“สรรพากร” มั่นใจปีงบ66 จัดเก็บรายได้เกินเป้าแน่นอน

  • แจ่มว้าว! 7 เดือน กวาดรายได้ 1.07 ล้านล้านบาท 
  • ทะลุเป้าตามเอกสารงบประมาณกว่า 107,101 ล้านบาท    

  นายวินิจ วิเศษสุวรรณภูมิ รองอธิบดีกรมสรรพากร ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรณีผลการจัดเก็บรายได้เดือนเม.ย. 66 จากภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต)ลดลง 4,174 ล้านบาท   และภาษีธุรกิจเฉพาะเดือนเม.ย.66 ลดลง 548 ล้านบาทนั้น เป็นผลจากการจัดเก็บภาษีมูลคค่าเพิ่มจากการนำเข้าต่ำกว่าปีก่อน โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบดูไบ ลดลงจากปีก่อนมาก ส่วนภาษีธุรกิจเฉพาะที่กรมที่ดินจัดเก็บแทนกรมสรรพากรเก็บได้ต่ำกว่าปีก่อน เนื่องจากเดือนเม.ย.65 มีฐานสูงเหลื่อมเดือน จากการปรับปรุงระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (ระบบNew GFMIS Thai) เมื่อวันที่ 1 เม.ย.65 ทำให้ผลการจัดเก็บภาษีสูงกกว่าปกติ สำหรับแนวโน้ม ผลจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะที่กรมที่ดิน ยังคงมีแนวโน้มสงกว่าปีก่อน ตามการเพิิ่มขึ้นของยอดขายอสังหาริมทรัพย์ และจำนวนหน่วยจดทะเบียนคอนโดมิเนียม  ซึ่งการลดลงดังกล่าว ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการจัดรายได้ของกรมสรรพากรแต่อย่างใด 

ทั้งนี้ส่งผลให้การจัดเก็บรายได้ 7 เดือนของปีงบประมาณ 2566 (ต.ค.65-เม.ย.66) กรมสรรพากรเก็บรายได้ทั้งหมด 1.07 ล้านล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 65,166 ล้านบาท หรือ 6.5%  สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 107,101 ล้านบาท หรือ 11.10% สำหรับการจัดเก็บภาษีทั้งปีงบประมาณ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนและสูงกกว่าตามเอกสารงปบระมาณอย่างแน่นอน ซึ่งเป็นไปตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ  โดยเป้าหมายรายได้ของกรมสรรพากรในปีงบประมาณนี้กำหนดไว้ที่ 2.02 ล้านล้านบาท 

นายวินิจ กล่าวต่อว่า การจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากร  เฉพาะเดือนเม.ย. 66 จัดเก็บรายได้ทั้งหมด 155,300  ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 2,602 ล้านบาท หรือ 1.7% และสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 11,847 ล้านบาท หรือ 8.3% ซึ่งเป็นผลจากผลประกอบการของผู้ประกอบการนิติบุคคลฟื้นตัว ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ การเพิ่มขึ้นของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ​ การจ้างงานที่เพิ่มขึ้น และการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ทำให้ภาษีเงินได้นิติบุคคลธรรม หัก ณ ที่จ่ายจากดอกเบี้ย และภาษีธุรกิจเฉพาะที่จัดเก็บจากรายได้สถาบันการเงินเพิ่มขึ้นตามไปด้วย 

สำหรับรายละเอียดการจัดเก็บภาษีดังนี้ 1.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 42,212 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น 3,427 ล้านบาท ภาษีเงินได้นิติบุคคล 30,757 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4,041 ล้านบาท  ภาษีมูลค่าเพิ่ม 76,364 ล้านบาท  ลดลง 4,1744 ล้านบาท ภาษีธุรกิจเฉพาะ 4,677 ล้านบาท   ลดลง 548 ล้านบาท