สทนช. เร่งจัดทำผังน้ำ 22 ลุ่มน้ำให้เสร็จภายใน 2 ปี

  • นำร่องก่อน 1 แม่น้ำ และจะขยายเพิ่มอีก 5 แม่น้ำปีนี้
  • ย้ำ “ผังน้ำ” เป็นแกนหลักของการวางผังเมืองสร้างถนนเพื่อป้องกันน้ำท่วม


นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำ (สทนช.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สทนช.อยู่ระหว่างการจัดทำแผนหลักของการจัดทำผังน้ำ หลังจากพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 27 ม.ค.2562 ที่ผ่านมา ซึ่งกำหนดให้ สทนช.ต้องทำแผนผังน้ำให้เสร็จภายใน 2 ปี หรือภายในวันที่ 26 ม.ค.2564 และต้องรายงานเรื่องดังกล่าวให้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประ ธานให้ความเห็นชอบแผนการจัดทำผังน้ำ


สำหรับแผนการจัดทำผังน้ำ มีความหมายถึงแผนที่หรือแผนแสดงระบบทางน้ำที่มีน้ำไหนผ่าน ซึ่งเชื่อมโยงกันตั้ง แต่ต้นน้ำจนถึงทางออกสู่พื้นที่แหล่งน้ำ ทะเล หรือทางออกทางน้ำระหว่างประเทศ ซึ่งระบบทางน้ำดังกล่าวครอบ คลุมทั้งแม่น้ำ ลำคลอง ห้วย หนอง บึง กุด ป่าบุ่ง ป่าทาม พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่แหล่งกักเก็บน้ำ พื้นที่ทางน้ำหลาก พื้น ที่น้ำนอง พื้นที่ลุ่มต่ำ ทางน้ำหรือพื้นที่อื่นใดที่มีลักษณะทำนองเดียวกันไม่ว่าจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือมนุษย์สร้างขึ้น โดยทางน้ำดังกล่าวอาจมีน้ำไหลผ่านตลอดทั้งปีหรือบางช่วงเวลาก็ได้ และยังกล่าวถึงกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดทำผังน้ำ การประกาศใช้ และรายละเอียดอื่นๆ ด้วย
“ผังน้ำ ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ถือว่า มีความสำคัญมาก เพราะผังน้ำเป็นแผนหลักของการผังเมือง การก่อ สร้างถนนและอื่นๆ ในอนาคตเพื่อป้องกันน้ำท่วม และการดูแลทรัพยากรน้ำ ซึ่งผังน้ำจะครอบคลุมทั้งหมด 22 ลุ่มทั่วประเทศ ตั้งแต่ภาคเหนือจนถึงภาคใต้ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำมูล แม่น้ำชีและแม่น้ำเพชรบุรี เป็นต้น ซึ่งในระหว่างจัดทำแผนผังน้ำ สทนช.จะเปิดเวทีรับความคิดเห็นของประชาชนในแต่ละลุ่มน้ำไปพร้อมๆ กัน”
นายสมเกียรติ กล่าวว่า ล่าสุด สทนช.ได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นสถาบันที่ปรึกษา ดำเนินงานโครง การจัดทำแผนหลักการจัดทำผังน้ำ ซึ่งโครงการดังกล่าวมีระยะเวลาดำเนินการทั้งหมด 270 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 24 พ.ค.2562 กำหนดแล้วเสร็จในวันที่ 17 ก.พ.2563 โดยจะเริ่มนำร่องก่อน 1 แม่น้ำ ซึ่งขณะนี้ มีแม่น้ำที่วิกฤติ ที่ต้องดำเนินการ 2 แห่งคือ แม่น้ำเพชรบุรีหรือแม่น้ำชี โดยจะเลือกมาเป็นต้นแบบก่อน 1 แห่ง และในอนาคต จะดำเนิน การอีก 5 ลุ่มน้ำ โดยมี 40 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องน้ำเข้าร่วมดำเนินการ เช่น กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำและกระทรวง มหาดไทย เป็นต้น