“ลิงแก้แห”..แก้โควิด…แก้เศรษฐกิจ

หลังจากที่คนไทยทั้งประเทศเผชิญหน้ากับการระบาดของโควิดระลอกที่ 3 มาแล้วเกือบๆ 3 เดือนและเราจะต้องอยู่กับโควิดรระลอกนี้ต่อไปอีกอย่างน้อยที่สุด 120 วันหรือ 4 เดือนตามคำประกาศคืนอิสรภาพให้กับคนไทยของพล..ประยุทธ์จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี

ซึ่งในความจริงแล้วโควิด-19 ในรอบนี้อาจจะยาวนานกว่าที่พูดกันอยู่หากเราไม่สามารถป้องกันการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ๆที่มาจากการกลายพันธุ์ได้และส่งผลให้ความเร็วในการระบาดรวดเร็วรุนแรงขึ้นจนเกิดระลอกที่ 3.1 หรือ 3.2 ไปจนถึงระลอก 4 ระลอก 5 ต่อเนื่องและจะยากลำบากมากขึ้นหากไวรัสที่ระบาดเป็นสายพันธุ์ที่วัคซีนซึ่งประเทศไทยมีและใช้เป็นหลักในขณะนี้ไม่สามารถรับมือได้

คำถามหนึ่งที่เชื่อว่า หลายคนตั้งข้อสงสัยคือ เกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย ทั้งๆ ที่ในช่วงการระบาด 2 ระลอกแรกนั้น ประเทศไทยใช้เวลาไม่นานในการควบคุมการระบาด สามารถลดจำนวนผู้ติดเชื้อลงมาอยู่ในหลักสิบได้ในเวลาไม่กี่เดือน ทำให้ช่วงที่ผ่านมาคนไทยส่วนใหญ่ สามารถกลับมา “ใช้ชีวิตปกติใหม่” ที่แทบจะปกติได้

อย่างไรก็ดี เนื่องจากครั้งนี้เป็นการระบาดระลอกที่ 3 และเป็นการระบาดที่เว้นระยะสั้นมากๆ จากการระบาดในระลอกที่ 2 ซึ่งประชาชนคนไทย ภาคธุรกิจ และเศรษฐกิจไทยบอบช้ำอย่างหนักมาต่อเนื่อง

การยุติการระบาดให้เร็วที่สุดและโอกาสทำมาหากินเพื่อปากท้องของประชาชนกลายเป็นทางสองแพร่งที่รัฐบาลต้องเลือกในขณะที่จำนวนงบประมาณในการกระตุ้นเศรษฐกิจที่น้อยลงกลายเป็นตัวเร่งทำให้รัฐบาลตัดสินใจใช้มาตรการควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เบากว่าใน 2 ระลอกแรกมาก

และส่วนหนึ่ง อาจจะมีผลจากเ ความชื่อมั่นในความสำเร็จของมาตรการตรวจเชิงรุก และคุมพื้นที่เพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดใน 2 ระลอกแรก รวมทั้งมั่นใจในระบบสาธารณสุขของไทยว่าจะรองรับจำนวนผู้ติดเชื้อในหลักร้อยต่อวันได้อย่างสบายๆ

แต่ณจุดนั้นเมื่อทุกอย่างไม่เป็นไปอย่างที่คาดการใช้มาตรการบับเบิ้ลแอนด์ซีลที่เคยได้ผลดีในการระบาดที่จ.สมุทรสาครไม่ได้ผลที่น่าพอใจในครั้งนี้คลัสเตอร์ใหม่ๆที่มาจากการเคลื่อนย้ายคนเคลื่อนย้ายแรงงานเกิดขึ้นต่อเนื่องโดยเฉพาะการติดต่อในครัวเรือนทำให้จากผู้ติดเชื้อไม่กี่คนกลายเป็นจำนวนพันคนจำนวน 2 พันคนและวันนี้ตัวเลขยังคงสูงขึ้นเป็นหลัก 3 พันคน

ในช่วงเกือบๆ  3 เดือนที่ผ่านมา ประเทศไทยเดินตามรอยประเทศในยุโรปหลายประเทศ ซึ่งเกิดการระบาดซ้ำที่รุนแรง  บรรยากาศของความหดหู่ อึมครึม ซบเซาและความเงียบเหงา เกิดขึ้นกับประเทศและเศรษฐกิจไทยอีกครั้ง คนไทยจำนวนมากตัดสินใจ “กักตัวอยู่บ้าน” ลดการท่องเที่ยว และหยุดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลงด้วยตัวเอง โดยรัฐบาลไม่ต้องออกคำสั่ง

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เป็นการเพิ่มขึ้นในจังหวัดที่มีอิทธิพลต่อ “เศรษฐกิจหลัก”ของประเทศ อย่างกรุงเทพฯ และปริมณฑล และพื้นที่ที่มีโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมากของประเทศ ยิ่งทำให้เกิดความชะงักงันของเศรษฐกิจไทยมีมากขึ้น 

จำนวนคนตกงานรวมถึงจำนวนร้านค้าร้านอาหารและร้านที่ให้บริการประเภทต่างๆที่ปิดกิจการในรอบนี้มีมากขึ้นขณะที่ตัวเลขการเดินทางการใช้จ่ายลดลงอย่างรวดเร็ว

ขณะที่ความโกลาหลในบ้านเรายิ่งหนักขึ้นเมื่อรัฐบาลพยายามประชาสัมพันธ์ในทุกช่องทางว่าวัคซีนเป็นทางรอดทางเดียวของประเทศไทยและรณรงค์ในคนไทยฉีดวัคซีนให้ได้มากที่สุดโดยตั้งเป้าสูงสุดที่ 100 ล้านโดสในสิ้นปีเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้เกิดขึ้นและกลับมาเปิดประเทศยุติวิกฤตโควิด-19 ในครั้งนี้

แต่การบริหารจัดการวัคซีนทั้งแผนการจัดหาและกระจายวัคซีนที่ล้มเหลวทั้งการตัดสินใจเลือกวัคซีนที่คนมีข้อกังขาในประสิทธิภาพการจัดหาวัคซีนล่าช้าและไม่เป็นระบบไม่ทันเวลาทำให้เมื่อเกิดการระบาดรุนแรงขึ้นเรื่อยๆส่งผลให้จำนวนคนไทยที่ต้องการฉีดวัคซีนเพิ่มมากขึ้นตามที่รัฐบาลต้องการ

แต่วันนี้เราไม่มีวัคซีนเพียงพอให้ฉีดตามเวลา !!!

ในช่วงกลางเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา การฉีดวัคซีนให้กับคนไทยถูกเลื่อนออกไปจากกำหนดเวลาเดิม  โดยต้องรอการนำส่งวัคซีนจากบริษัทผู้ผลิต ซึ่งไม่สามารถกำหนดวันเวลาได้ชัดเจน และอาจจะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวต่อเนื่องเป็นระยะๆ  ซึ่งสถานการณ์ “วัคซีนขาดตอน” ที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้โอกาสของการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ของไทยจะล่าช้าออกไปอีก

ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจทั้งในฝั่งผู้บริโภคและผู้ประกอบการนักลงทุนร่วงลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาในขณะที่มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของรัฐบาลที่เตรียมไว้เช่นโครงการคนละครึ่งโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้หรือการเติมเงินในบัตรคนจนรอบใหม่จะต้องรอถึงวันที่ 1 ..นี้

ในที่สุดนายกรัฐมนตรีต้องออกมาชี้แจงเรื่องวิธีการจัดหาและจำนวนวัคซีนล่าสุดว่าอยู่ที่ 105.5 ล้านโดสและยืนยันว่าจะพยายามเปิดประเทศเปิดเศรษฐกิจอีกครั้งใน 120 วันเพื่อฟื้นความเชื่อมั่น 

ขณะเดียวกัน ก็ผ่อนคลายมาตรการการควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจลงอีกขั้น ด้วยเพิ่มประเภทกิจการ และสถานที่ที่สามารถกลับมาให้บริการตามปกติได้ เพิ่มเวลาในการเปิด และการนั่งทานในร้านอาหารถึง 23.00 น. และให้ห้าง ร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาเก็ตกลับปิดในเวลาปกติได้ ตั้งแต่วันที่ 21 มิ.ย.เป็นต้นไป

ยังคงเหลือแค่ สถานบันเทิง ผับ บาร์ที่ยังไม่เปิดให้บริการ และห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านอาหาร

อย่างไรก็ตามยิ่งวิ่งก็ยิ่งห่างยิ่งแก้ปัญหาดูเหมือนจะยิ่งยุ่งวุ่นวายกลายเป็นลิงแก้แหเพราะแม้จะมีคำสัญญา 120 วันหรือผ่อนคลายมาตรการมากขึ้นเท่าไรความมั่นใจก็ยังไม่กลับมาคนยังไม่กล้าออกนอกบ้านเกินความจำเป็นรวมทั้งยังไม่คิดจะใช้จ่ายเพราะยังไม่แน่ใจในอนาคต

ขณะที่การกระตุ้นการใช้จ่ายผ่านโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ ซึ่งกระตุ้นให้คนนำเงินออมออกมาใช้จ่าย อาจจะไม่ได้ตามเป้าหมายที่ต้องการ รวมทั้งโครงการคนละครึ่ง เฟส 3 ที่ขยายจำนวนผู้ไได้รับสิทธิจาก 16 ล้านคน เป็น 31 ล้านคน ก็ผิดความคาดหมายเช่นกัน เพราะผ่านมาแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ ผู้ขอรับสิทธิยังไม่เต็มจำนวน

ด้านการสำรวจนักธุรกิจเอง ประมาณพบว่า ประมาณ 50% จะไม่ปรับเปลี่ยนแผนธุรกิจ หรือลงทุนเพิ่ม จนกว่าจะประเมินใหม่ในช่วงสิ้นปีนี้หรือต้นปีหน้า ขณะที่ประมาณ 30% ขอรอดูอีกประมาณ 1-3 เดือนจากนี้

แสดงให้เห็นว่าแม้ว่าทุกฝ่ายจะเห็นตรงกันว่าเศรษฐกิจไทยรอไม่ได้แล้วแต่การผ่อนคลายมาตรการหรือการประกาศเปิดประเทศไม่ได้ช่วยเพิ่มความมั่นใจหรือเปลี่ยนแปลงสถานการณ์เศรษฐกิจไปในทางที่ดีขึ้นตราบใดที่รัฐบาลยังไม่สามารถจัดการปัญหาหลัก” 2 ข้อที่เปรียบเสมือนจุดชี้เป็นจุดชี้ตายในสถานการณ์วันนี้

เรื่องแรกคือการลดจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ให้จากหลักหลายพันในขณะนี้ให้ลดระดับลงอย่างต่อเนื่องและในที่สุดกลับมาอยู่ในหลักไม่เกิน 100 ได้ในแต่ละวันและหาทางป้องกันการเข้ามาของไวรัสกลายพันธุ์ใหม่ๆซึ่งจุดนี้ถือเป็นข้อด้อยของรัฐบาลในการระบาดระลอกที่ 3 เมื่อเทียบกับ 2 ระลอกแรก

เพราะหากรัฐบาลยังไม่เพิ่มความเข้มงวดในการใช้ มาตรการบับเบิ้ลแอนด์ซีล ให้สามารถคุมการเคลื่อนย้ายคน แรงงานและจำกัดวงการระบาดให้น้อยลงเรื่อยๆ ถ้ายังปล่อยให้ตัวเลขคลัสเตอร์ใหม่ๆ และผู้ติดเชื้อใหม่ยังคงเพิ่มขึ้นเช่นในขณะนี้นี้

ต่อให้เป็นคนใจกล้าแค่ไหน หรือ ฉีดวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว ก็เชื่อว่า ยังไม่กล้าออกมาใช้ชีวิตตามปกติทุกวันเหมือนเช่นก่อนโควิดเป็นแน่นอน เมื่อคนยังไม่ใช้จ่ายมากเพียงพอ ขณะที่โครงการกระตุ้นการใช้จ่ายแบบเดิมก็เริ่มมีประสิทธิภาพน้อยลง การประคองเศรษฐกิจไทยก็ทำได้ยากขึ้น

ส่วนเรื่องที่ 2 คือก็คือวัคซีน”  โดยรัฐต้องเร่งรัดให้การฉีดวัคซีนเร็วขึ้นและมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน

ตามหลายๆ ฝ่ายออกมาตอกย้ำว่า หากต้องการให้คนไทยใกล้เคียงกับ 70% ของจำนวนประชากร ได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 เข็มภายในสิ้นปีนี้ ทุกๆ วันจากวันนี้ คนไทยจะต้องได้รับการฉีดวัคซีนเฉลี่ยวันละ 300,000 คน หรือทำอย่างไรก็ได้ให้ฉีดได้เดือนละไม่ต่ำกว่า 9 ล้านคน ซึ่งใน 3 เดือนต่อจากนี้ เรายังหวังวัคซีนจากเอกชนไม่ได้ ดังนั้น รัฐยังต้องเป็นกลไกหลัก

แทนที่จะวิ่งวุ่นไปทั่วโฟกัสจุดนั้นจุดโน้นจุดนี้ภายใน 1-2 เดือนจากนี้อยากให้รัฐบาลโฟกัส 2 จุดหลักนี้ก่อนหากจำนวนผู้ติดเชื้อลดลงเมื่อไรมีจำนวนคนไทยที่ได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้นๆต่อเนื่องความเชื่อมั่นของเศรษฐกิจไทยจะกลับมาและจะขับเคลื่อนการท่องเที่ยวการใช้จ่ายในประเทศและจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศให้กลับคืนมาได้เร็วกว่าที่รัฐบาลคิด

#Thejournalistclub #โควิด19#เศรษฐกิจง่ายๆ