิตสารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรม (API) ในระดับอุตสาหกรรมต่อ 

ดังนั้น ความร่วมมือครั้งนี้ ปตท. จะดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ของ API ที่วิจัยและพัฒนาขึ้นมาในเชิงพาณิชย์ ตลอดจนรูปแบบโมเดลธุรกิจที่เหมาะสม เพื่อต่อยอดการวิจัยและพัฒนา API ของไทยให้มีคุณภาพมาตรฐานสากล สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้”