“วิชัย” เปิดใจหลังลาออกจากอธิบดีกรมการค้าภายใน” มีผล 23 มี.ค.นี้

  • เหมือนยกภูเขาออกจากอก หลังทำงานหนักจนผ่าสมองมาแล้ว
  • ยอมรับหาหน้ากากอนามัยให้คนไทยใช้ทุกคนเป็นงานหินที่สุด
  • หลังจากนี้ห่วงคนไทยตื่นตุนสินค้า หวั่นปัญหาจุดติดต้องระวัง!

นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยภายหลังการกล่าวอำลาข้าราชการกรมการค้าภายในว่า ได้เก็บของออกจากห้องทำงานหมดแล้ว และได้ยื่นหนังสือลาออกต่อนายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์แล้วแต่ปลัดจะลงนามอนุมัติเมื่อไร ไม่ทราบ แต่ในหนังสือจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 23 เม..63 ช่วงนี้ได้ยื่นลาพักร้อนไปด้วย ซึ่งจะได้พักผ่อนร่างกาย หลังจากที่ได้ทุ่มเท หักโหมการทำงานมาโดยตลอด ส่วนกรณีที่นายกฯ ได้ลงนามในคำสั่งสั่งนั้น ต้องถามคนย้าย แต่หากมองในแง่ดี ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะก่อนหน้านี้ ตนทำงานอย่างหนักจนเส้นเลือดในสมองแตก และต้องผ่าตัดสมองมาแล้วครั้งหนึ่ง จนปัจจุบันยังมีปัญหาสุขภาพต่อเนื่อง ตอนนี้หมดความเครียดแล้วโล่ง เหมือนยกภูเขาออกจากอก 

ยอมรับว่า ปัญหาหน้ากากอนามัย เป็นงานหินที่สุด ไม่ใช่แค่วิชัย ต่อให้ 100 วิชัย ก็แก้ไม่ได้ เพราะเราติดกระดุมเม็ดแรก คือ ทุกคนต้องมีหน้ากากใส่ มีหน้ากากอนามัย 1.2 ล้านชิ้น คนไทย 65 ล้านคน ความคิดทุกคนต้องมี ซึ่งเป็นไปไม่ได้ หรือคิดเฉลี่ยการใช้หน้ากาก 1 ชิ้น จะมีคนใช้มากถึง 55 คนต่อวัน อัตราส่วนแบบนี้ เป็นการเดินที่ผิดพลาดมาตั้งแต่ต้น ครั้งแรกบริหารแบบปันส่วน (ปันส่วนจากโรงงานมา 500,000 ชิ้นต่อวัน ที่เหลือโรงงานขายเองยังไงก็ไม่พอต่อมามีปัญหาแพทย์ขาด บุคลากรทางการแพทย์ขาด ทุกคนรับไม่ได้ สุดท้ายยึดมาทั้งหมด 1.2 ล้านชิ้น ไม่ใช่ยึดของเอาตัวเลขมาบริหารจัดการ สั่งจ่ายจากโรงงานไปปลายทาง ลำดับแรก 700,000 ชิ้นให้โรงพยาบาลรัฐ และเอกชนบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วย กระทรวงพาณิชย์บริหาร 500,000 ชิ้น ให้คนไทย 60 กว่าล้านคน เป็นไปไม่ได้ที่จะได้รับทุกคน เป็นการเอาตะเกียบ ไม้จิ้มฟันอันเดียวงัดไม้ซุง เข็นภูเขาขึ้นครกยังง่ายกว่า ให้ทุกคนมีหน้ากากใช้

ทั้งนี้ หลังจากนำมาบริหารจัดการเองทั้งหมดตั้งแต่วันที่ 4 มี..63 ได้บริหารไปแล้ว 15 ล้านชิ้น ผ่านกระทรวงสาธารณสุข 8.5 ล้านชิ้น ผ่านกรมการค้าภายใน 7 ล้านชิ้น โดยทำหน้าที่ทุกอย่างตั้งแต่การทำตลาด ขนส่ง เป็นทั้งผู้จัดการฝ่ายผลิต จัดซื้อ และขนส่งจากโรงงานถึงปลายทาง ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ทั้งหมด 

แต่ที่รู้สึกแย่คือ การอนุญาตให้ส่งออก เพราะเป็นเรื่องที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ โรงงานที่มาลงทุนผลิตเพื่อส่งออกได้ส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอไม่มีเงื่อนไขให้ขายในประเทศได้ ถ้าทำแบบนั้น โรงงานจะเป็นนักลงทุนธรรมดา สิทธิประโยชน์ต่างๆ ก็ไม่ได้ ถ้าเราไม่อนุญาต เขาจะมาลงทุนทำไม อีกกรณีมีเงื่อนไขจ้างผลิต มีเครื่องหมายการค้า มีคำสั่งทำเป็นล็อตๆ หน้ากากนี้ขายในไทยไม่ได้ ถ้าไม่อนุญาต กระทรวงพาณิชย์จะผิดกฎหมายเสียเอง เพราะเป็นผู้รักษากฎหมาย ความผิดร้ายแรงกว่าคนอื่น และกรณีสุดท้าย เป็นหน้ากากที่หมอไทยไม่ใช้ ซึ่งการอนุญาตให้ส่งออกที่ผ่านมา ไม่เคยปิดบัง ไม่ทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และไม่ได้เป็นกรรมการในชุดที่อนุญาตด้วยซ้ำ โดยตัดวงจรนี้ออกไป ไม่อยากถูกกล่าวหา และภาพรวมขอส่งออกมา 53 ล้านชิ้น อนุญาตไป 12.7 ล้านชิ้น จากนั้นมีอีก 3-4 ล้านชิ้น ไม่ได้ปิดบัง ทำให้โปร่งใสตลอด แต่มีคนยกมาเป็นประเด็นจนได้ ก้าวล่วงไปจนให้ส่งออก 330 ตัน ซึ่งได้แจ้งดำเนินคดีแล้ว เพราะทำให้กรมการค้าภายในเสียชื่อเสียง 

ขณะที่ตัวเลขสต๊อก 200 ล้านชิ้น จริงๆ มันคือสต๊อกสูงสุดที่จะผลิตได้ ตอนนั้นคำนวณกัน ถ้าผลิต 4-5 เดือน จะมีสต๊อกได้สูงสุด 200 ล้านชิ้น ซึ่งอาจมีการสื่อสารผิดพลาด คนก็เลยเข้าใจว่าตอนนั้นไทยมีสต๊อกอยู่ 200 ล้านชิ้น แต่ก็แปลกพูดเรื่องจริง ไม่มีคนเชื่อ เพราะจากนั้น ก็ได้ไปตรวจสอบ แต่ไม่พบของ สำหรับสถานการณ์ล่าสุด ขณะนี้ กรม ได้ขอร้องให้โรงงานผลิตทั้ง 11 แห่งปรับสายการผลิต ปรับเครื่องจักร เพื่อผลิตหน้ากากอนามัยทางการแพทย์แบบสีเขียวเพิ่มทำให้สัปดาห์ที่ผ่านมา การผลิตเพิ่มจาก 1.56 ล้านชิ้นต่อวัน เป็น 1.71 ล้านชิ้นต่อวัน และภายในวันที่ 18 มี..63 น่าจะเพิ่มเป็น 2 ล้านชิ้นต่อวัน โดยมีเป้าหมายที่ 2.2 ล้านชิ้นต่อวัน ซึ่งในจำนวนนี้  ประมาณ 1.1 ล้านชิ้นจะไปที่กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งสาธารณสุขยืนยันว่า 1.1 ล้านชิ้นต่อวันเพียงพอ ในการเตรียมรับมือการแพร่ระบาดระยะที่ 3 ส่วนที่เหลือ กรมจะกระจายให้ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไป 

เรื่องที่น่าห่วงตอนนี้ คือ คนไทยเวลาตื่น น่ากลัวมาก สื่อออกมาสินค้าหมดชั้นวาง ถ้าจุดเป็นกระแส สร้างกระแสให้กักตุนสินค้า จะแรงกว่าหน้ากากอนามัย แรงกว่าเจลล้างมือ สุดท้ายภาระจะตกมาที่กรมการค้าภายใน ซึ่งที่ผ่านมาเคยเรียกผู้ผลิตมาคุยแล้ว ผลิตอยู่ 70% ก็บอกให้ผลิตเต็ม 100% เพราะถ้าไม่สร้างความเชื่อมั่น ปัญหาจะจุดติด ต้องระวัง”